Financial Sector (8 ส.ค.62)

Financial Sector (8 ส.ค.62)

ธปท. ลดดอกเบี้ยเร็วเกินคาด

Event

ผลกระทบจากการลดดอกเบี้ย

lmpact

ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps เป็นการกดดันให้ธนาคารต้องลดดอกเบี้ยตาม

ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps เหลือ 1.5% เร็วกว่าที่เราคาดไว้เพื่อลดแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และกระตุน้เศรษฐกิจ ซึ่งการลดดอกเบี้ยของ ธปท. จะกดดันให้ธนาคารต่าง ๆ ต้องลดอัตราดอกเบี้ยลง และจะส่งผลต่อธนาคารแตกต่างกันไป

เป็นบวกกับกลุ่ม non-bank และธนาคารขนาดเล็ก

เนื่องจากตามปกติแล้ว yield สินเชื่อของกลุ่ม non-bank จะเป็นอัตราคงที่ ดังนั้น MLR ที่ลดลงก็จะทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลงทันที ซึ่งหากใช้สมมติฐานว่ามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLR ลง 25bps เท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็จะทำให้ NIM เพิ่มขึ้น และส่งผลโดยตรงกับผลกำไรของกลุ่ม non-bankนอกจากนี้ margin ที่เพิ่มขึ้น 25 bps ก็จะทำให้ผลประกอบการของ KTC/MTC/SAWAD เพิ่มขึ้น 3.5%/3.4%/2.9% ตามลำดับ และจะทำให้กำไรของธนาคารขนาดเล็กอย่าง KKP และ TISCO เพิ่มขึ้น
3.4% และ 4% ตามลำดับ

เป็นลบในระยะสั้นกับธนาคารใหญ่

ในอีกด้านหนึ่ง การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะกดดันให้ธนาคารใหญ่ต้องลดทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ซึ่งการลดดอกเบี้ยเงินกู้จะส่งผลกระทบกับรายได้ทันที แต่การลดดอกเบี้ยเงินฝากจะส่งผลทีหลัง นอกจากนี้ถ้าจะมีการลดดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารน่าจะเริ่มที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำก่อน แต่ยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ (หรือ CASA) ทั้งนี้ เนื่องจาก CASA มีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับเงินฝากทั้งหมด (78% ของฐานเงินฝาก KBANK, 73% ของฐานเงินฝาก KTB, 70% ของฐานเงินฝาก SCB, และ 52% ของฐานเงินฝาก BBL) ยิ่งสัดส่วน CASA สูงเท่าไหร่ก็จะยิ่งถูกกระทบหนักขึ้นเท่านั้น เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในช่วงห้าปีที่ผ่านมาพบว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยธนาคารเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น margin ของธนาคารใหญ่จึงแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย ในขณะที่ธนาคารขนาดเล็ก (TISCO และ KKP) ได้ประโยชน์

... แต่จะส่งผลดีในระยะยาวกับคุณภาพสินทรัพย์

การที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกลดลง และกระทบกับธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกับคุณภาพสินทรัพย์/NPL ของธนาคาร ดังนั้น ธนาคารใหญ่จึงน่าจะอยากให้ ธปท.ลดดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาท ซึ่งธนาคารบอกว่าการบริหารผลกระทบที่เกิดกับ margin ง่ายกว่าการบริหารความเสี่ยง NPL

จะเกิด Downside ถ้าหาก ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก

เนื่องจากมีการคาดกันไว้อยู่แล้วว่าจะมีการลดดอกเบี้ย เราจึงคิดว่าธนาคารใหญ่ส่วนใหญ่น่าจะไม่มีปัญหากับการบริหารจัดการรายได้เมื่อมีการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps แต่ถ้าหากว่า ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเพื่อดูแลความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหภาคก็จะทำให้เกิด downside กับกลุ่มธนาคาร

Risks

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น, NPL แกว่งตัวสูงขึ้นทำให้ต้องกันสำรองเพิ่ม, มีการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียม