เปิดใจ 'คุณจันทร์' นักศึกษาญี่ปุ่นขวางรถไม่ให้ขับบนฟุตบาท

เปิดใจ 'คุณจันทร์' นักศึกษาญี่ปุ่นขวางรถไม่ให้ขับบนฟุตบาท

เปิดใจ "คุณจันทร์" นักศึกษาญี่ปุ่นขวางรถไม่ให้ขับบนฟุตบาท เพราะต้องการเตือนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ขับมาบนฟุตบาท เพราะเคยถูกชนมาแล้ว ไม่อยากให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำกับผู้เดินเท้า และยังมีเด็กอาจได้รับอันตราย

จากที่มีคลิปเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีหญิงคนหนึ่งในชุดนักศึกษา มีไม้เท้าค้ำยัน ยืนรอรถโดยสารอยู่บนฟุตบาท และคอยโบกมือห้ามรถจักรยานยนต์ ที่ขับขี่มาบนทางเท้า ให้หลบลงจากฟุตบาท ซึ่งจากการสอบถาม ทราบว่า เป็นหญิงชาวประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร

ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ส.ค.62 ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้ความอำนวยสะดวก ทราบชื่อคือ เมกูมิ โมริโมโต้ หรือ ชื่อไทย ‘มะลิ’ กำลังศึกษาอยู่ที่ สาขาอาหารปลอดภัยและโภชนาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครแต่เพื่อนๆในห้องเรียน เรียกเมกูมิ ว่า‘คุณจันทร์’ซึ่งปัจจุบันอายุ55ปี ส่วนสาเหตุที่ต้องมาเรียนไกลถึงจังหวัดสกลนคร เนื่องจากเหตุผล ที่วิทยาเขตแห่งนี้ มีสาขาวิชาดังกล่าวเปิดสอน และ‘คุณจันทร์’พักอาศัยอยู่กรุงเทพมหานคร มาได้ประมาณ 4-5 ปีทำให้สามารถสื่อสารภาษาไทยได้และด้วยปัญหาสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง จึงเลือกที่จะมาเรียนที่จังหวัดสกลนคร เพราะอากาศบริสุทธิ์ ไม่ต้องลำบากกับปัญหารถติด อีกทั้งลูกๆก็เรียนจบหมดแล้ว จึงต้องการหาประสบการณ์เพิ่มพูนทักษะวิชาการความรู้

เมื่อสอบถามถึงเหตุการณ์ในคลิป "คุณจันทร์" กล่าวว่า ชอบตักเตือนผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่มักขับรถบนทางเท้าอยู่แล้ว แต่ในเหตุการณ์วันนั้นกำลังยืนรอรถโดยสารประจำทาง และเห็นว่ามีฝนตก มีน้ำขังบนทางเท้า ถือว่าเปียก พื้นถนนลื่นง่าย แต่คนขับรถจักรยานยนต์ก็ขับมาด้วยความเร็ว จึงไม่เข้าใจว่าทำไม่ไม่ใช้ความระมัดระวัง หรือเคารพกฎจราจร และยังมีเด็กนั่งมาด้วย จึงบอกให้ขับช้าและควรลงไปใช้พื้นที่บนผิวถนน

เมื่อถามว่า ไม่กลัวเป็นอันตรายหรือทำถูกทำร้ายหรือไม่ ที่ไปว่ากล่าว "คุณจันทร์" กล่าวว่า ไม่รู้สึกผิดหรือกลัว เพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทุกคนอาจมองเป็นเรื่องเล็ก แต่การสอนให้รู้จักวินัยก็น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ และตนเองก็ทำแบบนี้มาตลอดระยะเวลา4-5ปี ที่อยู่เมืองไทย ส่วนที่ต้องใช้ไม้ค้ำยัน เพราะประสบอุบัติเหตุจากการปั่นจักรยาน ทำให้ข้อเท้าผิดรูป เดินไม่สะดวก และเคยประสบอุบัติเหตุถูกชนบนทางเท้าหลายครั้ง และคนก่อเหตุยังหลบหนีไป จึงทำให้คิดว่าต้องการให้ทางเท้ามีความปลอดภัยกับ