มท.2 ประธานเปิดงาน 'การแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย'

มท.2 ประธานเปิดงาน 'การแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย'

มท.2 ประธานเปิดงานการประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ครั้งที่ 5 "การแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย" โดยเน้นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ของการแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานเปิดงานประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ครั้งที่ 5 "การแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย" พร้อมทั้งปฐกถาพิเศษในเรื่อง "การแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย" โดยมี นายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน

10509706685659

ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และคณะกรรมการสถาบันฯ พร้อมด้วยนายกสมาคม และคณะกรรมการสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ผู้บริหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมในพิธีเปิด ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้จัดการประชุมการแพทยฺฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ครั้งที่ 5 "การแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย" เพื่อสร้างองค์ความรู้แลกเปลี่ยนรู้งานแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนทัองถิ่น สร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายด้านการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถดำเนินงาน และพัฒนาระบบการบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบูธนิทรรศการนำเสนอผลงานด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตำบลปลอดภัย เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานทางวิชาการ และผลการกำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย

10509706664186

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า จากการจัดการประชุมทางวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินทัองถิ่นไทย ตำบลปลอดภัยในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้เกิดการบูรณาการสอดประสานการบริหารจัดการ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของประชาชน จึงนับว่ามีความสำคัญต่อประชาชน ที่บาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉิน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาระบบ เนื่องจากมีทั้งทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และองค์ความรู้ ที่สำคัญคือฐานข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่ อัตจาการเกิดเหตุ และอัตราการเข้าถึงบริการของประชาชน จึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญ และตั้งใจจะพัฒนาการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งมุ่งมั่นและพยายามให้เกิดความร่วมมือ ในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิ์

10509706605622

ในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียมมีคุณภาพมาตราฐาน และได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์ อันจะเป็นการลดอัตราการสูญเสียให้ได้มากที่สุด และการแพทย์ฉุกเฉินถือว่าเป็นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และ พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องหลักเกณฑ์ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ดังนั้นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน จากทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการแพทย์ฉุกเฉินไทย ตำบลปลอดภัย