กทม.ผุดอาคารรับน้ำ 7 แห่ง เสริมศักยภาพอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน

กทม.ผุดอาคารรับน้ำ 7 แห่ง เสริมศักยภาพอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน

กทม.ยกระดับประสิทธิภาพระบบระบายน้ำท่วมทุ่มงบเกือบ 5 พันล้านบาท เร่งสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมอาคารรับน้ำ 7 แห่งครอบคลุมพื้นที่ 4 เขตในโซนตะวันออก

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสถานีสูบน้ำบางอ้อเขตบางนาว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครยุทธศาสตร์ “มหานครปลอดภัย” ที่มีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครปลอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยวางมาตรการบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ

โดยสำนักการระบายน้ำดำเนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอุโมงค์ระบายน้ำดังกล่าวมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ม. ความยาว 9.4 กม. ความลึก 30 ม. แนวอุโมงค์เริ่มจากอาคารรับน้ำบริเวณบึงหนองบอนลอดใต้แนวคลองหนองบอนแนวคลองตาช้างถนนศรีนครินทร์ถนนอุดมสุขซอยอุดมสุข 29 ถนนสุขุมวิท 101/1 ลอดใต้แนวคลองบางอ้อผ่านสถานีสูบน้ำบางอ้อและออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางอ้อในระหว่างพื้นที่ที่อุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอนลอดผ่านจะมีการก่อสร้างปล่องรับน้ำและอาคารรับน้ำเพื่อรวบรวมน้ำในคลองต่างๆที่อุโมงค์ลอดผ่านระบายลงสู่อุโมงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับอาคารรับน้ำ 7 แห่งประกอบด้วยอาคารรับน้ำบึงหนองบอนอาคารรับน้ำคลองหนองบอนอาคารรับน้ำคลองเคล็ดอาคารรับน้ำคลองหลอดกม.3 (อุดมสุข56) อาคารรับน้ำคลองหลอดกม.2 (อุดมสุข42) อาคารรับน้ำถนนสุขุมวิท66/1 อาคารรับน้ำซอยสุขุมวิท101/1 สถานีสูบน้ำอุโมงค์บางอ้อขนาดกำลังสูบ 60 ลบ.ม./วินาทีและอาคารทิ้งน้ำ 1 แห่ง

“ขณะนี้ผลงานการก่อสร้างอุโมงค์ทำได้แล้ว 36.51% เมื่อโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเสร็จจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำครอบคลุมพื้นที่ประมาณ85 ตร.กม. ในพื้นที่เขตประเวศเขตสวนหลวงเขตพระโขนงเขตบางนาและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง”

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวเพิ่มเติมว่าทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักการระบายน้ำและผู้รับจ้างหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาหาแนวทางในการปรับแผนการทำงานอย่างต่อเนื่องรวมทั้งให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อโครงการอย่างไรก็ตามจากแผนงานที่วางไว้โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2562 แต่เกิดความล่าช้าเนื่องจากงานเจาะอุโมงค์ที่บึงหนองบอนเกิดปัญหาน้ำใต้ดินทะลักเข้าปล่องอุโมงค์แล้วเกิดรอยรั่วขนาดใหญ่ด้านซ้ายทำให้ทรายรั่วเข้ามากับน้ำและดินด้านบนเกิดการทรุดตัวผู้รับจ้างได้ดำเนินการแก้ไขโดยการสูบน้ำเข้าปล่องอีกครั้งเพื่อให้ความดันสมดุลกันและเฝ้าระวังจนกว่าดินจะหยุดการทรุดตัวจึงจะสามารถขุดเจาะอุโมงค์ต่อไปได้ทำให้ผู้รับจ้างต้องทดสอบสภาพดินก่อนดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ที่ปล่องรับน้ำอื่นๆส่งผลให้ระยะเวลาในการทำงานล่าช้าออกไป

สำหรับงานเจาะอุโมงค์จากปล่องรับน้ำบึงหนองบอนไปยังปล่องรับน้ำคลองหนองบอนระยะทาง 1,035 ม. จากแผนเดิมเริ่มวันที่ 1 ก.ค.62 เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 3 ก.ย.62 ส่วนงานเจาะอุโมงค์จากปล่องInlet สถานีสูบน้ำบางอ้อไปปล่องสุขุมวิท66/1 เริ่มเจาะวันที่12 พ.ย.61 ระยะทาง1,257.8 ม. ทำได้แล้ว1,161 ม. สำหรับพื้นที่ก่อสร้างอาคารรับน้ำ2 แห่งคืออาคารรับน้ำคลองเคล็ดและอาคารรับน้ำถนนสุขุมวิท66/1 ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างตามรูปแบบในสัญญาได้จึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการก่อสร้างอาคารทั้ง2 แห่ง

“จากการลงพื้นที่พูดคุยกับผู้รับจ้างพบว่าระบบการทำงานในบริเวณสถานีสูบน้ำบางอ้อบางส่วนจะแล้วเสร็จในปี 2563 จึงได้มอบหมายให้สำนักการระบายน้ำหารือร่วมกับผู้รับจ้างเพื่อให้ระบบบางส่วนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของโครงการสามารถเปิดใช้งานในเดือนพ.ค. 2563 ซึ่งจะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณถนนอ่อนนุชถนนอุดมสุขถนนสุขุมวิทโดยรับน้ำมาลงคลองบางอ้อออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งนี้คาดว่าอุโมงค์ระบายน้ำดังกล่าวจะแล้วเสร็จสมบูรณ์สามารถเปิดใช้งานได้เต็มระบบในเดือนพ.ค. 2564 โดยมีมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 4,925 ล้านบาท”