ธปท.ลงนามแบงก์ชาติเวียดนาม หนุนร่วมมือเทคโนโลยี-กำกับสถาบันการเงินข้ามปท.

ธปท.ลงนามแบงก์ชาติเวียดนาม หนุนร่วมมือเทคโนโลยี-กำกับสถาบันการเงินข้ามปท.

ธปท.ลงนามแบงก์ชาติเวียดนาม2ฉบับ หนุนความร่วมมือด้านการเงินการธนาคารระหว่างกัน พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และให้ความร่วมมือเทคโนโลยีด้านการเงิน

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ Mr. Le Minh Hung ผู้ว่าการธนาคาร กลางเวียดนาม ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับ ในระหว่างการประชุมทวิภาคีระหว่างธนาคาร แห่งประเทศไทยและธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Viet Nam) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงินการธนาคารระหว่างกันใน 2 ด้านสาคัญ ได้แก่
     
1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งทดแทน MOU ฉบับเดิมที่ลงนามเมื่อปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการกำกับดูแล สถาบันการเงิน โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการบริหารจัดการสถาบันการเงินในภาวะวิกฤติ ร่วมกันระหว่างสองหน่วยงาน
     
2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มี การพัฒนาบริการทางการเงินที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ และพัฒนาช่องทางการให้บริการทางการเงินใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ สะดวก ปลอดภัย และสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยต้นทุนที่ต่าลง รวมถึงเป็นกรอบความร่วมมือ ด้านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (digital payment) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเชื่อมโยงบริการทางการเงิน ระหว่างไทยและเวียดนาม
   
โดยการลงนามความตกลงร่วมมือดังกล่าวเป็นการยกระดับความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้กับธนาคารกลางทั้งสองแห่งในการส่งเสริมให้สถาบันการเงินในสองประเทศทำธุรกิจระหว่างกันมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและเวียดนาม สอดคล้องกับนโยบายของ ธปท. ที่ส่งเสริมโอกาสและศักยภาพของ ธนาคารพาณิชย์ไทยในการขยายธุรกิจไปในภูมิภาคมากขึ้น และเชื่อว่ามีธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่งสนใจขยายธุรกิจให้บริการทางการเงินในเวียดนาม

   ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสาคัญ ที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างไทยและเวียดนาม ทั้งในด้านเสถียรภาพสถาบันการเงินและ พัฒนาการทางการเงิน ซึ่งจะนาไปสู่การความเชื่อมโยงระบบการเงินระหว่างสองประเทศและอนุภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของทั้งสองประเทศต่อไป