background-default

วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม 2567

translatetranslate

'ช่อ' โพสต์ 'ปฏิรูปสื่อแบบประชารัฐ' คือรัฐปกป้องประชาชน หรือปิดหูปิดตาปชช.?

'ช่อ' โพสต์ 'ปฏิรูปสื่อแบบประชารัฐ' คือรัฐปกป้องประชาชน หรือปิดหูปิดตาปชช.?

"ช่อ" โพสต์ ในฐานะสื่อมวลชนเก่า "ปฏิรูปสื่อแบบประชารัฐ" คือรัฐปกป้องประชาชน หรือปิดหูปิดตาปชช.?

นางสาวพรรณิการ์ สาริช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคใหม่ โพสต์สงสัย ปฏิรูปสื่อแบบประชารัฐ คือรัฐปกป้องประชาชน หรือปิดหูปิดตาประชาชน? ย้ำอำนาจสูงสุดในประเทศนี้ยังไม่เป็นของประชาชน แต่เราจะสู้ต่อ จนกว่าจะถึงวันนั้น

เมื่อฝ่ายค้านได้มีโอกาสอภิปรายแผนปฏิรูปประเทศ ช่อในฐานะสื่อมวลชนเก่า จึงได้ใช้โอกาสอภิปรายแผนปฏิรูปสื่อ ที่เรียกแบบคลุมเครือว่า ใช้แนวทาง "ประชารัฐ" หลักการมาสวยหรูว่าให้สื่อกำกับดูแลกันเอง แต่กลับให้ปลัดสำนักนายกฯ และเลขาธิการกสทช. นั่งในกรรมการสภาวิชาชีพสื่อที่มีอำนาจล้นฟ้า ชี้เป็นชี้ตายตัดสินชะตาสื่อได้ทั้งประเทศ

เสรีภาพสื่อคือสิ่งที่ต้องได้รับการพิทักษ์ตามรัฐธรรมนูญและตามมโนสำนึกของผู้เชิดชูประชาธิปไตย ไม่ใช่เพราะสื่อคือฐานันดรที่ 4 แต่เพราะเสรีภาพสื่อหมายถึงเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน คือเสรีภาพในการแสดงความเห็น การพูด การแสดงออก อันเป็นหัวใจสำคัญของประชาธิปไตย

ยุคคสช. เราเจอ 5 ปีแห่งการกดขี่ริดรอนเสรีภาพสื่อ ปิดหูปิดตาประชาชน แม้ตอนนี้รัฐบาลประยุทธ์จะอยู่ต่ออีกสมัย แต่เรามีผู้แทนราษฎรแล้ว ผู้แทนของประชาชนต้องทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน เราจะไม่ยอมให้การปฏิรูปสื่อโดยให้รัฐคุมสื่อเบ็ดเสร็จเกิดขึ้นในยุคที่สภามาจากการเลือกตั้ง

อนาคตใหม่ทำเต็มหน้าที่และความสามารถในฐานะฝ่ายค้าน ตรวจสอบและอภิปรายชี้ให้ประชาชนเห็นถึงความบกพร่องของแผนปฏิรูปที่เกิดจากน้ำมือคสช. แต่แน่นอนว่าแผนนี้จะยังถูกใช้ต่อไป ตามกลไกที่กำหนดไว้หมดแล้วโดยผู้มีอำนาจ

อำนาจสูงสุดในประเทศนี้ยังไม่เป็นของประชาชน แต่เราจะสู้ต่อ จนกว่าจะถึงวันนั้น

'ช่อ' โพสต์ 'ปฏิรูปสื่อแบบประชารัฐ' คือรัฐปกป้องประชาชน หรือปิดหูปิดตาปชช.?