ปลุกปวศ. 'ควง' จับมือ 'ปรีดี' นิรโทษผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง

ปลุกปวศ. 'ควง' จับมือ 'ปรีดี' นิรโทษผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง

"นักวิชาการ" ปลุกประวัติศาสตร์ ศึกษาสมาชิกคณะราษฎร ย้อนรอย "ควง อภัยวงศ์" เคยจับมือ "ปรีดี พนมยงค์" นิรโทษกรรมผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง ก่อนเริ่มการเมืองใหม่หลังปี 2475

ที่ห้องประชุม 307 คณะพาณิชยศาสตร์และบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 13.30 น. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ คณะพาณิชยศาสตร์ฯ จัดเสวนาสาธารณะ หัวข้อ "ควง อภัยวงศ์ คณะราษฎร์ นายกรัฐมนตรี"

ปลุกปวศ. 'ควง' จับมือ 'ปรีดี' นิรโทษผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง

โดยมี นายศรัญญู เทพสงเคราะห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ , นายกษิดิศ อนันทนาธร นักศึกษาปริญญาโทนิติศาสตร์ และ นายนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ เล่าถึงภาพรวมประวัติ "นายควง อภัยวงศ์" อดีตนายกฯ และช่วงชีวิตการรับราชการ จนเข้าสู่การทำงานด้านการเมือง ซึ่งชีวิตราชการเริ่มจากการทำงานกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วงปี พ.ศ.2475 นายควง ก็เป็น 1 ในคณะราษฎรสายพลเรือนที่ได้รับหน้าที่ให้ดูแลเรื่องการตัดสัญญาณสื่อสาร ตัดสายโทรศัพท์-สายโทรเลข และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจนมีการเลือกตั้งนายควง ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง

ปลุกปวศ. 'ควง' จับมือ 'ปรีดี' นิรโทษผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง

โดยช่วงแรกการเป็นนายกฯ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองนายกฯ ยังมาจาก ส.ส.ประเภทที่ 2 คือ ส.ส.แต่งตั้ง ขณะที่นายควง ได้เป็นเข้ามานายกรัฐมตรี 4 สมัย สมัยแรกระหว่างวันที่ 1 ส.ค.2487 - 31 ส.ค.2488 (ได้รับเลือกจากสภาและการสนับสนุนจากนายปรีดี พนมยงค์ หลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออก) , สมัยที่ 2 ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.2489 - 24 มี.ค.2489 (ส.ส.มาจากการเลือกตั้ง ช่วงเริ่มต้นระบบพรรคการเมือง) , สมัยที่ 3 ระหว่างวันที่ 10 พ.ย.2490 - 21 ก.พ.2491 (จอมพล ป.สนับสนุน) , สมัยที่ 4 ระหว่างวันที่ 21 ก.พ.2491 - 8 เม.ย.2491 (ถูกจี้ให้ลาออก) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่าเป็นนายกฯ ไม่ครบวาระแต่ได้เข้ามาบริหารช่วงมีสถานการณ์คับขันเปลี่ยนแปลงโดยได้รับแรงสนับสนุนผลักดันขึ้นมา ขณะที่นายควง เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์วันที่ 6 เม.ย.2489 โดยมี 3 กลุ่มที่มีบทบาท คือกลุ่ม ส.ส.ตรงข้ามฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ , ขุนนางเก่า กลุ่มอนุระกษ์นิยม และคณะราษฎรบางส่วน โดยช่วงก่อตั้งก็เกิดหลังจากความพ่ายแพ้รัฐบาลควงในสภา โดยช่วงที่นายควง เป็นนายกฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีปัญหาเรื่องของข้าวของยังราคาแพง เงินเฟ้อ ก็มีการวาดภาพการ์ตูนล้อออกมาด้วย ขณะที่นายควงเองก็ได้รับฉายา "ตลกหลวง" เป็นายกรัฐมนตรีผู้มีอารมณ์ขันด้วย

ปลุกปวศ. 'ควง' จับมือ 'ปรีดี' นิรโทษผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง

ส่วนงานด้านการเมืองนั้นช่วงที่นายควงเป็นนายกฯ ยังร่วมมือกับนายปรีดี ในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ ปรองดองกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติ 2475 โดยเริ่มจากการอภัยโทษและนิรโทษกรรม จนผู้ที่อยู่ต่างประเทศกลับมาประเทศเริ่มต้นทางการเมือง ซึ่งช่วงเดือน ก.ย.2487 ได้อภัยโทษนักโทษการเมืองจากเหตุการณ์กบฏจลาจล แล้วเดือน พ.ค.2488 ได้นิรโทษกรรมผู้ต้องหากยฏ กับเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญถาวร 2475 โดยมีหลักการสำคัญ คือ ยกเลิกเรื่องพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าอยู่เหนือการเมือง , ยกเลิก ส.ส.ประเภท 2 (ส.ส.แต่งตั้ง) , และกำหนดให้มี 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และสภาอาวุโส ทั้งนี้ "นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์สถาบันรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ผู้ดำเนินรายการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การเสวนาสาธารณะครั้งนี้ว่า การจัดเสวนาสาธารณะ ครั้งนี้ ก็เป็นหนึ่งในซีรีย์ของการจัดเสวนาเกี่ยวกับคณะราษฎร โดยคณะราษฎรนั้นในอดีตก็มีบุคคลจำนวนมากที่เกี่ยวข้อง แต่ที่ผ่านมาในการศึกษาเราอาจพูดถึง คนในคณะราษฎร์เพียงไม่กี่คนดังนั้นในการจัดเสวนาจึงเป็นการพยายามพูดถึงบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องที่เป็นสมาชิกคณะราษฎร อย่างเช่น นายควง อภัยวงศ์ หลายคนก็ไม่เคยรู้จักและไม่รับรู้ว่าเป็นสมาชิกคณะราษฎรด้วย โดยการจัดเสวนาก็จะเป็นการสร้างการรับรู้ของคนในการศึกษาอดีตให้มากยิ่งขึ้น

ปลุกปวศ. 'ควง' จับมือ 'ปรีดี' นิรโทษผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง

ปลุกปวศ. 'ควง' จับมือ 'ปรีดี' นิรโทษผู้ต้องหากบฏ สร้างปรองดอง