'พาณิชย์' เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 51

'พาณิชย์' เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 51

"พาณิชย์" เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 51 และการประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 3-10 กันยายนนี้ ที่กรุงเทพฯ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEANEconomic Ministers : AEM) ครั้งที่51 การประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (RCEP)ครั้งที่ 7และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 3-10 กันยายน 2562 ที่กรุงเทพฯโดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)เป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรีทั้งอาเซียนและอาร์เซ็ป 

\'พาณิชย์\' เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 51

ทั้งนี้ การประชุม AEM และการประชุมที่เกี่ยวข้องซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมที่สำคัญมาก โดยจะมีการประชุมที่สำคัญ4 การประชุม ดังนี้ 1.การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SeniorEconomic Official Meeting :SEOM) ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2562 เพื่อเตรียมการก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งตนจะทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม2. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2562ซึ่งรัฐมนตรีอาเซียน 10 ประเทศจะร่วมกันหารือสรุปความก้าวหน้าและความสำเร็จการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียนนับตั้งแต่ไทยรับหน้าที่ประธานอาเซียนเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียนต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่กรุงเทพฯ

3. การประชุมรัฐมนตรีอาร์เซ็ป 16 ประเทศระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2562 เพื่อติดตามความคืบหน้าการเจรจา RCEP และปลดล็อคประเด็นติดขัดที่ยังเหลืออยู่เพื่อกรุยทางให้ผู้นำประกาศสรุปผลการเจรจาในช่วงการประชุมสุดยอดอาร์เซ็ปในเดือนพฤศจิกายนนี้4. การประชุมระหว่างรัฐมนตรีการค้าอาเซียน 10 ประเทศกับรัฐมนตรีการค้าของประเทศคู่เจรจา 10 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้อินเดีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ แคนาดา และรัสเซีย (แบบแยกรายประเทศ)ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2562ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่อาเซียนจะได้หารือพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศเหล่านี้และเตรียมการก่อนที่ผู้นำอาเซียนจะพบกับผู้นำของคู่เจรจา 10 ประเทศในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่กรุงเทพฯ   

อย่างไรก็ตาม  ในการประชุมครั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะร่วมกันลงนามเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่  ข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์และชิ้นส่วนของอาเซียนซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์เพราะถ้ายานยนต์และชิ้นส่วนผ่านการตรวจสอบรับรองของหน่วยงานทดสอบมาตรฐานในประเทศสมาชิกอาเซียนหนึ่งแล้วเมื่อส่งออกไปยังสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก็ไม่ต้องตรวจสอบซ้ำเพราะถือว่าได้ยอมรับผลการตรวจสอบนั้นแล้ว และพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนฉบับปรับปรุงเพื่อให้กลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันรวมทั้งเป็นไปตามหลักการและกระบวนการระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก (WTO)ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับอาเซียนหากมีปัญหาหรือข้อพิพาทระหว่างอาเซียนเนื่องจากการใช้มาตรการทางการค้าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาเซียนก็จะมีกลไกการหารือแก้ไขข้อพิพาทกันเองโดยไม่ต้องพึ่งการตัดสินขององค์กรนอกอาเซียนซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ถือเป็นความสำเร็จของไทยในฐานะประธานอาเซียนปีนี้เนื่องจากเป็นเรื่องที่อาเซียนใช้เวลาเจรจาหาข้อสรุปกันอยู่นานเกือบสิบปีซึ่งสำเร็จได้ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียนปีนี้

  

ปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 (ม.ค. - มิ.ย.)มีมูลค่าการค้ารวม 53,557.22ล้านดอลลาร์ เป็นการส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 31,316.71 ล้านดอลลาร์ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า22,240.51 ล้านดอลลาร์โดยไทยเกินดุล 9,076.20ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันการส่งออกของไทยไปอาเซียน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.47ของการส่งออกทั้งหมดของไทย