เปิดเทรนด์ลงทุนโลก แข่งขัน 'เขตศก.พิเศษ'

เปิดเทรนด์ลงทุนโลก แข่งขัน 'เขตศก.พิเศษ'

รัฐบาลได้วางให้นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ "อีอีซี" เป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจพร้อมเป็นหัวหอกสำคัญที่จะเปลี่ยนผ่านการลงทุนของประเทศไปสู่การลงทุนแห่งอนาคตที่ต้องสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หน้าที่หลักของอีอีซีกำลังถูกท้าทายจากการแข่งขันที่หลายประเทศก็มีแนวคิดไม่ต่างจากไทย

รายงานเรื่อง “การลงทุนโลก หรือ WIR 2019” จัดทำโดยการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรืออังค์ถัด ซึ่งปีนี้กำหนดหัวข้อเรื่อง“เขตพัฒนาพิเศษ” หรือ  SEZs ระบุว่า หลายประเทศกำลังนำนโยบาย SEZs มาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ด้วยการกำหนดพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกต่อกิจกรรมทางอุตสาหกรรม ผ่านสิทธิประโยชน์ทางการเงินและกฎระเบียบและสนับสนุนด้านโครงสร้างพื่้นฐาน 

ปัจจุบันมีพื้นที่ SEZs มากถึง 5,400 แห่งใน 147 ประเทศ ซึ่งป็นอัตราเพิ่มขึ้นจาก 4,000 แห่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และยังมีอีกมากกว่า 500 แห่งที่รอการเปิดตัว ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นความนิยมเพื่อผุดนโยบาย SEZs ซึ่งป็นส่วนหนึ่งของกระแสนโยบายอุตสาหกรรมใหม่และการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุน

SEZsส่วนใหญ่เน้นส่งเสริมด้านการคลัง การลดขั้นตอนด้านพิธีการศุลกากรและกำแพงภาษี รวมถึงกฎระเบียบที่เป็นมิตรกับภาคธุรกิจเช่นการเข้าถึงการถือครองที่ดิน การออกใบอนุญาตหรือกฎการจ้างงานที่ง่ายขึ้นและการลดขั้นตอนราชการต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานแม้ว่าประเทศกำลังพัฒนาน้้นๆ จะมีโครงการพื้นที่แย่ก็ตาม 

ทั้งนี้ SEZs มีหลายรูปแบบ โดยพื้นฐานจะเป็นเขตพื้นที่เสรีที่เน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้าและโลจิสติกส์ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะส่วนใหญ่ของเขตพัฒนาพิเศษในประเทศพัฒนาแล้ว 

ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มการพัมนาเพื่อให้กับหลายอุตสาหกรรมหรือไม่ก็มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาด้านนวัตกรรม โดยลำดับและชนิดของความพิเศษของSEZs จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายเพื่อการเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆ และระดับของความต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นตัวกำหนด

รายงานระบุถึง SEZs รูปแบบใหม่ๆ เช่น เพื่ออุตสาหกรรมไฮเทค บริการทางการเงิน หรือท่องเที่ยว ซึ่งจะเห็นว่ามีการมองไกลออกไปกว่าแค่เพื่อการค้า และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งเป็นเป้าหมายของ SEZs ในยุคเก่า สำหรับจุดมุ่งหมายอื่นๆ เช่น เพื่อสิ่งแวดล้อม การนำวิทยาศาสตร์เพื่อการพาณิชย์ การพัฒนาภูมิภาค หรือการฟื้นฟูเมือง

ขณะเดียวกันการรวมของรูปแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ๆ จะมีความเชื่อมโยงกับทรัพยากรทางธรรมชาติ เป้าหมายเพื่อตลาดภายในประเทศ หรือการบ่มเพาะสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและย่อม และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษกำลังมีลักษณะความร่วมมืออย่างเป็นทางการในระดับนานาชาติและส่งเสริมการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษตามกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคเนื่องจาก

“การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีนัยสำคัญต่อการชดเชยสำหรับความอ่อนแอของบรรยากาศการลงทุน” รายงานระบุ

ในหลายประเทศเขตเศรษฐกิจพิเศษจะมีขึ้นเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญหรือมีส่วนต่ออุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และมีความพยายามเข้าไปเชื่อมต่อ GVCs เพื่อให้ต้นทุนทางการค้า เช่น กำแพงภาษี ภาษีหรือค่าธรรมเนียมการข้ามแดน การสะสมเมื่อสินค้าขั้นต้นมีการนำเข้ามา ผ่านกระบวนการผลิตและการส่งออกอีกซึ่ง GVCs จะช่วยลดต้นทุนลง ผ่านการเปลี่ยนพิกัด (Transation cost) ซึ่ง SEZs

ทั้งนี้ ใช่ว่าทุกเขตเศรษฐกิจพิเศษจะประสบความสำเร็จ โดยส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จพอจะมองย้อนกลับไปได้หลายสาเหตุ เช่น พื้นที่นั้นๆ ไม่เอื้อประโยชน์มากพอ ต้องลงทุนด้วยรายจ่ายที่สูงมาก หรือ ไกลจากศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานหรือเมือง ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์รวมแรงงาน พลังงานไม่เพียงพอ การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นไม่เพียงพอ หรือขั้นตอนดำเนินงานยุ่งยาก

“การอำนวยความสะดวกหรือการบริหารจัดการขั้นตอนต่างๆ สำหรับธุรกิจและนักลงทุนในพื้นที่ผ่านขั้นตอนที่กระชับและบริการได้ในจุดเดี่ยวเป็นสิ่งจำเป็น”

แกนหลักของกฎระเบียบ เป็นสิ่งจำเป็นขององค์ประกอบสู่ความสำเร็จ โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมายของเขตเศรษฐกิจพิเศษควรให้แน่ใจมีความคงเส้นคงวา ความโปร่งใส และสามารถคาดการณ์ ได้ว่านโยบายของเขตพัฒนาพิเศษควรมีกฎหมายรองรับ มีรัฐบาลที่สนับสนุนอย่างแข็งขัน มีหน่วยงานอิสระตามกฎหมาย การมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน

นอกจากนี้ รายงานยังระบุถึงปัจจัยเรื่องของการปฎิวัติอุตสาหกรรมใหม่และเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งกำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่เรื่องต้นทุนแรงงานกำลังถูกลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ

รายงานย้ำว่า การบริหารจัดการในเขตเศรษฐกิจพิเศษควรเน้นการให้บริการด้านดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ หรือ บริการจุดเดียวสำหรับขั้นตอนการบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสัญญาสำคัญที่ส่งไปถึงนักลงทุนและเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่นักลงทุนให้ความสำคัญ

ยุทธศาสตร์เขตพัฒนาพิเศษนับเป็นโอกาสใหม่ที่สำคัญที่จะมุ่งไปสู่การพัฒนาด้านดิจิทัลและการเชื่อมโยงไปสู่การอำนวยความสะดวกของโครงสร้างพ่ื้นฐานซึ่งต่อเนื่องไปถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการผลิตนานาชาติ หรือ GVC ที่กำลังท้าทายนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของโลกว่าด้วยการค้าและการลงทุน ที่เผชิญกับนโยบายปกป้องและกีดกันทางการค้า

ขณะเดียวกันก็มีเรื่องของการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ซึ่งกำลังเป็นที่แพร่หลายนับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่มีผลต่อขีดความสามารถการแข่งขันสำหรับทิศทางของเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งอนาคต

การแข่งขันจะไม่ใช่แค่การให้สิทธิประโยชน์ แต่หมายถึงการกำหนดตำแหน่งเพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนในระดับโลก การสร้างความยั่งยืน และท้ายที่สุดคือการตอบโจทย์ความต้องการท้องถิ่นได้ นี่คือโจทย์ที่อีอีซีจะต้องตอบให้ได้จึงจะถือว่านโยบายนี้ประสบความสำเร็จและแข่งขันได้

9bddada1cde5e47cd69603e9e10a1d59