Monthly Wizard: August 2019

Monthly Wizard: August 2019

เดือน ก.ค. Set Index พักตัวหลังจากที่ปรับขึ้นแรงในเดือน มิ.ย.

SET Index เดือน ก.ค. เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบเนื่องจากตลาดยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ประกอบกับดัชนีได้ปรับขึ้นตอบรับคาดการณ์เฟดจะลดดอกเบี้ยรวมถึงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทยไปแล้วตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ใน 2Q19 คาดว่าจะออกมาหดตัวทั้ง qoq และ yoy จึงหนุนให้นักลงทุนเลือกขายทากาไรและลดความเสี่ยงเพื่อรอดูการประชุมเฟดรวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนว่าจะออกตามที่ตลาดคาดไว้หรือไม่ ส่งผลให้ Set Index ณ สิ้นเดือนส.ค.ลดลง 18.4 จุด (-1.1%) ปิดที่ระดับ 1,712 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 62,772 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3%mom นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อีก 20,054 ล้านบาท (ytd +60,703 ล้านบาท)

ประเด็นที่มีผลกระทบตลาดในเดือน ก.ค. 2019

- การเมืองไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีทั้งคณะมีผลตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. เป็นต้นไป

- Fitch rating และ Moody คงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้ที่ BBB+ และ Baa1 ตามลาดับ แต่ปรับ Outlook ดีขึ้นจาก Stable เป็น Positive

- แบงก์ชาติปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรการเพื่อป้องกันการเก็งกาไรค่าเงินบาท อาทิ ลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากของผู้มีถิ่นอยู่นอกประเทศจาก 300 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาทต่อวัน

- ประชุม G20 เป็นบวกสหรัฐชะลอขึ้นภาษีนาเข้าสินค้าจากจีนรอบใหม่มูลค่า 3.25 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่จีนยินดีสั่งซื้อสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น และสหรัฐยังอนุญาติให้หัวเว่ยสามารถซื้อสินค้ากับซัพพลายเออร์ในสหรัฐได้เป็นบางกรณี

- กลุ่ม OPEC + Non OPEC มีมติขยายเวลาลดกาลังการผลิต 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีก 9 เดือน จนถึงสิ้นเดือน มี.ค.19 หลังจากมาตรการเดิมหมดอายุไปเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา

- IMF ปรับลดคาดการณ์ World GDP ในปีนี้และปีหน้าเป็น 3.2% และ 3.5% จากเดิม 3.3% และ 3.6% ตามลาดับ สะท้อนผลกระทบจากสงครามการค้า

- ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ตามที่เราและตลาดคาดไว้ แต่ส่งสัญญาณอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยหรือนา QE กลับมาใช้เร็วสุดน่าจะเกิดขึ้นในการประชุมครั้งถัดไป (12 ก.ย.19)

พอร์ตการลงทุนเดือน ก.ค.ให้ผลตอบแทนเท่ากับตลาดที่ -1.1%:

พอร์ตจำลองของเราในเดือน ก.ค.ให้ผลตอบแทนเท่ากับตลาดที่ -1.1% โดย WORK ให้ผลตอบแทนดีสุด +15.4% ตามด้วย CPALL 0.9% ส่วน EA ANAN และ CK ให้ผลตอบแทนน่าผิดหวัง -6.3%, -6.8% และ -8.5% ตามลำดับ ( ytd KSS Port ให้ผลตอบแทน +14.2% ชนะตลาดที่ให้ผลตอบแทน +9.5%) ส่วนพอร์ตลงทุนอื่นๆ พอร์ตการลงทุนแบบ Growthstock ( G.Stock) ให้ผลตอบ แทน ดีสุด +0.6% แต่พ อร์ตลงทุนแบบDividend Stock (D.stock) และ DCA (DCA.Port) ให้ผลตอบแทน -0.3% และ -3.1% ตามลำดับ

Market Outlook

- คาด SET index เดือน ส.ค. จะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ 1,680 – 1,750 จุด

- 1-2 สัปดาห์แรกของเดือนดัชนีมีโอกาสลงไปทดสอบแนวรับที่ 1,680 จุด ผิดหวังเฟดไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย และมีแรงขาย Sell on fact หลังประกาศงบ 2Q19

- ระยะกลาง - ยาว เรายังมองบวกดัชนียังมีโอกาสฟื้นตัว คาดหวังภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เฟดลดดอกเบี้ยอีก เนื่องจากเชื่อว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐจะยังไม่ดี

- เน้นหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ (ค้าปลีก& นิคมฯ) และกลุ่มธุรกิจที่จะเข้าสู่ช่วง High season ใน 3Q19 (โรงพยาบาล & ส่งออกอาหาร)

- Top pick เดือน ส.ค. AMATA, BCH, CHG, CPALL, และ CPF

Fund flow อาจสะดุดในช่วงสั้น แต่ กลาง-ยาว จะยังไหลเข้าคาดหวังเฟดลดดอกเบี้ยอีก

         คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) มีมติ 8:2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ลงสู่ระดับ 2.25% ตามที่เราและตลาดคาดไว้ นับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปีหรือนับตั้งแต่เกิดวิกฤติ Hamburger Crisis นอกจากนี้เฟดยังประกาศยุติการปรับลดขนาดงบดุล (Balance sheet) ซึ่งเร็วขึ้น 2 เดือน จากเดิมกาหนดจะยุติโครงการดังกล่าวในเดือน ก.ย.

         อย่างไรก็ตามเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมในครั้งถัดๆไป พร้อมกับระบุว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของซีรีย์ในการลดดอกเบี้ยเหมือนกับที่ตลาดคาด แต่เป็นการลดดอกเบี้ยสาหรับป้องกันความเสี่ยงในช่วงขาลงเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ และเป็นการกระตุ้นเงินเฟ้อเท่านั้น

         ส่วนการตอบรับของตลาดเป็นไปในทางลบเนื่องจากผิดหวังที่เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการลดอัตราดอกเบี้ย โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงกว่า 300 จุด หรือ -1.2% ขณะที่ ดัชนี VIX Index ซึ่งใช้วัดความกลัวของตลาดปรับตัวขึ้นจากระดับ 12 จุดเป็น 16.12 จุด เช่นเดียวกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับ 6 สกุลหลัก (Dollar Index) แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 98.8 จาก 98 ในวันก่อนหน้า ขณะที่การคาดการณ์ของตลาดต่อโอกาสในการลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปเริ่มลดลง โดย CME Group คาดความน่าจะเป็นที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในการประชุมในช่วงวันที่ 17-18 ก.ย.19 ต่าเพียง 51.9% เท่านั้น

         การวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบายการเงินต่อทิศทางการลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเรา ในช่วงสั้น SET Index น่าจะตอบรับในทางลบเช่นเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์โดยความไม่ชัดเจนต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยอาจจะกดดันให้ Fund Flow ต่างชาติชะลอการไหลเข้ากดดันให้ดัชนีปรับตัวลง อย่างไรก็ตามในระยะกลางถึงยาวเรายังเชื่อว่า Fund Flow ต่างชาติจะยังไหลเข้าตลาดหุ้นเกิดใหม่รวมถึงตลาดหุ้นไทยเพิ่มมากขึ้นเพราะมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังไม่ฟื้นตัว ตัวเลขดัชนีชี้นาต่างๆ ยังอ่อนแอ ทาให้ท้ายที่สุดตลาดจะกลับมาคาดหวังทางบวกว่าเฟดจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.ย.หรือ ต.ค. ซึ่งจะหนุน SET Index กลับมาฟื้นตัวได้ ดังนั้นปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การประกาศตัวเลขเศรษฐกิของสหรัฐต่อจากนี้จะออกมาในทิศทางใด โดยเฉพาะ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งในตลาดแรงงาน ค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อ รวมไปถึงตัวเลขอัตราเงินเฟ้ออื่นๆ อาทิ CPI และ ดัชนีการใช้จ่ายของผู้บริโภค (PCE Index)

ยังมีความเสี่ยงจาก Sell on fact หลังประกาศงบ 2Q19 :

           นอกจากปัจจัยทางด้านนโยบายดอกเบี้ยของเฟดตลาดหุ้นบ้านเรายังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่จะสร้างความผันผวนให้กับตลาดได้เช่นกัน นั่นคือ การขายปรับพอร์ตและ Sell on fact หลังจากที่บริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศงบ 2Q19 จากการรวบรวมข้อมูลการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หลังจากผ่านช่วงการประกาศงบ 1Q19 ในช่วงวันที่ 17 พ.ค.19 เป็นต้นมาพบว่า SET Index รวมถึงหุ้นในหลาย Sector ต่างปรับขึ้นอย่างร้อนแรง SET Index ปรับขึ้น 6.5% ขณะที่หุ้นในกลุ่ม SET100 มากกว่า 50 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด โดยมี 3 ปัจจัยหนุน คือ 1)คาดหวังเฟดลดดอกเบี้ย 2)จัดตั้งรัฐบาลใหม่ และ 3)เข้าซื้อสะสมเพื่อเก็งกาไรงบ 2Q19โดยดูผลตอบแทนของ SET Index และ Sector ต่างๆได้ในรูปภาพด้านล่าง

            อย่างไรก็ตามจากการรวบรวมข้อมูลคาดการณ์ผลประกอบการ 2Q19 ใน Bloomberg Consensus กับพบว่าแนวโน้มผลกาไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่(ประมาณ 79% ของ Market Cap ของตลาด) คาดว่าจะมีกาไรสุทธิลดลง 12%qoq และ 11.6%yoy บ่งชี้ได้ว่าราคาหุ้นที่ปรับขึ้นในช่วงก่อนหน้าไม่ได้สนับสนุนด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งเป็นการเก็งกาไรตาม Sentiment ของตลาดเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้สูงที่เราจะเห็นการขายปรับพอร์ตหรือ Sell on fact เกิดขึ้นหลังการประกาศงบ (วันสุดท้ายของการส่งงบ 2Q19 คือวันที่ 15 ส.ค.) โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางถึงเล็กที่งบไม่ได้ดีอย่างที่ตลาดคาดไว้

             (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากไฟล์แนบ)