Economic (16 ส.ค.62)

Economic (16 ส.ค.62)

2Q62 GDP: คาดจะชะลอตัวเหลือ 2.1% YoY

Event

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (The Office of the National Economic and Social Development Council: NESDC) จะรายงานอัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่ 2/62 ในวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม เราคาดวา่ GDP ไตรมาสที่ 2/62 จะขยายตัว 2.1% YoY (ตารางที่ 1) ลดลงจาก 2.8% YoY ในไตรมาสที่ 1/62

เหมือนไตรมาสที่ 1/62 การหดตัวลงของมูลค่าและปริมาณส่งออกที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยาวนานและรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงมากขึ้น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในรูปค่าเงินบาทลดลงแรงเป็นผลจากการลดลงของการเกินดุลในรูปของค่าเงินดอลลาร์ฯ และ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ จากเฉลี่ย 33.12 ในไตรมาสที่ 2/61 เป็น 30.67 ในไตรมาสที่ 2/62

คาดการใช้จ่ายภาคเอกชนยังเป็ นปัจจัยหลักที่หนุนให้ GDP ไตรมาสที่ 2/62 ขยายตัว คาดว่าจะขยายตัว 3.6% YoY ชะลอตัวลงจาก 4.6% YoY เทียบกบั ไตรมาสที่ 1/62 สะท้อนจากดัชนีการบริโภคภาคเอกชนไตรมาสที่ 2/62 เพิ่มขึ้นในระดับที่ชะลอตัวลงจาก 4.3% YoY ในไตรมาสที่ 1/62 เหลือลดลงจาก 3.3% YoY ในไตรมาสที่ 2/62 โดยรายได้ภาคเกษตรชะลอตัวลงจาก 2.7%YoY เหลือ 0.4% YoY .ในไตรมาสที่ 2/62 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวในอัตราที่ลดลงจาก 1.8% YoY ในไตรมาสที่ 1/62 เหลือ 1.1% YoY ในไตรมาสที่ 2/62

การใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัว 1.3% YoY การลงทุนภาครัฐไม่เปลี่ยนแปลง การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐชะลอตัวลงเนื่องจากการเบิกจ่ายล่าช้าในช่วงรัฐบาลรักษาการหลังการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม การใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัวลงจากที่ขยายตัว 3.3% YoY เหลือ 1.3% YoY

อัตราการขยายตัวการลงทุนภาครัฐจะทรงตัวเนื่องจากการไม่มีโครงการลงทุนใหม่ขนาดใหญ่ยังไม่เกิดขึ้นเพิ่มเติม และการชะลอการเบิกจ่าย การลงทุนภาครัฐส่วนใหญ่ยังเป็นความคืบหน้าของโครงการเดิมต่อเนื่องจากหลายไตรมาสที่ที่ผ่านมา เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้ าสายสีต่างๆ เช่น น้ำเงิน แดง เขียวส่วนต่อขยาย และ ส้ม โครงการก่อสร้างมอร์เตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 7-9 ของการประปานครหลวง โครงการทรัพย์สินทางด้านจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง โครงการระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การลงทุนภาคเอกชนจะชะลอตัวเหลือ 2.8% YoY

การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากการนำเข้าสินค้าประเภททุนหดตัวลงแรงยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลง การก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงจากนโยบายการควบคุมภาคอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ขณะที่สต๊อกสินค้ามีแนวโน้มลดลงเนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตร สต๊อกสินค้าภาคอุตสาหกรรมลดลงตามการหดตัวของปริมาณส่งออก

ดุลบัญชีเดินสะพัดหดตัวแรง 23.3% YoY ในรูปค่าเงินบาท

มูลค่าส่งออกในรูปค่าเงินดอลลาร์ฯ ไตรมาสที่ 2/62 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 4.2% YoY เทียบจากที่หดตัว 4.0% YoY ในไตรมาสที่ 1/62 ยังเป็นผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนเหมือนไตรมาสก่อนๆ และส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลง 2.6% YoY เทียบกับที่หดตัว 1.2% YoY ในไตรมาสที่ 1/62 ซึ่งสะท้อนการชะลอตัวลงของ GDP ไตรมาสที่ 2/62

มูลค่านำเข้าลดลง 3.4% YoY ลดลงจากที่หดตัว 2.9% YoY ในไตรมาสที่ 1/62 เป็นการหดตัวลงในทุกหมวดอุตสาหกรรมที่สำคัญ ทั้งกลุ่มพลังงาน สินค้าประเภททุนและวัตถุดิบขั้นต้นและขั้นกลางเพื่อการผลิตเพื่อส่งออก

การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแม้จะยังแข็งแกร่งโดยเกินดุล 4.93 พันล้านดอลลาร์ แต่ลดลง 21.2%YoY ในรูปของค่าเงินดอลลาร์ฯ และ 23.3% YoY ในรูปของค่าเงินบาท ซึ่งจะส่งผลให้ GDP ไตรมาสที่ 2/62 ขยายตัวในระดับที่ลดลง

ถ้าอัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่ 2/62 เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ เราจะปรับลดเป้าอัตราการขยายตัว GDP ปี 2562 ลงจาก 3.3% เหลือ 3.0% และส่งผลให้ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% เหลือ 1.25% ในการประชุมวันที่ 25 กันยายน นี้