กรมอุทยานฯ เตรียมใช้รูปแบบชี้แจงราษฎรในป่าอนุรักษ์ของอช.ศรีลานนาเป็นต้นแบบ

กรมอุทยานฯ เตรียมใช้รูปแบบชี้แจงราษฎรในป่าอนุรักษ์ของอช.ศรีลานนาเป็นต้นแบบ

เร่งทำความเข้าใจทั่วประเทศ ลดความขัดแย้ง

โดยนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ออกหนังสือเวียนไปยังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ในภูมิภาค ให้นำรูปแบบการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา จังหวัดเชียงใหม่ที่เสร็จสิ้นไปเมื่อวานนี้ สำหรับการชี้แจงให้ราษฎรในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับทราบถึงแนวทางแก้ไขปัญหาพื้นที่อยู่อาศัยทำกินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ตามนโยบายของรัฐบาล

โดยนายธัญญาได้มีคำสั่งแจ้งเวียนไปยังหน่วยงานในสังกัดถึงผอ.สบอ.1-16 และผอ.สำนักสาขาทุกสาขา

มีเนื้อหาว่า ในปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่อยู่อาศัยทำกินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่26 พฤศจิกายน2561 ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบในหลักการตามมติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ(คทช.) เมื่อวันที่18 มิถุนายน2561 ในพื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้(ทุกประเภท)

โดยราษฎรผู้อยู่อาศัยในเขตป่าอนุรักษ์ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานฯซึ่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าฯ ก่อนและหลังมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่30 มิถุนายน2541 ให้มีการสำรวจเตรียมความพร้อมของชุมชนไว้ก่อน ก่อนที่จะมีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมาย ภายหลังที่พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ.. 2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า.. 2562 มีผลใช้บังคับ

ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถอนุญาตให้ราษฎรอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์อย่างเกื้อกูลธรรมชาติภายในเขตป่าอนุรักษ์ได้อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน

ดังนั้น เพื่อให้นโยบายการแก้ไขปัญหาพื้นที่อยู่อาศัยทำกินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์มุ่งไปสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริง

ทางกรมฯ จึงขอให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่ง สั่งการให้หัวหน้าหน่วยงานภาคสนามในสังกัด ได้นำรูปแบบการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ ดังตัวอย่างของอุทยานแห่งชาติศรีลานนา จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับชี้แจงให้ราษฎรและประชาชนโดยทั่วไปได้รับรู้รับทราบ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎร พร้อมทั้งขอให้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปยังสื่อสารมวลชนต่างๆในพื้นที่ให้มากที่สุดและรายงานให้ผู้บริหารกรมทราบ หนังสือเวียนระบุ

โดยเมื่อวันที่10-11 กันยายน2562 ที่ผ่านมา อุทยานแห่งชาติศรีลานนา และส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่16 (เชียงใหม่) ร่วมกันดำเนินการประชุมชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ให้แก่ราษฎรบ้านหลวง.6 .โหล่งขอด.พร้าว.เชียงใหม่ และราษฎรบ้านป่าตึงงาม.14 .ปิงโค้ง.เชียงดาว.เชียงใหม่ ซึ่งมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนาโดยละเอียดถึงแนวทางดำเนินการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ซึ่งจะมีกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดขอบเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์และกิจกรรมรองรับ 

โดยทางอุทยานฯ ได้เน้นย้ำถึงการเร่งแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่า"ซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน" "แต่สามารถอยู่อาศัยและทำกินได้" โดยการให้สิทธิในการทำกินแก่ราษฎรในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนเดิมในเขตป่าอนุรักษ์ และจะไม่มีการจัดการที่ดินแก่บุคคลภายนอกพื้นที่ป้องกันนายทุนเข้ามาครอบครองที่ดินในเขตป่า

นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่16 กล่าวว่าพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ.. 2562 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 พฤศจิกายน2562 ที่จะถึงนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงวนอนุรักษ์คุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและอยู่อาศัยของราษฎรในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมากฎหมายอุทยานแห่งชาติ "ไม่ได้มีบทบัญญัติใดๆ เกี่ยวกับการอยู่อาศัยและทำกินของราษฏรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ"

ดังนั้น ตามมาตรา64 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ.. 2562 ถือเป็นโอกาสอันดีของพี่น้องประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พี่น้องชาติพันธุ์ ที่มีที่อยู่อาศัยและทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติที่เป็นชุมชนเดิม และเป็นราษฎรในพื้นที่ จะสามารถอยู่อาศัยและทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายต่อไป นายสมหวัง

นายสมหวังยังได้ชี้แจงถึงโทษที่สูงขึ้นในพรบ.ฉบับใหม่ให้พี่น้องประชาชนเข้าใจว่า เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ.. 2562 เพื่อให้การสงวนอนุรักษ์คุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ป่าและภูเขาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย ได้กำหนดบทลงโทษไว้รุนแรงกว่าเดิมเช่นกัน

หากฝ่าฝืนกระทำการใดๆอันเป็นการทำลายป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว จะต้องถูกดำเนินคดีระวางโทษจำคุกตั้งแต่4-20 ปีหรือปรับตั้งแต่400,000-2,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นายสมหวังกล่าว