ฝนทิ้งช่วง 10 จังหวัด เดือดร้อน 3,253 หมู่บ้าน

ฝนทิ้งช่วง 10 จังหวัด เดือดร้อน 3,253 หมู่บ้าน

ปภ. เผยฝนทิ้งช่วง 10 จังหวัด เดือดร้อน 3,253 หมู่บ้าน เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ถึงปัจจุบันมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง) 10 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร สุพรรณบุรี ศรีสะเกษ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ สระแก้ว และพิษณุโลก รวม 38 อำเภอ 270 ตำบล 3,253 หมู่บ้าน 32 ชุมชน
โดยเพชรบูรณ์ ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองไผ่ อำเภอชนแดน อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอหล่มเก่า อำเภอศรีเทพ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอวังโป่ง อำเภอน้ำหนาว รวม 97 ตำบล1,125 หมู่บ้าน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองไผ่ อำเภอชนแดน อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอหล่มเก่า อำเภอศรีเทพ อำเภอหล่มสัก

นครสวรรค์ ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตากฟ้า และอำเภอไพศาลี รวม 12 ตำบล 102 หมู่บ้าน กำแพงเพชร ประกาศเขตฯ (ฝนทิ้งช่วง) ในอำเภอคลองลาน รวม 4 ตำบล 58 หมู่บ้าน
สุพรรณบุรี ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) ในอำเภอเดิมบางนางบวช รวม 2 อำเภอ 6 หมู่บ้าน
ศรีสะเกษ ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไพรบึง และอำเภอเมืองจันทร์ รวม 9 ตำบล 132 หมู่บ้าน
นครราชสีมา ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอครบุรี และอำเภอพระทองคำ รวม 8 ตำบล 94 หมู่บ้าน
ชัยภูมิ ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) ทั้ง 16 อำเภอ รวม 120 ตำบล 1,542 หมู่บ้าน
สุรินทร์ ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) ในอำเภอเมืองสุริทร์ รวม 8 ตำบล 104 หมู่บ้าน 32 ชุมชน
สระแก้ว ประกาศเขตฯ (ฝนทิ้งช่วง) ในอำเภอตาพระยา รวม 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน
พิษณุโลก ประกาศเขตฯ (ฝนแล้ง) ในพื้นที่2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุม รวม 76 ตำบล 847 หมู่บ้าน

ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เน้นจัดสรรน้ำอุปโภคบริโภคเป็นหลัก โดยจัดรถบรรทุกน้ำนำน้ำไปเติมยังถังน้ำกลางประจำหมู่บ้าน และจุดแจกจ่ายน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ พร้อมระดมเครื่องจักรกลสาธารณภัยผันน้ำดิบเข้าสู่ระบบการผลิตน้ำประปา ขุดลอกแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ขุดเจาะและเป่าล้างบ่อบาดาล รวมถึงประสานจัดทำฝนหลวงเมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวย อีกทั้งรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนเกษตรกรให้ปรับวิถีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่