เลือกเล่นรายตัว

เลือกเล่นรายตัว

คาด SET อ่อนตัวทดสอบ 1,620 จุดก่อนจะสลับรีบาวด์

ลาดหุ้นวานนี้: SET Index ปรับตัวลงแรง -11.69 จุด (-0.71%) ปิดที่ระดับ 1,625 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุนและดัชนีดีดตัวขึ้นตอบรับปัจจัยบวกรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไประดับนึงแล้ว รวมถึงมีแรงขายทำกำไรทางเทคนิคหลังดัชนีไม่สามารถผ่านแนว GAP 1,645 – 1,650 จุดส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลง สำหรับนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิอีก 2,991 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 8,138 ล้านบาท รวมถึง Net Short TFEX จำนวน 4,447 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้: เรามีมุมมองเป็นกลาง-ลบ คาด SET อ่อนตัวทดสอบ 1,620 จุดก่อนจะสลับรีบาวด์ เนื่องจากภาวะตลาดตอบรับปัจจัยบวกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศไปบ้างแล้ว และยังไม่มีปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน ประกอบกับคาดว่านักลงทุนจะชะลอการซื้อ/ขายเพื่อติดตามคำแถลงของ Fed ในการประชุมเศรษฐกิจประจำปีวันที่ 23 ส.ค.ที่คาดว่าจะมีการส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ FedWatch ประเมินว่า Fed มีโอกาส 98.1% ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งจะเป็นบวกต่อ Sentiment การลงทุนตลาดหุ้นในช่วงถัดไป อย่างไรก็ตามความกังวลกระแส Fund Flow ต่างชาติที่ยังคงไหลออกต่อเนื่อง (Net sell 4.7 หมื่นลบ. MTD.) จะเป็นแรงกดดันให้ภาวะการลงทุนในช่วงนี้มีความผันผวนสูง

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • หุ้นที่ได้อานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ กลุ่มค้าปลีก CPALL กลุ่มท่องเที่ยว AOT, MINT, ERW กลุ่มนิคมฯ AMATA, WHA 
  • หุ้น Defensive stock (INTUCH, ADVANC, BEM, BTS, BDMS, BCH, CHG, GPSC, BGRIM, TPCH, EA, TTW, CPALL )

หุ้นแนะนำวันนี้ : CPALL (ปิด 84.75 ซื้อ/เป้า 100) Top pick กลุ่มค้าปลีก ปลอดภัยจากปัญหา Trade war, SSSG ยังเป็นบวกคาดปีนี้ +3% การขยายสาขายังเป็นไปตามแผนตั้งเป้าที่ 700 สาขาต่อปี และได้ Sentiment บวกจากภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการช่วยเหลือค่าครองชีพ, BGRIM (ปิด 35.5 ซื้อเป้า IAA Consensus 37.5) ผลกำไรใน 3Q19 และ 4Q19 จะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการรับรู้รายได้เต็มไตรมาสของโรงไฟฟ้าใหม่ที่ทยอย COD ในช่วงปีที่ผ่านมาและต่อเนื่องเป็นจนถึงครึ่งปีแรกของปีนี้ นอกจากนี้ยังมี Sentiment บวกเพราะคาดว่าจะเป็นหนึ่งในตัวเต็งที่ FTSE จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุน (ประกาศ 23 ส.ค.19)

KSS report วันนี้: -

ประเด็นสำคัญวันนี้:

  • (+) 33.16 วานนี้ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้านวงเงินรวม 3.16 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1) มาตรการช่วยเหลือผลกระทบจากภัยแล้ง วงเงินประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาท 2) มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท และ 3) มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว “ชิม ช็อป ใช้.” วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินให้สินเชื่อกลุ่มธุรกิจ SME วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท และสินเชื่อที่อยู่อาศัยประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นมองว่ามาตรการช่วยเหลือภัยแล้งและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพจะส่งผลบวกต่อกลุ่มค้าปลีก (CPALL, BJC, HMPRO, GLOBAL) มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นบวกกับกลุ่มโรงแรม (ERW, CENTEL, MINT) มาตรการช่วยเหลือ SME ส่งผลบวกทางอ้อมต่อ NPLs ที่ลดลงต่อกลุ่ม ธนาคาร (KBANK) และไฟแนนซ์ (MTC, SAWAD)
  • (-) วานนี้ นายจูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลีประกาศลาออกจากตำแหน่งหลังจากถูกพรรคมร่วมรัฐบาลยื่นมติไม่ไว้วางใจ โดยขั้นตอนต่อไป อิตาลีมี 2 ทางเลือกคือ 1) ประธานาธิบดีไปรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองอื่นๆเพื่อมาจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หรือ 2) ประกาศเลือกตั้งใหม่ ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในอิตาลีสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากอิตาลีมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่อ่อนแอ มีหนี้สาธารณะสูงถึง 132% ต่อ GDP และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอัน 3 ของยุโรป ดังนั้นหากการเมืองยังอ่อนแอจะยิ่งซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแออยู่แล้วทรุดตัวลงไปอีกและจะส่งผลต่อภาพรวมใน EU
  • (+/-) GDP 3/19 เนื่องจากภาคการส่งออกที่หดตัว 6.1% ในไตรมาส 1/19 และ 2/19 คือปัจจัยลบสำคัญที่ฉุดให้ GDP ของไทยชะลอตัวลงสู่ระดับ 2.8% และ 2.3% ในไตรมาส 1 และ 2 ที่ผ่านมา ดังนั้นวันนี้ตัวเลขส่งออกของไทยเดือน ก.ค.จึงเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดว่าภาพรวม GDP ของไทยในไตรมาส 3/19 จะกลับมาฟื้นตัวได้หรือไม่ เบื้องต้น Bloomberg consensus คาดตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค.จะหดตัว 2% หดตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.15% ในเดือน มิ.ย.ดังนั้นหากตัวเลขส่งออกมาหดตัวมากกว่าที่คาด จะทำให้ตลาดกลับมากังวลกับ GDP ในไตรมาส 3/19 อีกครั้ง