KBANK - ซื้อสะสม

KBANK - ซื้อสะสม

ผลประกอบการ 2Q62: เน้นการจัดการหนี้เสียเพื่อเดินหน้าธุรกิจต่อ

Event

ประชุมนักวิเคราะห์หลังประกาศงบ 2Q62

lmpact

กำไร 2Q62 เป็นไปตามคาด โดยรายได้ค่าธรรมเนียมเริ่มนิ่ง

กำไรสุทธิของ KBANK ใน 2Q62 อยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท ลดลง 1% QoQ และ 9% YoY ซึ่งเป็นตามประมาณการของเราแต่ต่ำกว่า consensus 5% ในขณะที่กำไรสุทธิใน 1H62 อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 50% ของประมาณการกำไรปีนี้ของเรา โดยในไส้ในของผลประกอบการงวดนี้ มีการ write-off หนี้เสียก้อนโต, ธุรกิจประกันฟื้นตัวขึ้น และ รายได้ค่าธรรมเนียมลดลงน้อยกว่าที่เราคาดไว้

เร่งตัดหนี้สูญ

KBANK write-off หนี้เสียไป 9.2 พันล้านบาทใน 2Q62 และ 1.25 หมื่นล้านบาทใน 1H62 (จาก 1.1 หมื่นล้านบาทในปี 2561) โดยในปัจจุบัน กลยุทธ์การแก้หนี้เสียของธนาคารได้เปลี่ยนไปจากการบริหารจัดการหนี้เสียเอง มาเป็นการใช้ทางเลือกที่หลากหลาย อย่างเช่น การตัดหนี้สูญ, การขาย NPL, และการตั้งทีมติดตามหนี้ขึ้นมาใหม่เพื่อจัดการกับหนี้เสีย ทั้งนี้ แม้ว่าธนาคารจะจัดการปัญหาหนี้เสียแบบเชิงรุกมากขึ้น แต่ก็จะไม่ทำให้ credit cost เพิ่มจนสูงกว่า 165bps

…เพื่อล้างงบดุล และเตรียมเข้าสู่วัฏจักรธุรกิจรอบใหม่

เนื่องจาก gross NPL ลดลงเพียงเล็กน้อยจากการ write-off หนี้เสียก้อนโตใน 2Q62 ตีความได้สองอย่าง ได้แก่ 1.) มี NPL ใหม่เพิ่มเข้ามาในบัญชี 2.) ธนาคารเร่งเคลีย NPL ออกไปจากงบดุลโดยใช้สำรองทั่วไปที่มีอยู่แล้ว เรามองว่า KBANK กำลังใช้สำรองส่วนเกินที่มีอยู่เพื่อจัดการ NPL ใหม่ก้อนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอเพื่อนำหนี้เสียออกไปจากงบดุลของธนาคารซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน การขจัด NPL ออกไปด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผลโดยไม่เกิดผลขาดทุนก้อนใหญ่ก็เป็นผลดีกับธนาคารและผู้ถือหุ้นอยู่ดี

Valuation and action

เนื่องจากมาตรฐานบัญชีใหม่ไม่อนุญาตให้ธนาคารคงสำรองทั่วไปก้อนโตเอาไว้ในงบดุล ในขณะที่ KBANK มีสำรองส่วนเกินอยู่มากถึง 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้สัดส่วน loan loss reserve/require reserve ratio (LLR/RLLR) สูงสุดในกลุ่มธนาคารใหญ่ที่ประมาณ 300% (ของ BBL อยู่ที่ 250%, SCB อยู่ที่ 168%, KTB อยู่ที่ 185%) ซึ่งสำรองส่วนเกินนี้บางส่วน จะถูกนำไปบันทึกเป็นสำรองเฉพาะเพื่อรองรับหนี้เสียในอนาคต และที่เหลือจะถูกเกลี่ยและนำไปบันทึกเป็นอย่างอื่น ซึ่งอาจจะทำให้มีรายได้พิเศษขึ้นมา ทั้งนี้ สำรองก้อนโตที่มีอยู่ในมือจะทำให้ธนาคารมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการจัดการปัญหาหนี้เสียในอนาคต ดังนั้น เราจึงมองว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงจะเป็นโอกาสให้เข้าซื้อสะสม โดยเราให้ราคาเป้าหมายที่ 215 บาท

Risks

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น, GDP โต <3% ในปี 2562 ทำให้ NPL พลิกมาเป็ นขาขึ้น และมีการตั้งสำรองหนี้เสียสูงเกินคาด