มาตรการคิวอีชุดใหม่ หนุนเงินร้อนช้อปตลาดหุ้น

มาตรการคิวอีชุดใหม่  หนุนเงินร้อนช้อปตลาดหุ้น

สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกต่างกังวลว่าจะเกิดภาวะถดถอย (Recession) มีสัญญาณมาจากผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐระยะสั้นกลับมามีผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว เรียกว่า ภาวะผลตอบแทนพันธบัตรกลับหัว

สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกต่างกังวลว่าจะเกิดภาวะถดถอย (Recession) มีสัญญาณมาจากผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐระยะสั้นกับระยะยาวมีผลตอบแทนใกล้เคียงกัน หรือผลตอบแทนจากพันธบัตรระยะสั้นกลับมามีผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว เรียกว่า ภาวะผลตอบแทนพันธบัตรกลับหัว (Inverted Yield Curve )สาเหตุมาเงินไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้จำนวนมากเพื่อพักเงินรอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด นับตั้งแต่มีการประกาศแนวโน้มลดดอกเบี้ยลง จนมาถึงการลดดอกเบี้ยเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา 0.25 % ทำให้ดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 2.25 % และมีแนวโน้มยังเปิดทางลดดอกเบี้ยลงได้อีกในการประชุมนัดที่เหลือของปี

รวมไปถึงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางอื่น โดยเฉพาะธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่พึ่งประกาศลดดอกเบี้ยอีก -0.1 % พร้อมประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน หรือ Quantitive Easing (QE) รอบใหม่ เดือนละ 2 หมื่นล้านยูโร ตั้งแต่เดือน พ.ย. เป็นต้นไป ซึ่งยังไม่ได้ระบุระยะเวลาจะสิ้นสุดโครงการเมื่อไร

การออกมาปัดฝุ่นมาตรการ QE รอบใหม่ถือว่าไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับตลาดทุนแต่นับเป็นสัญญาณว่า ธนาคารกลางหลายประเทศจำยอมต้องใช้มาตรการผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการ QE ที่เฟดดำเนินการถือว่าเป็นต้นตำรับใช้ยาแรงที่หักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ด้วยพิมพ์เงินออกมาใช้โดยไม่สนใจจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง จนงบดุลของเฟดกระโดดเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าก่อนเกิดวิกฤติซัพไพรม ด้วยการใช้วิธีดังกล่าวเฟดดำเนินการทั้งหมด 3 ครั้งในระยะเวลา 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2551-2556

แบ่งเป็นรอบที่ 1 (2551-2553 ) เข้าซื้อตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง (MBS) จำนวน 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ รอบที่ 2 (2553-2554) เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 6 แสนล้านดอลลาร์ และรอบที่ 3 (2555-2556 ) เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ในตลาดจำนองอสังหาฯ รวมเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์

การอัดฉีดเม็ดเงิน จำนวนมากขนาดนี้ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ จึงทำให้มีการนำเงินเหล่านี้ที่มีอยู่ในระบบมหาศาลหนีไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์จึงทำให้เป็นที่มาของคำว่า ‘เงินร้อน’ 

โดยตลาดหุ้นเกิดใหม่เป็นเป้าหมายที่นักลงทุนหอบเงินมาเข้าลงทุน จนทำให้ความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นในตลาดดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ และกลุ่ม TIP (ไทย –อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) ทำให้มีเงินร้อนเข้ามาลงทุนในปี 2552 -2556 เม็ดเงินสะสมต่างชาติ 1.91 แสนล้านบาท

ากบทวิจัย SET Note ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุ ว่าตั้งแต่มีการทำ QE ครั้งแรกในช่วงต้นปี 2552 ส่งผลทำให้ SET ปรับตัวสูงขึ้นจาก 449.96 จุด ณ สิ้นปี 2551 มาปิดที่ 1,298.71 จุด ณ สิ้นปี 2556 เพิ่มขึ้นคิดเป็น 2.89 เท่า และตั้งแต่มี QE ทั้ง 3 ครั้ง SET ปรับตัวขึ้น 101.57 % 2.69 % และ 5.12 % ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามในช่วงการทำ QE รอบที่ 3 ปรากฏว่ามูลค่าซื้อสะสมของนักลงทุนต่างชาติเทียบกับตลาดหุ้นอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ไทยกลับน้อยลงเนื่องจากช่วงดังกล่าวปี 2556-2557 ไทยมีปัญหาการเมืองภายในประเทศจากการปิดถนนของกลุ่ม กปปส. และตามมาด้วยการทำรัฐประหารของทหาร และทำให้ต่างชาติพลิกกลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยแทน

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเมื่อการเมืองไทยพัฒนาการดีขึ้นและเงินร้อนเหล่านี้กำลังจะเข้ามาอีกระลอกตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์ผลักดันดัชนีขึ้นไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในสัปดาห์นี้ความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางหลักค่อนข้างน่าสนใจไม่ว่าจะเป็น เฟด จะมีการประชุมระหว่าง 17-18 ก.ย. ซึ่งตามการคาดการณ์มองว่าเกือบ 100 % มีการลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25 % และหากเป็นจริงจะมีผลต่อเม็ดเงินในตลาดการเงินและตลาดทุนทั่วโลกอีกรอบ

ผลักดันดัชนีขึ้นไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในสัปดาห์นี้ความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางหลักค่อนข้างน่าสนใจไม่ว่าจะเป็น เฟด จะมีการประชุมระหว่าง 17-18 ก.ย. ซึ่งตามการคาดการณ์มองว่าเกือบ 100 % มีการลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25 % และหากเป็นจริงจะมีผลต่อเม็ดเงินในตลาดการเงินและตลาดทุนทั่วโลกอีกรอบ

ตามมาด้วยการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ช่วง 19 ก.ย. ที่ยังเชื่อมั่นว่าจะยังคงนโยบายผ่อนคลายด้วยคงดอกเบี้ย -0.1 % เช่นกัน และสุดท้าย ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่เผชิญปัญหาในประเทศจากความเสี่ยงการออกจากกลุ่มอียูแบบไม่มีข้อตกลง (no-deal Brexit) ทำให้ต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยเช่นกันคงดอกเบี้ย 0.75 %

หากแต่สิ่งที่นักลงทุนเห็นพ้องกันถือการเพิ่มเติมมาตรการอื่นที่มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าหากอิงจากมาตรการที่ ECB ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น การออก QE เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ธนาคารกลางเหล่านี้นำมาใช้เช่นกัน และนั้นน่าจะหมายถึงเงินร้อน รอบใหม่ที่จะไหลเข้าตลาดสินทรัพย์เสี่ยงอีกระลอก