เปิดความเห็นกมธ.ทางด่วน ลงมติ 'ต่อสัญญาสัมปทาน'

เปิดความเห็นกมธ.ทางด่วน ลงมติ 'ต่อสัญญาสัมปทาน'

เปิดความเห็นกรรมาธิการวิสามัญ ชุดพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) ว่าด้วยการสรุปแนวทางเรื่องการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน

กรณีนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ขัดแย้งกับนายนวัธ เตาะเจริญสุข ส.ส.ขอนแก่น พรรคเดียวกัน ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ช่วงรายงานการพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) ซึ่งนายยุทธพงศ์ เป็นหนึ่งในกรรมาธิการ นายนวัธ ได้แสดงความเห็นในทำนองพูดคุยกับเพื่อนฝูงต่างพรรคลือกันว่ามีกรรมาธิการบางคนมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องการต่อสัมปทานทางด่วน (บีอีเอ็ม) ก่อนจะบอกว่า ถ้ากรรมาธิการทำเช่นนั้นก็คิดว่าชั่วและเลวที่สุด ขณะที่นายยุทธพงศ์ชี้แจงว่า การกล่าวหาว่ารับผลประโยชน์นั้นเสียหายมาก พร้อมท้าหากมีหลักฐานก็ต้องดำเนินคดี ยืนยันว่ากรรมาธิการชุดนี้ไม่มีใครคดโกงไม่มีใครไปพัวพันกับคดีฆ่าคนตาย

...

กรรมาธิการฝั่งที่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วน ส่วนใหญ่ให้เหตุผลตรงกันว่า เพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับประชาชนผู้ใช้บริการ ไม่ต้องจ่ายค่าทางด่วนในราคาที่แพงเกินไป หลายคนมีมุมมองคืนความเป็นธรรมให้ภาคเอกชน เพราะเชื่อมั่นประสิทธิภาพการทำงาน การบริหารของเอกชนคือบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) มากกว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) นอกจากนี้เพื่อยุติคดีและข้อพิพาทอื่นๆ ที่ยืดเยื้อในอดีตและแนวโน้มที่จะเกิดในอนาคต ที่มีท่าทีภาครัฐจะผิดสัญญาและแพ้คดีซ้ำรอย พร้อมเสนอแนะเอาไว้เป็นบทเรียนของประเทศกรรมาธิการบางคนมีความเห็นว่าเห็นด้วยแต่ขอเสนอว่าการต่อ 30 ปีนั้นมันยาวนานไป เสนอแนะให้ต่ออายุสัมปทานแค่ 15 ปี โดยให้เอาคดีมาต่อรองให้เอกชนไม่ต้องฟ้องกทพ. และลดราคาค่าผ่านทางหรือขั้นที่ 1 ไม่ต้องเก็บเงินประชาชนหรือใช้วิธีการลดราคา

เปิดความเห็นกมธ.ทางด่วน ลงมติ \'ต่อสัญญาสัมปทาน\'

ยกตัวอย่างความเห็นกรรมาธิการ อาทิ นายวีระกร คําประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า ที่ตั้งข้อสังเกตว่าการต่อรองทํามาอย่างต่อเนื่องแล้วถึง 7 ครั้ง ได้ลดเงื่อนไขการต่อสัญญากับเอกชนมาทุกครั้ง หากต่อรองเพิ่มเติมก็อาจได้เงื่อนไขที่ดีขึ้น ในส่วนของข้อเสนอต่อ การก่อสร้างขยายทางด่วนขั้นที่ 2 การแก้ไขจุดตัด และการเพิ่มพื้นที่บนทางด่วน รวมทั้งทําการก่อสร้างทางเชื่อมเข้าสู่สถานีเดินรถบางซื่อ เห็นควรให้ต่อสัญญาเพิ่มเติมได้อีกตามที่จะมีการเจรจากันระหว่างเอกชนและ กทพ. ต่อไป

นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ให้เหตุผลจะได้มีการก่อสร้างขยายทางด่วนขั้นที่ 2 แก้ไขปัญหาการจราจรและรัฐบาลจะได้ไม่เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาการแพ้คดีต่าง ๆ ที่เป็น ข้อพิพาทในอนาคต

ขณะที่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ให้เหตุผลที่เสนอให้ขยายเวลาให้ 15 ปี ว่า ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้ กทพ. แพ้คดีข้อพิพาทจากการแข่งขัน ในช่วงปี พ.ศ.2542-2543 มาแล้ว ดังนั้น มีโอกาสที่ กทพ. จะแพ้คดีข้อ พิพาทจากการแข่งขันปี พ.ศ.2554-2561 ซึ่งมีมูลค่า 78,904 ล้านบาท ทําให้ กทพ. จะต้องชดเชยเงินเพิ่มขึ้นจํานวนมาก ส่วนกรณี กทพ. สู้คดีต่อไปแล้ว กทพ. แพ้คดีทั้งหมด จะทําให้เงินชดเชย เพิ่มขึ้นจากเดิม 137,517 ล้านบาท เป็นประมาณ 326,000 ล้านบาท จะเป็นภาระหนักของ กทพ. ใครจะรับผิดชอบ

นายสามารถยังเสนอข้อเสนอเพิ่มเติม ขอให้รัฐบาลตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนหาผู้กระทําผิดที่ทําให้ กทพ. ลงนามในสัญญาสัมปทาน ทางด่วนปากเกร็ด - บางปะอิน กรรมการหาข้อเท็จจริง เหตุที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2540 ให้กรมทางหลวงขยายดอนเมืองโทลล์เวย์จากอนุสรณ์สถานไปจนถึงรังสิต ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้รับสัมปทานทางด่วนสายปากเกร็ด-บางปะอิน และขอให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกระบบอนุญาโตตุลาการ โดยให้ศาล ปกครองพิจารณาข้อพิพาทแทน

ด้านนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ให้ความเห็นว่าหากรัฐมีแนวโน้มในการแพ้คดีมากกว่าและการชําระ ค่าเสียหายจะสร้างปัญหาภาระผูกพันทางการเงินให้รัฐต่อไปในอนาคต เห็นควรให้พิจารณาการต่อสัมปทานให้กับบีอีเอ็ม เพื่อเป็นการยุติข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องมีการพิจารณาความเหมาะสมการขยาย อายุเวลาสัมปทานใหม่เพื่อให้รัฐได้รับความเป็นธรรมสูงสุด และให้เอกชน นําเสนอแนวทางในการดูแลว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไรเพิ่มเติมบ้าง ทั้งนี้ในการขยายสัมปทานต้องสามารถดําเนินการตามกฎหมายได้อย่างครบถ้วน

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย แสดงความเห็นด้วยความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย คือ ผู้บริหารที่จะตัดสินใจต่อหรือไม่ มุมของเอกชนเป็นผู้ลงทุน และคดีที่แพ้แล้วพร้อม ดอกเบี้ยประมาณ 4,000 กว่าล้านบาท ยังมีอีก 17 คดีที่ว่าแพ้ต้องจ่ายอีกกว่า 300,000 ล้านบาท มีความเห็นเรื่องคดีว่าจะออกมาทางใด โดยเห็นว่าถ้า แพ้ครึ่งหนึ่งชนะครึ่งหนึ่ง โดยมีความเห็นว่าถ้าต่อต้องต่อแค่ 15 ปี เพราะฉะนั้นเอาคดีมาต่อรองให้เอกชนไม่ต้องฟ้องการทางฯ และสมควรลด ราคาค่าผ่านทางหรือขั้นที่ 1 ไม่ต้องเก็บเงินประชาชนหรือใช้วิธีการลดราคา ส่วนแบ่งระหว่างรัฐกับเอกชน ให้รัฐได้เพิ่มขึ้นเพราะถ้าให้การทางฯ เก็บเงิน กรณีไม่ต่อสัญญา เชื่อว่าจะเสียหายหรือการเก็บเงินไม่ชัดเจนหรือประกันได้ ว่ารัฐจะได้ผลประโยชน์เท่าที่คํานวณ เพราะเรื่องการซ่อมบํารุงจํานวนมาก เท่าที่หน่วยงานของรัฐเก็บรายได้อาจทําให้รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณอีก ดังนั้น เพื่อการรอบคอบและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ต่อเพียง 15 ปี อีก 15 ปี ให้คนในอนาคตตัดสินใจดีกว่า

ส่วนนายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน ส.ส.กาญจนบุรี พรรคภูมิใจไทย เห็นด้วยแต่ขอเสนอว่าการต่อ 30 ปีนั้นมันยาวนานไปจึงขอนําเสนอ 15 ปี เพื่อให้ได้พิจารณาอีกครั้งเพราะควรจะดูว่าในช่วงที่ดําเนินกิจการนั้นทําได้ ดีหรือไม่เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนหากทําได้ดีบริหารได้ดี เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนก็สามารถที่จะพิจารณาต่อได้อีกต่อไป

นายปรเมศวร์ กุมารบุญ ส.ส.นนทบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา ขอเสนอความเห็นการพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนๆ เนื่องด้วยการจะเสนอความเห็นว่าควรขยายสัญญาสัมปทานหรือไม่ ควรจะ ได้รับข้อมูลครบถ้วนเสียก่อน ซึ่งกรณีนี้อยู่บนการแพ้คดีทุกคดีประมาณ 18 คดี แล้วมาคํานึงถึงความคุ้มค่าหรือไม่ ดังนั้น จึงทําได้เพียงให้ความเห็นได้เพียงเท่าข้อมูลที่มี ซึ่งเป็นข้อมูลพิจารณา ตัวเลขประเมินความคุ้มค่าหากขยายสัมปทาน จึงมีความเห็นว่า ควรขยาย สัญญาสัมปทาน