หอการค้าไทยค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท

หอการค้าไทยค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท

โพล์สำรวจความเห็นสมาชิกหอการค้าไทย ไม่เห็นด้วยนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทกระทบต้นทุนการผลิตพุ่ง23-30 % เสนอรัฐใช้กลไกไตรภาคีพิจารณาอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมและกำหนดใช้อัตราค่าจ้างแรกเข้าแทนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าไทย และประธานยุทธศาสตร์แรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงานเปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้สำรวจความคิดเห็นต่อการที่รัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตรา 400-425 บาท โดยสำรวจสมาชิกจากหอการค้า 76 จังหวัด หอการค้าต่างประเทศ 35 ประเทศ สมาคมการค้า 138 สมาคม รวมทั้งสมาชิกผู้ประกอบการทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ รวม 1355 กลุ่มตัวอย่าง

ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 93.9 กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าแรงดังกล่าวเพราะจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น

หอการค้าไทย จึงเสนอต่อรัฐบาล โดยการปรับค่าแรงขั้นต่ำต้องยึดกลไกการพิจารณาคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างจังหวัดและคณะกรรมการค่าจ้างหนือไตรภาคี การพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน และขอให้มีการกำหนดใช้อัตราค่าจ้างแรกเข้าแทนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และหากจะปรับจริงต้องดูความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ทั้งนี้หากมีการปรับค่าแรงของรัฐบาลถือว่าเป็นการปรับแบบก้าวกระโดด หรือสูงขึ้น25-30 %ซึ่งทำให้ค่าจ้างของไทยสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญในอาเซียน เช่น มาเลเซีย ที่ขึ้นเพียง10 %ส่วนเวียดนามขึ้นเพียง 5% อีกทั้งการปรับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจาก วันละ 325 เป็น 400 บาท หรือขึ้นวันละ 75 บาท จะทำให้ภาคเอกชนต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มเป็น2,100 ล้านบาทต่อเดือนหรือปีละ 21,000 สำหรับแรงงานขั้นต่ำ 10 ล้านบาทคน นอกจากนี้การปรับค่าแรงในอัตราดังกล่าวยังส่งปลกระทบต่อการปรับโครงสร้างค่าแรงทั้งระบบ เงินเดือนทั้งระบบด้วย