Experience Beyond the Meeting ขยายฐานการประชุมนอกห้อง

Experience Beyond the Meeting ขยายฐานการประชุมนอกห้อง

การประชุมนอกสถานที่หรือจัดกิจกรรม Outing คือหนึ่งในวิธีการกระจายรายได้สู่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในหลายจังหวัดหลักที่พร้อมรองรับกิจกรรมเหล่านี้จึงได้รับเม็ดเงินจากการจับจ่ายใช้สอยมากมายในทุกปีๆ

เมื่อเห็นช่องทางดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ จึงเร่งส่งเสริมการตลาด ชูศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ชุมชน รองรับนโยบายกระจายรายได้สู่ภูมิภาคของรัฐบาล ดึงผู้แทนองค์กรเอกชนและสื่อมวลชนรวม 35 ราย ร่วมสัมผัสเสน่ห์ชุมชนในจังหวัดชลบุรีและระยอง เชื่อมเมืองไมซ์หลักสู่เมืองรอง สร้างประสบการณ์แปลกใหม่รองรับการประชุมสัมมนา ภายใต้แนวคิด ‘Experience Beyond the Meeting’

นิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ องค์การมหาชน เปิดเผยว่า ทีเส็บ ในฐานะตัวแทนของภาครัฐ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมองค์กร การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมนานาชาติ และการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล หรืออุตสาหกรรมไมซ์ ได้จัดโครงการสร้างการรับรู้สินค้าและบริการด้านไมซ์ (TCEB Domestic Familiarisation Trip) ประจำปี 2562

69499786_2482927598432704_1799270716370059264_o

70339181_2482927461766051_8040231765123530752_o

ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มองค์กรและสื่อมวลชนได้เปิดมุมมองใหม่ของการจัดงานประชุมสัมมนาในประเทศ โดยการใช้พื้นที่ชุมชนในเมืองไมซ์หลักที่เชื่อมโยงกับเมืองรอง เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจในการเลือกเส้นทางและจัดกิจกรรมไมซ์ในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้ลงสู่ระดับภูมิภาค

“ทีเส็บใช้แนวคิด Experience Beyond the Meeting สำหรับงานในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอเสน่ห์วิถีชีวิตและกิจกรรมของชุมชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยองให้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสัมมนาในประเทศ จะเป็นโอกาสของการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ร่วมประชุมมากกว่าประสบการณ์ใน “ห้องประชุม” และสะท้อนให้เห็นขีดความสามารถและศักยภาพของชุมชนในภูมิภาคในการรองรับและให้บริการการประชุมสัมมนาขององค์กรต่างๆ และตอกย้ำว่าอุตสาหกรรมไมซ์สามารถเป็นกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเกิดการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค”

แต่การสร้างโอกาสให้ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมแบบนี้จะดำเนินการฝ่ายเดียวไม่ได้ หลายหน่วยงานหลายองค์กรต้องจับมือกันเป็นพันธมิตร ซึ่งความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของแต่ละฝ่ายจะช่วยให้โครงการสำเร็จลุล่วง จนกระทั่งเป็นการส่งไม้ต่อให้ภูมิภาคและท้องถิ่นขยับขยายเติบโตได้ด้วยตัวเอง

69975662_2482927561766041_1868610107210727424_o

69600001_2482927628432701_7653696738686926848_o

“ในการจัดงานครั้งนี้ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้นำองค์กรภาคีพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมสื่อมวลชน ทั้งหมด 35 รายเข้าร่วมงาน โดยมีกำหนดพบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการไมซ์ในสองจังหวัด เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในภูมิภาค นอกเหนือจากการลงพื้นที่สัมผัสประสบการณ์ในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย การลงพื้นที่ยังมุ่งต่อยอดความร่วมมือระหว่างองค์กรและชุมชน ทั้งการพัฒนาศักยภาพของกิจกรรมภายในพื้นที่ การแลกเปลี่ยนทักษะและความสามารถระหว่างชุมชนและองค์กร เพื่อให้ชุมชนมีขีดความสามารถช่วยสร้างสรรค์งานประชุมสัมมนาที่ตอบโจทย์ของลูกค้าหรือให้บริการที่เกินความคาดหวังของผู้จัดประชุม เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในชุมชนต่อไปในอนาคต ” นิชาภา กล่าว

  สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ หรือ Domestic MICE จากการสำรวจจัดเก็บข้อมูลของทีเส็บ พบว่าในรอบไตรมาส 1-3 ของปีงบประมาณ 2562 มียอดนักเดินทางรวม 21,852,574 คน สร้างรายได้ 81,861 ล้านบาท สำหรับในปีงบประมาณ 2563 ทีเส็บตั้งเป้าหมายนักเดินทางไมซ์ในประเทศ 36,395,000 คน รายได้ประมาณการ 127,100,000 บาท