11-13 ก.ย.ยังมีฝนเพิ่ม

11-13 ก.ย.ยังมีฝนเพิ่ม

11-13 ก.ย.ยังมีฝนเพิ่ม กรมชลตั้งศูนย์รับมือเร่งระบาย หนักสุดที่อำเภอวารินชำราบ น้ำสูงอีก10 ซม.-คาดสิ้นเดือนเข้าสู่ภาวะปกติ

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ล่าสุดนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณื ได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่ กรมชลฯจึงตั้งศูนย์บริหารน้ำมูลน้ำชีส่วนหน้า ที่จังหวัดอุบลราชธานีขึ้น เพื่อลดผลกระทบกับประชาชนและเพื่อแก้ไขให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด เนื่องจากในวันที่ 11-13 ก.ย.นี้ ในพื้นที่ภาคเหนือ เมียนมา และลาว มีความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวตังเกี๋ย กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและไทยส่งผลให้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) และภาคตะวันออก มีฝนตก 3 วันติดต่อเกิน 100 มม.


กรมชลเตรียมรับมือฝนที่จะมารอบใหม่ โดยเพิ่มเครื่องสูบน้ำเต็มพื้นที่ ภายใต้เงื่อนไขกระทบบ้านเรือนประชาชนให้น้อยที่สุด โดยมีเครื่องสืบน้ำรวม 60 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 106 เครื่อง และกาลักน้ำ 34 ชุด ภายใต้มาตรการบริหารจัดการน้ำชีและน้ำมุล ดังนี้คือ ในส่วนแม่น้ำชี ชะละน้ำจากแม่น้ำชีตอนบน ที่เขื่อนมหาสารคาม โดยการลดบายระบายน้ำลง 0.10 ม. และควบคุมการระบายน้ำจากอ่างขนาด กลาง ใหญ่ เล็กจำนวน 23 แห่งท้ายเขื่อนมหาสารคาม
ส่วนแม่น้ำมูลมีการชะลอน้ำในเขื่อนราษีไศล ,ปรับลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำ 57 แห่ง ชะลอน้ำที่ลำเซบายอำนาจเจริญ และลำเซบก อุบลราชธานี ลำโดมใหญ่ และสำสาขาอื่นๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำท้ายเขื่อน โดยการเฝ้าระวังน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 สะพานเสรีประชาธิปไตย จ.อุบลราชานี ที่คาดว่าจะสูงสุดในวันที่ 13 ก.ย.2562 ซึ่งจะเป็นระดับสูงสุดที่ระดับ 115.85 ม.รทก.สูงที่สุดในรอบ 17 ปี จากปี 2545 ที่มีระดับน้ำสูงสุด 115.77 ม.รทก.ซึ่งสูงกว่าระดับตลิ่งที่ 112 ม.รทก.


“จากสถานการณ์น้ำท่วมสูงสุด 13 ก.ย.พื้นที่อีสาน และหนือยังต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะอำเภอวารินชำราบ น้ำจะสูงขึ้นอีก 10 เซนติเมตร หลังจากนั้น น้ำจะทรงตัว 5-7 วันก่อนที่จะค่อยๆลดระดับลง จนถึงสิ้นเดือนก.ย.นี้ ประชาชนจะสามารถกลับเข้าสู่บ้านเรือนและสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ โดยน้ำค้างทุก หรือน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆจะค่อยๆลดปริมาณลง ดังนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด จะใช้เวลา 6-8 วัน ส่วนร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร อาจสามารถ เมืองสรวง สุวรรณภูมิ โพนทราย หนองฮี จะไหลลงมูล และเข้าส่สภาวปกติ 7-10 วัน”


นายทองเปลว กล่าวว่า จากน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกต่อเนื่อง ดินอุ้มน้ำจาก ฝนตกหนักช่วงมีพายุโพดุล และพายุคาจิกิทำให้มีน้ำท่วมข่วมขังเมื่อมีฝนตกมาเพิ่มในช่วง 11-13 ก.ย.จึงเพิ่มขึ้นและระบายออกช้าลง โดยศูนย์บริหารน้ำมูลน้ำชีส่วนหน้าที่จะเร่งบริหารจัดการน้ำ ที่ขณะนี้มีน้ำค้างทุ่งประมาณ 1,600 ล้านลบ.ม.


ล่าสุดมีพื้นที่ประสบอุทกภัย(น้ำท่วม) 8 จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร อุบลราชธานี มหาสารคาม จำนวน 80 อำเภอ ครอบคลุมพื้นที่ 1,479,519 ไร่ แบ่งเป็น กาฬสินธุ์ น้ำท่วม 14 อำเภอ พื้นที่ 74,688 ไร่, ยโสธรน้ำท่วม 8 อำเภอ พื้นที่ 442,491 ไร่, ร้อยเอ็ด น้ำท่วม 17 อำเภอ พื้นที่ 333,930 ไร่,ศรีสะเกษ น้ำท่วม 3 อำเภอ พื้นที่ 24,618 ไร่,อำนาจเจริญ น้ำท่วม 7 อำเภอ พื้นที่ 96,908 ไร่, มุกดาหาร น้ำท่วม 4 อำเภอ พื้นที่ 6,180 ไร่, อุบลราชธานี น้ำท่วม 20 อำเภอ พื้นที่ 442,334ไร่ และ มหาสารคามน้ำท่วม 7 อำเภอ พื้นที่ 58,373 ไร่


อย่างไรก็ตาม การระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากทุ่ง กรมชลประทานจะไม่ระบายน้ำออกจากทุ่งทั้งหมด แต่จะเก็บน้ำที่สามรถเก็บได้ ไว้ในแหล่งน้ำที่ ต้องใช้ในการเพาะปลูก อุปโภค บริโภค ต่อไป และขระที่ดำเนินการบริหารจัดการน้ำในภาคอีสาน และเหนือ ครั้งนี้ แม้จะยังไม่เสร็จกระมชลประทานได้ดำเนินการคู่ขนาน โดยเตรียมรับมือฝนที่จะลงใต้ตามฤดูกาลของไทยต่อไปประมาณเดือนต.ค.ที่จะถึงนี้