iLaw-23 เครือข่าย ปชช.พร้อมเดินไปยื่นหมื่นชื่อเสนอยกเลิก 35 คำสั่ง คสช.

iLaw-23 เครือข่าย ปชช.พร้อมเดินไปยื่นหมื่นชื่อเสนอยกเลิก 35 คำสั่ง คสช.

iLaw จัดกิจกรรม "วาระแรกประชาชนปักหมุด ปลดอาวุธ คสช." ทวงเสรีภาพคนไทย รวบรวมรายชื่อปชช. เสนอยกเลิกคำสั่ง คสช. รวม 35 ฉบับ กลุ่ม 7 พรรคฝ่ายค้านร่วมด้วย สะท้อนอำนาจควบคุมยังมี แม้เลือกตั้ง-มี รธน. 

ที่ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารเอนกประสงค์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อเวลา 13.00 น.  ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ หรือ iLaw จัดกิจกกรม "วาระแรกประชาชนปักหมุด "ปลดอาวุธ คสช." เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชน ร่วมเสนอการยกเลิกคำสั่ง คสช. รวม 35 ฉบับ โดยช่วงแรก มีตัวแทนองค์กรและเครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ รวม 23 เครือข่ายมาร่วมพูดคุยถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากประกาศ-คำสั่ง คสช. ที่กำลังดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนเสนอให้ยกเลิก เช่น  "เครือข่ายแรงงาน" ระบุว่า ปัญหาอันดับแรกตั้งแต่ยึดอำนาจ ก็เรียกแกนนำกลุ่มแรงงานไปปรับทัศนคติ ห่วงเราออกมาแสดงพลังรวมตัวเพราะเราเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นปัญหาที่เราได้รับผลกระทบทำให้ออกมาพูดคุยแรงานไม่ได้ขยับตัวไม่ได้เลย แล้วยังมี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ ทำให้เราไม่สามารถออกมาสื่อปัญหาจากแรงงานอุตสาหกรรมในโรงงานได้ แถมหากสื่อสารก็ยังมี พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ อีก ที่จริงถ้าเราไม่มีปัญหาเราก็ไม่ออกมาชุมนุม ดังน้้นที่ต้องมาร่วมเข้าชื่อเพราะเราไม่เอาเผด็จการ เราเป็นประชาธิปไตยที่ต้องรับฟังเสียงต่างด้วย ถ้าเป็นรัฐบาลก็ต้องรับฟังเสียงทุกด้าน ตอนนี้จะพึ่งสภา 500 ก็ไม่ได้ด้วย โดย รมว.แรงงาน ไม่มีผู้นำใส่เกียร์ว่าง เราต้องร่วมกันสู้ อย่างต่างประเทศออกกฎหมายกันไม่ชอบเขายังออกมากันเป็นล้าน ดังนั้นของเราต้องช่วยกันที่ภาคประชาชน พรรคการเมือง ฝ่ายค้าน  ก้าวแรกของเราพรุ่งนี้ (24 มิ.ย.) ที่จะไปเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ

1561291724375

ด้าน "ผู้แทนคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชัย" (กป.อพช.) กล่าวว่า กฎหมายกว่า 500 ฉบับที่ออกมาช่วง 5 ปี ไม่ได้ยึดโยงภาคประชาชนเลย ต้องประนามพวกไม่ยึดโยงประชาชน และอย่างโครงการ we walk เป็นกิจกรรมจะไปคุยกับเพื่อนพี่น้องประชาชนกลับถูกสกัดจากกฎหมายต่างๆ  ที่ผ่านมาเมื่อเขาฉีกกฎหมายแล้วมาออกใหม่แต่ไม่ยึดโยงภาคประชาชนทำได้อย่างไร ดังนั้นอนาคตเราต้องปรับบทบาทเราต้องเชื่อมโยงกับการเมืองเข้มข้นขึ้น เช่น การไปทำงานร่วมฝ่ายค้านเพราะเราหมดหวังกับฝ่ายรัฐบาลแล้ว แต่ฝ่ายค้านต้องไม่ลอยตัวเพราะเราไม่ได้หลับหูหลับตาสนับสนุน เรายังต้องตรวจสอบฝ่ายค้านได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นฝ่ายการเมืองจะไม่ใช่ฐานันดรศักดิ์ที่แตะต้องไม่ได้ เราต้องไม่รับคำสั่งที่ไม่ยึดโยงประชาชน. และเลิกทำให้คน เช่น ส.ว.500 คนที่กระบวนถูกคัดเลือกมาจาก คสช.เลือกมามีที่ยืนและต้องไม่ให้เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกกฎหมาย ซึ่งความเท่าเทียมกันของ 1 คน 1 เสียงยังไม่มี

ตัวแทนสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงสถานะความเป็นกฎหมายต่างๆ ว่า กรณีคณะปฏิวัติเข้ามาแล้วออกกฎหมาย ถ้าเป็นไปเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนยังถือว่าเป็นกฎหมายได้ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ควรต้องยุติไปโดยเร็ว ดังเราพยายามจะศึกษากลไกการออกกฎหมายเพื่อทำเป็นรายงาน และไปพูดคุยกับหน่วยงาน เพื่อส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนปัญหาต่างๆ จากภาคประชาชน ส่วน "เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง" กล่าวถึงเหตุผลที่ไม่สมควรมีปนะกาศ-คำสั่ง คสช.อีกต่อไปว่า มี 3 เหตุผลที่ต้องยกเลิกคำสั่ง คสช.

คือ 1.เพราะคำสั่งคสช.นั้น มีสภาพเหมือนว่า หากเกิดมีอะไรจะทุกสิ่งที่ขวางหน้า เทียบกับคนมีอาวุธต้องเรียนรู้ ต้องมีจริยธรรมในการใช้ แต่นอกจาก คสช.ไม่มีความรู้ ไม่ระวังแล้วยังไม่มีจริยธรรมด้วย 2.ทางการเมืองเราไม่สามารถร้องขอให้วินิจฉัยผู้มีอำนาจเป็นเหมือนผู้ไร้สมรรถภาพในทางความแพ่งได้ เราก็ต้องร้องขอคืนอำนาจ 3. จากหนังสือ Animal farm ที่ก่อนหน้านี้เคยพูดถึงนั้นจริงๆ เกี่ยวกับสายรัฐศาสตร์ คือเมื่อสัตว์ตัวใหญ่ดุร้าย อ้างมาควบคุมอำนาจแล้วออกบัญญัติ 7 ประการไม่ให้เกิดละเมิด แต่ที่สุดท้ายหมูตัวใหญ่ก็ลุแก่อำนาจกลับละเมิดทุกข้อบทบัญญัติเสียเอง

1561291717372

ทั้้งนี้ฝ่ายจัดกิจกรรม "วาระประชาชนปักหมุด ปลดอาวุธ คสช." ระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 24 มิ.ย.นี้ เวลา 09.30 น. จะรวมตัวเครือข่ายต่างๆ ที่หน้ากระทรวงการคลัง ถ.พระราม  6 แล้วเดินไปยื่นเอกสารลงรายชื่อ 10.000 ชื่อ ที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ถ.ประดิพัทธ์ พร้อมประกาศเราจะเดินไปอย่างสงบเรียบร้อย เพื่อนำรายชื่อกว่า 10,000 ชื่อไปยื่นในวันที่ครบรอบการเปลี่ยนแปลงทางปกครอง

ต่อมาช่วง 14.50 น. ตัวแทนกลุ่ม 7 พรรคการเมืองฝ่ายค้าน มาร่วมวาระประชาชนเพื่อแสดงจุดยืนของพรรคเกี่ยวกับการเสนอ ยกเลิก 35 คำสั่ง คสช. โดยมี น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ แกนนำคนอยากเลือกตั้ง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ผู้ดำเนินรายการ กล่าวถึงตัวอย่างคำสั่ง คสช. 35 ฉบับที่สร้างผลกระทบที่ต้องการเสนอยกเลิก เช่น คำสั่งที่ให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร ,  ทหารมีอำนาจค้นตัว , คำสั่งให้ควบคุมประชาชนจากการเรียกบุคคลรายงานตัวหรือให้ข้อมูล ได้ถึง 7 วัน , เสรีภาพสื่อมวลชน เช่นคำสั่ง ปิดสื่อออนไลน์ ให้ผู้บริการอินเตอร์ลบข้อความกระทบ คสช. ให้ กสทช.ตรวจสอบและมีอำนาจลงโทษสื่อนัั้นโดยสื่อโดนบ่อย เช่ย วอยซ์ทีวีโดนปิด 21 ครั้ง , คำสั่งห้ามสนับสนุนการชุมนุมที่กระทบสิทธิชุมชน - สิทธิมนุษยชน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับตัวแทนฝ่ายพรรคการเมืองนั้นก่อนหน้านี้ในการจัดกิจกรรม ทีมงานได้ติดต่อให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการแสดงความเห็นด้วย ซึ่งผู้จัดงานได้แจ้งว่าครั้งแรกนายอลงกรณ์ได้ตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม แต่ภายหลังได้แจ้งยกเลิกการเดินทางมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ สำหรับการแสดงจุดยืนของพรรคการเมืองที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้นั้น

"พล.ท.พงศกร รอดชมภู" พรรคอนาคตใหม่ (อ.น.ค.)  กล่าวแสดงจุดยืนของพรรคว่า เราพยายามหยุดยั้งการยึดอำนาจ และคำสั่ง คสช. โดยในการจะแก้กฎหมายหากมีประชาชนป็นส่วนหนึ่งในนั้น จะได้ไม่มีข้อเถียงว่าฝ่ายค้านเสนอ ส่วนจุดยืนของพรรคก็เหมือน iLaw อยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการยุติอำนาจ คสช.แต่ยังวางทุกอย่างไว้ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 20 ปี ยังสั่งควบคุมได้ทั้งระบบ ประชาชนยังคงถูกควบคุมหมดเต็มรูปแบบ แต่ยังมีข่าวดีคือเวลานี้ประชานาตื่นรู้แล้วว่าสิทธิเสรีภาพใครมาแย่งไปไม่ได้ เราไม่ยอม ดังน้้นภาคประชาชนต้องร่วมมือกับฝ่ายค้าน เราจะทำกฎหมายแล้วเดินไปด้วยกัน ตอนนี้ ม.44 ไปซ่อนรูปอยู่ในคำสั่ง กอ.รมน. และทุกส่วน

1561291728550

ด้าน "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" เลขาธิการพรรคประชาชาติ (ปช.) และประธาน....ตอนนี้พรรครัฐบาลมี 27 พรรค พรรคฝ่ายค้านเพียง 7 พรรค โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้มารับใช้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สนับสนุนประชาชน ระหว่างหาเสียงเลือกตั้งบางพรรคบอกไม่สนับสนุนอำนาจเผด็จการ แต่หลังจบการเลือกตั้งไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ไปพรรคกลุ่มนั้นกลับคำการหาเสียงเหมือนอกตัญญูต่อพ่อแม่ ขณะที่พรรคฝ่ายค้านมีอุดมการณ์เดียวกันจะให้ประเทศชาติไปสู่หลักการประชาธิปไตย นำประเทศสู่ความเจริญรุ่งเรือง โดยบทบาท ส.ส.ต้องไม่ใช่ฝ่ายค้านเพื่อเป็นรัฐบาล แต่จะทำเพื่อประโยชน์สุขประชาชน , ต้องร่วมกับสมาชิกและประชาชน นำประชาธิปไตยกลับคืนมาเพราะรัฐธรรมนูญเขียนมาเพื่อสืบทอดอำนาจ โดยที่ในรัฐธรรมนูญให้มีมาตรฐานจริยธรรม ก็คือความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์  แต่ เลือก ส.ว.แล้วให้ ส.ว.มาเลือกตัวเอง รัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ในเรื่องผลประโยชน์ขัด เมื่อจริยธรรมฝ่ายการเมืองรัฐบาลไม่มี เราอาจจะเป็นเหมือนฮ่องกงเร็วๆ นี้ (ประชาชนฮ่องกงนับล้านออกมาชุมนุมประท้วงการออกกฎหมายรัฐบาลเรื่่องส่งผู้ร้ายข้ามแดน)

ส่วน "นายวิรัตน์ วรศสิริน"  รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย (สร.) กล่าวว่า ตอนปฏิวัติคำสั่ง คสช.ทำเป็นขั้นเป็นตอน เอาเปรียบประชาชน ตอนเป็นรัฐบาลก็ทำให้ รัฐธรรมนูญแก้ยากโดยมีกระบวนการนำมาประชาชนมาให้เป็นเหมือนสแตมป์ตราประทัปให้ดูว่าเป็นประชาธิปไตย แต่เนื้อหารัฐธรรมนูญเป็นเผด็จการ ซึ่งจุดยืนพรรคเสรีรวมไทย ก็เหมือนกับ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน หลักการประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง ซึ่งจากความพยายามสืบทอดอำนาจโดยไม่คำนึงถึงจริยธรรมจะกระทบพวกเราจากอำนาจการปกครอง โดยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชาต้องไม่ใช่แค่ตัวหนังสือ หรือในรัฐธรรมนูญโดยเราไม่กลัวคนเก่ง เรากลัวคนหน้าด้าน บางพรรคเคยบอกอยากเห็นประชาธิปไตยสุจริต รับไม่ได้การทุจริตแต่สุดท้ายก็ไปรวมกับเขา ผสมโรงเผด็จการเป็นรัฐบาลกลายเป็นประชาธิปไตยวิปริต ตนคิดว่า พรรคการเมืองต้องมีสัจจะ หากไม่มีสัจจะปชช.จะพึ่งได้ แต่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พึ่งได้ ซึ่งเราเห็นถึงพิษร้ายการสืบทอดอำนาจ โดยข้อมูลจากศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชนสถิติจากผลการใช้คำสั่ง คสช. ว่า มี พลเรือน 2,408 รายขึ้นศาลทหาร ,  มี 572 คนถูกคุกคามติดตาม , มี 18 คนถูกร้องเรียนทำร้ายร่างกาย

ขณะที่ "นายวิโชติ วัณโณ" รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ (พช.)กล่าวว่า ในนามพรรค พช. สนับสนุนการปกครอง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่แล้ว และเชื่อว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน และเรื่องอำนาจการปกครองประเทศ ต้องเป็นของประชาชนทุกคน กฎหมายทุกฉบับต้องออกโดยผู้แทนประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตตนไม่เคยยอมรับกลุ่มคนยึดอำนาจ  โดยคำสั่งที่ออกมาเป็นกฎหมายมาใช้กับประชาชนนั้น ตนขอถามว่ากฎหมายที่ออกมาเพื่อประโยชน์ชองท่าน หรือเพื่อประชาชน ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญ มาตรา 279 ออกมารับรองคำสั่ง คสช.ที่เป็นการกระทำโดยชอบ เป็นการออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นตัวเอง ดังนั้นการที่เราจะยื่นยกเลิกคำสั่ง คสช. 35 ฉบับ จึงเป็นความชอบธรรมทั้งเหตุผล จริยธรรม และที่รัฐธรรมนูญฯ กำหนดยุทธศาสตร์ถึง 20 ปี แล้วอนาคตจะอยู่อย่างไร จากการ ที่เขียนให้กฎหมายแก้ไม่ได้ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของเราและเสรีภาพของเรา เราจึงต้องเอาสิทธิเสรีภาพกลับคืนมาให้ได้ โดยการยื่นให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ถือเป็นก้าวแรก กรณีหากยื่นไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จก็จะยื่นใหม่ โดยพลังภาคนอกสภาและนอกราชการถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

ด้าน "พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร" จากพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เราเห็นพ้องกันจะยุติผลพวงการสืบทอดอำนาจ เพื่อสร้างประชาธิปไตยในสังคม โดยยังเชื่อว่าไม่เป็นทางตัน เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญฯ บอกว่าอำนาจอธิปไตยยังเป็นของปวงชนชาวไทย และในส่วนของกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติในส่วนของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร จะติดตามดู