ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 1 - 5 ก.ค. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 24 - 28 มิ.ย. 62

ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 1 - 5 ก.ค. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 24 - 28 มิ.ย. 62

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังความตึงเครียดสหรัฐฯ - อิหร่านยืดเยื้อ ขณะที่เจรจาการค้าสหรัฐฯ - จีน มีทิศทางบวก

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 56 – 61 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 62 - 67 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (1 - 5 ก.ค. 62)

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านยังคงยืดเยื้อ และส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางที่อาจปรับตัวลดลง ประกอบกับ การประชุมของกลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตร (OPEC+) ที่คาดว่าจะมีการขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป ในขณะที่ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เห็นพ้องให้เริ่มการหารือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ใหม่อีกครั้งบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและการเคารพซึ่งกันและกัน ในการประชุมนอกรอบ G20 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลง

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  • ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม โดยมุ่งเป้าไปที่นายอยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านและผู้ใกล้ชิด เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการให้ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความไม่สงบแถบบริเวณช่องแคบฮอร์มุซในช่วงที่ผ่านมา โดยภายใต้มาตรการใหม่นี้ จะส่งผลให้ผู้นำสูงสุดของอิหร่านและผู้ใกล้ชิดไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับสหรัฐฯ ได้ และเป็นการตัดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพย์สินของผู้นำอิหร่านในสหรัฐฯ ทั้งนี้ความไม่สงบแถบบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ สร้างความกังวลต่อตลาด เนื่องจากอาจส่งผลให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบจากภูมิภาคตะวันออกกลางปรับตัวลดลง
  • หลายฝ่ายคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตร (OPEC+) จะขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตไปจนกระทั่งสิ้นปี 2562 เพื่อรักษาสมดุลตลาด หลังข้อตกลงก่อนหน้านี้จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย. 62 ซึ่งผลสรุปจะเกิดขึ้นในการประชุม ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 1-2 ก.ค. 62
  • ตลาดจับตาความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีแนวโน้มดีขึ้น หลังผลการหารือนอกรอบของผู้นำทั้งสองประเทศในระหว่างการประชุมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลกหรือ G20 ในวันที่ 28-29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ณ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินไปได้ด้วยดี โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ เห็นพ้องให้เริ่มการหารือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ใหม่อีกครั้งบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและการเคารพซึ่งกันและกัน หากสงครามการค้าคลี่คลาย จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นและความต้องการใช้น้ำมันโลกสูงขึ้น
  • ปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 21 มิ.ย. 62 ปรับลดลง 12.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลงเพียง 2.5 ล้านบาร์เรล ไปแตะที่ระดับ6 ล้านบาร์เรล โดยสาเหตุหลักมาจากปริมาณการส่งออกที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 1.0 และ 2.4 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ ขณะเดียวกัน กำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยกำลังการผลิตปรับตัวลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ระดับ 12.10 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 62 ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 62 ดัชนีภาคการผลิตจีนเดือน มิ.ย. 62 และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 62

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 - 28 มิ.ย. 62)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 1.04

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (1 - 5 ก.ค. 62)

 

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านยังคงยืดเยื้อ และส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางที่อาจปรับตัวลดลง ประกอบกับ การประชุมของกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร (OPEC+) ที่คาดว่าจะมีการขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป ในขณะที่ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เห็นพ้องให้เริ่มการหารือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ใหม่อีกครั้งบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและการเคารพซึ่งกันและกัน ในการประชุมนอกรอบ G20 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลง

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  • ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม โดยมุ่งเป้าไปที่นายอยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านและผู้ใกล้ชิด เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการให้ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความไม่สงบแถบบริเวณช่องแคบฮอร์มุซในช่วงที่ผ่านมา โดยภายใต้มาตรการใหม่นี้ จะส่งผลให้ผู้นำสูงสุดของอิหร่านและผู้ใกล้ชิดไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับสหรัฐฯ ได้ และเป็นการตัดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพย์สินของผู้นำอิหร่านในสหรัฐฯ ทั้งนี้ความไม่สงบแถบบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ สร้างความกังวลต่อตลาด เนื่องจากอาจส่งผลให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบจากภูมิภาคตะวันออกกลางปรับตัวลดลง
  • หลายฝ่ายคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร (OPEC+) จะขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตไปจนกระทั่งสิ้นปี 2562 เพื่อรักษาสมดุลตลาด หลังข้อตกลงก่อนหน้านี้จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย. 62 ซึ่งผลสรุปจะเกิดขึ้นในการประชุม ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 1-2 ก.ค. 62
  • ตลาดจับตาความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีแนวโน้มดีขึ้น หลังผลการหารือนอกรอบของผู้นำทั้งสองประเทศในระหว่างการประชุมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลกหรือ G20 ในวันที่ 28-29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ณ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินไปได้ด้วยดี โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ เห็นพ้องให้เริ่มการหารือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ใหม่อีกครั้งบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและการเคารพซึ่งกันและกัน หากสงครามการค้าคลี่คลาย จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นและความต้องการใช้น้ำมันโลกสูงขึ้น
  • ปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 21 มิ.ย. 62 ปรับลดลง 12.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลงเพียง 2.5 ล้านบาร์เรล ไปแตะที่ระดับ6 ล้านบาร์เรล โดยสาเหตุหลักมาจากปริมาณการส่งออกที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 1.0 และ 2.4 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ ขณะเดียวกัน กำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยกำลังการผลิตปรับตัวลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ระดับ 12.10 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 62 ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 62 ดัชนีภาคการผลิตจีนเดือน มิ.ย. 62 และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 62

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 - 28 มิ.ย. 62)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 1.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 58.47 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 0.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 64.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 64.77 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากความกังวลต่อความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลังสหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่กับอิหร่าน ซึ่งการคว่ำบาตรครั้งนี้มีเป้าหมายที่ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน เพื่อจะลดความคล่องตัวของสถานะการเงินของผู้นำอิหร่าน และป้องกันไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับสินทรัพย์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ รวมถึงประเทศที่ทำธุรกิจร่วมกับอิหร่านจะถูกคว่ำบาตรเช่นกัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 21 มิ.ย. 62 ปรับลดลงสูงถึง 12.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และถือเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 59