ผลวิจัยเผยมนุษย์ทั่วโลกซื่อสัตย์กว่าที่คิด

ผลวิจัยเผยมนุษย์ทั่วโลกซื่อสัตย์กว่าที่คิด

ผลวิจัยชุดใหม่บ่งชี้ ผู้คนทั่วโลกมีจิตสำนึกซื่อสัตย์มากกว่าที่คิด โดยมีแนวโน้มคืนกระเป๋าที่มีเงินอยู่ข้างในให้แก่เจ้าของมากกว่าคืนกระเป๋าเปล่าที่ไม่มีเงิน เพราะเข้าใจถึงความยากลำบากของผู้เป็นเจ้าของกระเป๋า

ช่วงนี้ในบ้านเรามักมีข่าวคนเก็บกระเป๋าสตางค์ได้และคืนเจ้าของให้เห็นเยอะมาก รวมถึง ผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่บังเอิญลืมกระเป๋าสตางค์ไว้บนรถแท็กซี่ และคนขับแท็กซี่เก็บกระเป๋า หรือสิ่งของมีค่านั้นมาคืนเจ้าของ พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยยุคใหม่มีสำนึกที่ดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น แม้บางกรณีจะมีการหลอกลวง สร้างสถานการณ์ขึ้นมาก็ตาม

ล่าสุด  คณะนักวิจัยนักวิจัยนานาชาติได้ทำการทดสอบความตึงเครียดระหว่างเงินในกระเป๋าที่ล่อตาล่อใจกับความซื่อสัตย์ของผู้คนทั่วโลก ปรากฏผลที่น่าประหลาดใจว่าคนที่พบกระเป๋าเงินแล้วมีเงินติดอยู่เล็กน้อย จะส่งคืนเจ้าของมากกว่าพบกระเป๋าเงินที่ไม่มีเงินอยู่เลย และจะคืนกระเป๋ามากขึ้นเมื่อเงินในกระเป๋ามีมูลค่าเกือบ 100 ดอลลาร์

ผลวิจัยชิ้นนี้ เป็นการสำรวจพฤติกรรมของประชาชนใน 40 ประเทศทั่วโลกพบรูปแบบคล้ายกันใน 38 ประเทศคือหากกระเป๋าว่างไม่มีเงินเลย อัตราคืนโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 40% แต่ถ้ามีเงินอยู่บ้างจะคืน 51%ซึ่งในสัดส่วนนี้ รวมประเทศไทยอยู่ด้วย

 ทั้งนี้ ในขั้นตอนการวิจัยผู้ช่วยนักวิจัยแสร้งทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวแล้วทำกระเป๋าสตางค์ตกไว้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ ไปรษณีย์ โรงแรม สถานที่ราชการ และบางกรณีก็แกล้งทำตกไว้ที่สำนักวาติกัน และหน่วยงานรัฐบาล 2 แห่งที่รับผิดชอบสอบเรื่องทุจริต

กระเป๋าแต่ละใบประกอบด้วยนามบัตร 3 ใบ บัญชีของชำ ดูเผินๆ เหมือนกระเป๋าตังค์ชาวบ้านแถวนั้น ส่วนใหญ่มีแต่กุญแจ ส่วนเงินแบ่งออกเป็นไม่มีเงินเลย มีเงินจำนวนหนึ่งประมาณ 13.45 ดอลลาร์ และเงินมากถึง 94.15 ดอลลาร์ พร้อมบัตรหนึ่งใบระบุอีเมลเอาไว้

นักวิชาการที่จัดทำรายงานวิจัยชิ้นนี้บอกว่า รัฐบาลอาจนำข้อมูลเรื่องนี้ไปกำหนดนโยบายให้ประชาชนมีความซื่อสัตย์ทางธุรกิจ และสังคมได้ เพราะหากพิจารณาจากผลสำรวจที่ได้จะเห็นว่ามนุษย์ทั่วโลกให้คุณค่ากับความเป็นคนดี และรับรู้ได้ถึงความยากลำบากของผู้อื่นที่ทำกระเป๋าสตางค์หาย (ตามสถานการณ์ที่จำลองขึ้นมา)

นายอาเลียน โคห์น อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยเรื่องนี้ได้ทดสอบพฤติกรรมของคนในหลายประเทศ ถือเป็นการศึกษาประเด็นความซื่อสัตย์ในหลากหลายวัฒนธรรมเป็นครั้งแรกของโลก โดยทดลองนำ กระเป๋าสตางค์ทั้งหมด 17,303 ใบไปวางไว้ตามสถานที่สถานธารณะ ตามเมืองใหญ่ 355 แห่ง ทั่วโลก บางใบมีเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศต่างๆแต่บางใบไม่มีเงินอยู่เลย เพื่อสังเกตุพฤติกรรมว่าเมื่อมีผู้เจอกระเป๋าสตางค์เหล่านี้แล้ว พวกเขาจะทำอย่างไรกับมัน

คณะวิจัยชุดนี้ ได้เพิ่มเเรงจูงใจด้วยเงิน ในสามประเทศคือโปแลนด์ สหรัฐ และอังกฤษ แต่ปรากฏว่าผลที่ได้กลับตรงกันข้าม คือคนยิ่งนำกระเป๋าสตางค์ไปคืนเจ้าของจากสัดส่วน 61% เป็น 72% ซึ่งข้อมูลนี้ทำให้หลายคนแปลกใจ เนื่องจากคณะวิจัยระบุว่า ทั้งผู้คาดเดาผลจากการเพิ่มเงินในกระเป๋าสตางค์ ที่บุคคลซึ่งเชี่ยวชาญและไม่เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ต่างบอกว่ายิ่งเจอเงินมาก คนมักจะเก็บกระเป๋าสตางค์ไว้เองมากขึ้น และถ้ายิ่งเพิ่มปัจจัยอื่น อย่างเช่นกุญเเจ ที่สำคัญต่อเจ้าของ แต่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้เก็บกระเป๋าสตางค์ได้ ความอยากคืนก็จะเพิ่มขึ้น

ผลการทดลองครั้งนี้ บ่งชี้ว่า ผู้คนใน 40 ประเทศมีความซื่อสัตย์ในระดับที่พอๆกัน โดยสวิตเซอร์เเลนด์ และนอร์เวย์ เป็นประเทศที่คนจะคืนกระเป๋าสตางค์มากที่สุด ส่วนประเทศที่รั้งท้ายในเรื่องนี้คือ จีนและโมรอคโค

นอกจากนี้ คณะนักวิจัย ยังระบุว่า กระเป๋าสตางค์ 172 ใบที่เก็บได้จากสาธารณรัฐเช็คและสวิตเซอร์แลนด์มีเงินอยู่ครบในสัดส่วนสูงถึงกว่า 98% ด้วยกัน ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมที่ชาวเช็คและชาวสวิต มีความซื่อสัตย์ ไม่อยากได้ข้าวของหรือเงินทองที่ไม่ใช่ของตน