6 บริษัทสื่อสาร ร้องนายกฯ เบรกท่อร้อยสาย2หมื่นล้าน

6 บริษัทสื่อสาร ร้องนายกฯ เบรกท่อร้อยสาย2หมื่นล้าน

ตัวแทน 6 บริษัทโทรคมนาคม ยื่นหนังสือเรียกร้อง "นายกฯ" เบรกโครงการท่อร้อยสายสื่อสาร กทม. 2 หมื่นล้าน เปิดทางเอกชนทุกรายใช้โครงข่ายได้อย่างเท่าเทียม

“กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม” ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามทั้งหมด 7 รายจาก กสทช. ซึ่งมีประชาชนผู้ใช้บริการรวมกันมากกว่า 70 ล้านราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จากัด (บริษัทลูกของเอไอเอส) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จากัด(บริษัทลูกดีแทค) บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จากัด บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จากัด (มหาชน) บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จากัด และบริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอให้พิจารณาให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายมีโอกาสเข้าถึงบริการท่อร้อยสายสื่อสารของหน่วยงานของรัฐโดยตรง

3_43

หนังสือที่ “กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม” ขอให้นายกฯสั่งการให้ทบทวนมติหรือคำสั่งหรือการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยับยั้งการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ หารือกับประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและให้คณะกรรมการดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทาข้อเสนอประกอบความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อนาเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนแนวทางการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของแต่ละวิธีการในแต่ละเส้นทาง เพื่อมิให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายเกินสมควรแก่ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม

ในกรณีที่จำเป็นที่จะต้องปลดสายสื่อสารเพื่อนำลงใต้ดินตามท่อร้อยสายก็ให้จัดทำเฉพาะเส้นทางเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและดำเนินการในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่จำเป็นและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการโทรคมนาคม
นอกจากนี้ยังเสนอให้ผู้ขอใช้ท่อร้อยสายทุกรายสามารถเข้าถึงบริการท่อร้อยสายของหน่วยงานของรัฐได้โดยตรงโดยเท่าเทียมกันโดยไม่ต้องผ่านเอกชนรายใด และในการให้บริการท่อร้อยสาย ให้หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของประกาศกสทช. เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้ การลงทุน และการสร้างท่อร้อยสายสื่อสาร หรือกับโครงสร้างพื้นฐานหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้บริการโทรคมนาคม โดยเคร่งครัด

“กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม” ยังขอให้นายกฯ สั่งการให้ชะลอการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ก่อนจนกว่าการดำเนินการในเรื่องต่างๆจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างบูรณาการเป็นเอกภาพในองค์รวม เพื่อประโยชน์ของประชาชน

“เรื่องนี้เป็นเรื่องด่วนเพราะบริษัทกรุงเทพธนาคมได้คัดเลือกเอกชนให้ดeเนินโครงการแล้วและอยู่ในระหว่างการลงนามสัญญาในเร็วๆนี้ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชน กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม จึงใคร่ขอความกรุณาจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาเรื่องนี้เป็นการด่วน และรายงานข่าว ระบุว่าจากเดิม จะมายื่นหนังสือนายกฯ จำนวน 7 ราย แต่ ซิมโฟนี่ ถอนตัวนาทีสุดท้ายเพราะต้องเข้าบอร์ดก่อน เนื่องจากบริษัทนี้มี มาเลเซีย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

1_55