เครือข่ายเพื่อตะวันออกฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ คัดค้านการจัดทำผังเมือง 'อีอีซี'

เครือข่ายเพื่อตะวันออกฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ คัดค้านการจัดทำผังเมือง 'อีอีซี'

เครือข่ายเพื่อตะวันออก เปลี่ยนตะวันออก ยื่นหนังสือถึงนายกฯ คัดค้านการจัดทำผังเมือง "อีอีซี" ระบุขอให้เริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่ต้น โดยให้เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ขณะที่ "สำนักงานอีอีซี" ยันกระบวนการผังเมืองทำตามหลักวิชาการ มีการประชาพิจารณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 23 ก.ค. เวลา 13.00 น.ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ บริเวณสำนักงานกพ.(เดิม) กลุ่มภาคประชาชน เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก จำนวนประมาณ 50 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตรวจสอบกาจัดทำผังเมืองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และสั่งให้ดำเนินการจัดทำใหม่ตั้งแต่ต้น นายกัญจน์ ทัตติยกุล แกนนำเครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก กล่าวว่าการจัดทำผังเมืองอีอีซีมีปัญหามากและขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ระงับและทบทวนผังเมือที่จะมีการประกาศออกมาและเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นโดยให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ

10262236355501

ทั้งนี้ หนังสือที่ยื่นให้นายกรัฐมนตรี มีสาระสำคัญว่าการจัดทำผังเมืองอีอีซีที่ผ่านมาถือเป็นการละเมิดสิทธิชุมชนโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 โดยการออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 472560 ให้มีการจัดทำผังเมืองใหม่ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิษภาคตะวันออก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและไม่เคารพต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้ดำเนินการจัดทำผังเมืองรวมมาก่อนหน้านี้ เป็นการทำลายหลักประกันด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิศษภาคตะวันออกก็เดินหน้าจัดทำผังเมืองอีอีซีอย่างต่อเนื่อง และมีการกำหนดเวลาให้แล้วเสร็จภายใน1 ปี ทั้งที่เป็นการทำผังเมืองรวมถึง 3 จังหวัดและเป็นการดำเนินการครั้งแรกของประเทศไทย และไม่เป็นไปตามหลักการของผังเมืองดังต่อไปนี้

10262257819252

1. การจัดทำผังเมืองของสำนักงานอีอีซี ป็นลักษณะการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นรายโครงการที่กำหนดมาแล้วตามนโยบายพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของรัฐไม่ได้จัดทำโดยการศึกษาศักยภาพของพื้นที่ตามหลักการผังเมือง

2. มีการเปลี่ยนสีผังเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มคนบางกลุ่มเช่นการเปลี่ยนสีเขียวชนบทเกษตรกรรมอันเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สบูณ์แหล่งความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญของภาคตะวันออกและทั้งประเทศ ไปเป็นสีม่วงอุตสาหกรรมสำหรับนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเป็นการทำลายวิถีชีวิต

3. การใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 47/2560 และออกกฎหมายพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นการใช้กฎหมายเร่งรัดการจัดทำผังเมืองเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงการมีส่วนร่วมของ ประชาชนอย่างแท้จรง ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการจัดทำผังเมือง ภาคประชาชนดังมีรายนามท้ายหนังสืฉบับนี้เห็นว่าการดำเนินการของรัฐที่ไปกระทบสิทธิของชุมชนที่ได้รับอยู่เดิมที่เกี่ยวกับผังเมืองต้องมีเหตุผลอันสมควรอย่างยิ่งและต้องมีการรับฟังควมคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องตามหลักวิชาการ ที่ครบถ้วนรอบค้นและเป็นธรรมจึงขอให้ท่านตรวจสอบการจัดทำผังเมืองอีอีซีและสั่งให้ดำเนินการจัดทำใหม่ตั้งแต่ต้น โดยให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Meaningful Public Participation)

10262257703317

ด้านน.ส.ทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการสายงานพัฒนาพื้นที่และชุมชน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ชี้แจงผ่านรายการวิทยุของศูนย์ข่าวพัฒนาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชาติ ถึงการจัดทำผังเมืองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่าการจัดทำผังเมืองเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อีอีซี กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองทั่วประเทศ และเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้มีการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดังนั้นการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของอีอีซีได้นำเอาหลักวิชาการมาใช้ในการจัดทำผังโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ในชุมชน สุขภาวะของประชาชน สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของ พ.ร.บ. การพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก และจะเป็นผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ครอบคลุมหลายมิติ เป็นผังแรกที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในพื้นที่เพื่อต้องการให้เป็นต้นแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองที่จะมีการออกมาใหม่ในอนาคต

นอกจากนั้น พ.ร.บ.การพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก 2561 ให้ความสำคัญกับประชาชนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินมีการกันพื้นที่ป่าไม้ เพื่อสงวนและอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร โดยกำหนดพื้นที่ผังเมืองห่างจากพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร ไม่ให้เป็นพื้นที่ตั้งโรงงาน และมีการกันพื้นที่สำหรับรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ ชายฝั่งทะเล ริมฝั่งแม่น้ำ มีการกันพื้นที่ห่างจากริมชายฝั่งตามสภาพพื้นที่ของแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่า 500 เมตร ห้ามตั้งโรงงาน รวมทั้งมีการกำหนดพื้นที่ตั้งโรงงานให้มีความเหมาะสม โดยนำพื้นที่ที่เหลือจากการกันพื้นที่ที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อให้มีการใช้พื้นที่ให้ตรงกับศักยภาพ

“พื้นที่ 78% ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งพื้นที่อนุรักษ์ ที่ผ่านมามีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนกว่า 40 ครั้ง และได้ให้ความสำคัญการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ภาคประชาชน หน่วยงานในพื้นที่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน 2 ปีที่ผ่านมาได้มีการรับฟังข้อคิดเห็น และได้มีการนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข แผนผังใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างครบถ้วนและมีการตอบข้อสงสัยของกลุ่มเครือข่ายเพื่อนตะวันออกวาระเปลี่ยนตะวันออกทั้ง 8 ข้อแล้ว” น.ส.ทัศนีย์กล่าว