'ศุลกากร'จับมือฝ่ายมั่นคง เข้มด่านชายแดนกวดขันลักลอบนำเข้าสินค้า

'ศุลกากร'จับมือฝ่ายมั่นคง เข้มด่านชายแดนกวดขันลักลอบนำเข้าสินค้า

กรมศุลฯ ประชุมร่วมทุกหน่วยงานแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตร พร้อมส่งนายด่านคุมเข้มทุกพื้นที่รอยต่อชายแดน

กรมศุลกากรบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายความมั่นคงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย

ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย โดยให้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายความมั่นคงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย โดยให้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายความมั่นคงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดำเนินการกำหนดมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบนำเข้า เพิ่มความเข้มการตรวจค้นของด่านตรวจความมั่นคง จัดชุดการเข้าตรวจตามช่องทางผิดกฎหมายในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีการลักลอบขนย้ายพืชผลทางการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน

กรมศุลกากร นำโดยนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร พร้อมคณะผู้บริหารกรมศุลกากร นายชูชัย อุดมโภชน์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์ทางภาษี และนายกิตติ สุทธิสัมพันธ์ รองอธิบดี กรมศุลกากร ประชุมร่วมกับฝ่ายความมั่นคงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำโดย พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 บูรณาการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทยตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยลงพื้นที่ ณ ด่านศุลกากรเบตง และด่านศุลกากรสุไหง-โกลก เพื่อมอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายรัฐมนตรี ในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ 1) นมดิบและนมพร้อมดื่ม 2) นมผงขาดมันเนย 3) มันฝรั่งสดหรือแช่เย็น 4)หอมหัวใหญ่5)กระเทียม 6)มะพร้าวและมะพร้าวฝอย 7) ลำไยแห้ง 8)เมล็ดกาแฟ 9) ชา(ชาใบ ชาผง) 10) พริกไทย 11)ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 12) ข้าว 13) เมล็ดถั่วเหลือง 14) เนื้อมะพร้าวแห้ง 15) เมล็ดพันธุ์ผลิตภัณฑ์กาแฟ 16) หอมหัวใหญ่ 17) น้ำมันถั่วเหลือง 18) น้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม 19) น้ำมันมะพร้าว 20) น้ำตาลทราย 21) กากถั่วเหลือง 22) ไหมดิบ (ยังไม่เข้าเกลียว) และ 23) ใบยาสูบ ทั้งนี้สินค้าเกษตรทั้ง 23 รายการนี้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีความเกี่ยวข้องกับเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้การนำเข้าเป็นไปด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อนึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) และได้ผูกพันสินค้าเกษตร 23 รายการนี้ไว้ภายใต้กรอบความตกลงการเกษตร โดยมีหลักการต้องยกเลิกมาตรการห้ามหรือจำกัดการนำเข้าที่มิใช่ภาษี และกำหนดเป็นมาตรการโควตาภาษี (Tariff Rate Quota : TRQ) แทนสินค้าที่ผูกพันโควตาภาษี สินค้าเกษตร 23 รายการ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ 22 รายการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง 1 รายการ คือ ใบยาสูบ

นอกจากนี้ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร ยังคงเน้นย้ำและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรและน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ภาคใต้จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย โดยสั่งการและกำชับให้ด่านศุลกากรทั่วประเทศ โดยเฉพาะตามแนวชายแดนเข้มงวด ป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรและน้ำมันเถื่อนรวมถึงสิ่งผิดกฎหมายและยาเสพติดที่มีการลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร ในรอบปีงบประมาณ 2562 กรมศุลกากรได้ทำการปราบปรามและจับกุมสินค้าเกษตร จำนวน 470 คดี มูลค่า 10,482,629 บาท และจับกุมการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง 987 คดี มูลค่า 14,320,631 บาท