ปรับตัวขึ้นต่อ

ปรับตัวขึ้นต่อ

ดัชนีวานนี้ปรับตัวขึ้นแรง สวนทางกับตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคส่งออกที่เผยยอดเดือน ก.ค.โต 4.28% สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว

นอกจากนี้ ตลาดยังปรับตัวขึ้นถูกหนุนโดยหุ้นรายตัว อาทิ GULF CPALL BJC และ DELTA นอกจากนี้ นักลงทุนต่างยังกลับมามีสถานะซื้อสุทธิวันแรกในรอบ 7 วันทำการ ที่ 753 ลบ. ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,638.24 จุด (+12.67 จุด) Volume 5.7 หมื่นลบ. TFEX Net -10,231 สัญญา ตลาดตราสารหนี้ -7,473 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวก 240.29 จุด +0.93% ขานรับบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐรายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาด และได้แรงหนุนจากรายงานการประชุมเฟดประจำเดือนก.ค.ระบุว่ากรรมการส่วนใหญ่หนุนลดดอกเบี้ย และกรรมการเฟดบางส่วนเสนอปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% เพื่อป้องกันผลกระทบจากข้อพิพาทการค้า และภาวะเงินเฟ้อต่ำ

+สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 2.5% สู่ระดับ 5.42 ล้านยูนิต มากกว่าคาดในเดือนก.ค.ที่ระดับ 5.39 ล้านยูนิต

+ก.พาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกเดือนก.ค.พลิกขยายตัว 4.28% สูงสุดในรอบ 5 เดือน (ขยายตัว 1.55% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันและทองคำ) 7 เดือนแรกปี 62 ส่งออกหดตัว 1.91%

+10 เดือนแรกปี 62 งบประมาณรายจ่ายใช้จ่ายแล้ว 87% สูงกว่าเป้า 2.34%

+ Fund Flow ต่างชาติมีสถานะซื้อ YTD 1.4 หมื่นลบ. ค่าเงินบาท 30.775 บาท/US

-ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 45 เซนต์ -0.8% ปิดที่55.68 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้นสวนทางกับการคาดการณ์

-สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสินเชื่อจำนองลดลง 0.9% ในสัปดาห์ที่แล้ว แม้ดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดเกือบ 3 ปี

*จับตาส.อ.ท.แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนี PMI ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้นเดือน ส.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนก.ค.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยได้แรงหนุนจากการรายงานการประชุมเดือนก.ค.ของเฟด ที่มีกรรมการบางส่วนเสนอให้ลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% เพื่อลดผลกระกอบสงครามการค้า ส่วนปัจจัยในประเทศคาดตลาดได้แรงหนุนจากกลุ่มธนาคาร หลังเริ่มมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของแบงก์ใหญ่ ส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยลดลง คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,635-1,650 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

TNP (ราคาปิด 1.97 บาท “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 2.56 บาท)

แนวโน้มครึ่งปีหลังโตแกร่งกว่าครึ่งปีแรก : เราคาดว่าแนวโน้มผลประกอบการในช่วง 2H62 จะเติบโตดีกว่า 1H62 จากการเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ ประกอบกับได้แรงหนุนจากการเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีกทั้งหมดราว 4 สาขา สู่ทั้งหมด 29 สาขา ณ สิ้นปี ซึ่งเป็นแผนของบริษัทที่จะเปิดสาขาเพิ่มทั้งหมดในปีนี้ 5 สาขา โดยเปิดไปแล้ว 1 สาขา เมื่อไตรมาสที่ผ่านมา นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับอานิสงส์ต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ บัตรสวัสดิการสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ขยายเวลาเพิ่มอีก 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย 62) และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวนอกถิ่นที่อยู่อาศัย ส่งผลให้เราคาดการณ์รายได้และกำไร 3Q62 ราว 520 ลบ. (+18%YoY, +3%QoQ) และ 22.2 ลบ. (+42%YoY, 6%QoQ) ตามลำดับ พร้อมกับคาดการณ์รายได้และกำไรทั้งปี 62 ราว 2,045 ลบ. +15.6% และ 83 ลบ. +27% ตามลำดับ ทั้งนี้ 1H62 บริษัทมีกำไรเท่ากับ 36.8 ลบ. +24%YoY และคิดเป็น 44% ของประมาณการกำไรทั้งปี 62

กลยุทธ์การลงทุน

หุ้น Defensive Stock (EASTW TTW BCH CPALL BJC) หุ้น High Dividend (SIRI QH TISCO KKP ANAN) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ (ERW CENTEL AOT BJC CPALL TNP) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมูลต่าการส่งออกขยายตัว (STA TWPC GFPT TFG)

หุ้นมีข่าว   

·      KBANK (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 208.57) หั่นดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.050.2% ใน 7 ผลิตภัณฑ์ เผยส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยออมทรัพย์พิเศษสำหรับนิติบุคคล ด้านผู้บริหารแบงก์ยัน ไม่แตะรายย่อย (ที่มา กรุงเทพธุรกิจ)

·      ความเห็น การลดดอกเบี้ยเงินฝากช่วยลดภาระต้นทุนเงินฝากได้บางส่วนเนื่องจากไม่ได้ลดดอกเบี้ยเงินฝากลูกค้ารายย่อย แต่ก็ช่วยให้ NIM ปรับดีขึ้นจากที่ก่อนหน้านี้ KBANK ได้ประกาศปรับลดอัตราดบ.เงินกู้ซึ่งทำให้รายได้ดอกเบี้ยลดลง

·      ธปท.สั่งปรับบริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) เก็บดอกเบี้ยเกินกว่าเพดานสูงสุดตามที่ประกาศไว้ จึงสั่งปรับจำนวน 1,655,000 บาท ถือเป็นรายที่ 6 ที่ ธปท. มีการเปรียบเทียบปรับ (ที่มา MGR Online)

·      ความเห็น เป็นข่าวลบกับบริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) (BFIT) ผู้ถูกปรับและบริษัทแม่ (SAWAD) ที่ถือหุ้น BFIT 82.04% ทำให้ทิศทางรายได้ดอกเบี้ยในอนาคตมีแนวโน้มลดลง

·      PTG (ราคาปิด 20.90 บาท Bloomberg Consensus 17.93 บาท) ลั่นผลงาน Q3/2562 ฟอร์มแจ่ม อานิสงส์ยอดขายพุ่ง-ค่าการตลาดสดใส พร้อมตอกย้ำยอดขายปีนี้โต 20% จากปี 2561 ที่ราว 3.8 พันล้านลิตร แถมเดินหน้าขยายสาขาทั่วไทยต่อเนื่อง อัพฐานโกยเงินเพิ่ม มั่นใจแตะ 2,000 สาขา ในสิ้นปีนี้ (ที่มา ทันหุ้น)

·      AOT (ราคาปิด 70.25 บาท Bloomberg Consensus 77.95 บาท) สร้างภูมิคุ้มกันเร่งเพิ่มสัดส่วนธุรกิจ Non-Aero แตะ 45% ในปี 2563 ป้องกันรายได้ธุรกิจ Aero หดตัว แต่มั่นใจปี 2562 กำไรใกล้เคียง 2.5 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2564 รายได้ทั้ง Aero และ Non-Aero พุ่งแรงหลังเปิดอาคารแซทเทิลไลต์-ดิวตี้ฟรีสัญญาใหม่ ด้านบอร์ดสั่งปรับการเข้าบริหารสนามบินภูมิภาค 4 สนามบินสู่จังหวัดดีขึ้น ฮุบ กระบี่-บุรีรัมย์-อุดรธานี-ตาก (ที่มา ทันหุ้น)

·      RATCH (ราคาปิด 69.00 บาท Bloomberg Consensus 70.70 บาท) ควัก 2 พันล้านบาท เข้าเทกโรงไฟฟ้า SPP ย่านนวนคร จากกลุ่ม TTCL และเทพหัสดิน หวังเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า นักวิเคราะห์ชี้ดีลคุ้ม คาดมีรายได้เพิ่มอีก 300 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

·      ANAN (ราคาปิด 3.32 บาท Bloomberg Consensus 4.15 บาท) ส่งแคมเปญกระตุ้นยอดขายครึ่งปีหลังนำ 32 โครงการคุณภาพพร้อมอยู่ หวังโกยยอดขายในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน กว่า 5,000 ล้านบาท ไม่ต่ำกว่า 1,000 กว่ายูนิต เชื่อว่าความต้องการที่อยู่อาศัยใกล้รถไฟฟ้ายังดี ลุยเปิดตัวโครงการใหม่ครึ่งปีหลังอีก 7 โครงการ มูลค่า 21,930 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

·      SSP (ราคาปิด 7.95 บาท Bloomberg Consensus 10.75 บาท) ฟุ้งอยู่ระหว่างการศึกษาลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์-ลม ในเวียดนาม มาเลเซีย และญี่ปุ่น ขนาดกำลังผลิตเฉลี่ย 50 MW ต่อโครงการ คาดว่าในช่วงปลายปีได้ข้อสรุป 1 โครงการ แนวโน้มไตรมาส 3/2562 โดดเด่นกว่าปีก่อนหลังเริ่ม COD โครงการมองโกเลียเต็มสูบ มั่นใจกำลังการผลิตสิ้นปี 2562 เข้าเป้า 157 MW (ที่มา ทันหุ้น)

·      BCPG (ราคาปิด 18.40 บาท Bloomberg Consensus 19.90 บาท) เล็งขยายลงทุนโรงไฟฟ้าในมาเลเซีย-เวียดนาม-ลาว เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต พร้อมรับผลดีหลังกระทรวงพลังงานปรับสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มในแผนพีดีพี 2018 คาดครึ่งปีหลังอีบิทด้าโต 15% (ที่มา ข่าวหุ้น)

·      PF ลั่นผลงานครึ่งปีหลังเด่น ตุนแบ็กล็อกจ่อบุ๊ก 4,700 ล้านบาท แย้มแผนขายที่ดิน เดินหน้าลดภาระหนี้ลงกว่า 4,000 ล้านบาท ลุยพัฒนาโครงการร่วมทุน มูลค่ารวม 6,032 ล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)