สุขุมวิท แกลลอรี ชวนจิบชาชมภาพถ่าย

สุขุมวิท แกลลอรี ชวนจิบชาชมภาพถ่าย

การเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมสุดล้ำในอดีตมาสู่งานออกแบบถาดบรรจุของว่างสำหรับชุดน้ำชายามบ่ายที่เป็นแจกันได้ในตัวสะท้อนความเป็นสุขุมวิทได้อย่างน่าทึ่ง เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการแนะนำตัวสุขุมวิท แกลลอรี และ สุขุมวิท แกลลอรี อาฟเตอร์นูน ที ของโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่

สุขุมวิท แกลลอรี เป็นห้องแสดงภาพถ่ายที่รวบรวมภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับประวัติของถนนสุขุมวิท ประกอบไปด้วยแผนที่ สถานที่สำคัญ เช่น วัง คฤหาสน์ บ้านพักหรูหราในสมัยก่อน การคมนาคม รวมไปถึงภาพสะพานลอยคนข้ามตรงเอกมัยที่หลายคนยังจำกันได้ด้วยดีไซน์รูปวงกลมเรียงกันบนทางเดินอันเป็นเอกลักษณ์

และ ภาพนี้เองที่ สกุล อินทกุล ศิลปินนักจัดดอกไม้ นำมาใช้เป็นธีมในการออกแบบ สุขุมวิท อาฟเตอร์นูน ที ที่จัดเสิร์ฟในสุขุมวิท แกลลอรี

“สะพานลอยแห่งนี้ถือได้ว่ามีรูปแบบล้ำสมัยในยุคนั้น จึงนำโครงสร้างของสะพานมาออกแบบเป็นถาดสำหรับใส่ขนม เป็นงานแฮนด์เมดของช่างฝีมือทำจากสแตนเลสชุบทองแดงและหินอ่อนเทียม

ส่วนงานตกแต่งดอกไม้เลือกเป็นดอกรักกับดอกบานไม่รู้โรย สีขาวกับสีม่วงสื่อถึงความโมเดิร์นและเป็นสีของโรงแรมด้วย

นอกจากนี้ยังสื่อถึงความรักที่ไม่รู้โรย เพื่อให้เข้ากับเรื่องราวในอดีตของทุ่งบางกะปิ (ชื่อเรียกเดิมของย่านสุขุมวิท) ซึ่งเป็นสถานที่หนุ่มสาวนัดเดตกัน

การจัดดอกไม้ตั้งใจให้มีลักษณะเหมือนคลื่น สื่อถึงความเคลื่อนไหวจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่วนดอกไม้ 1 ดอกที่นำมาประดับแทนความหมายของโรงแรม

งานออกแบบเราต้องคำนึงถึงพนักงานโรงแรมด้วยเพราะเขาจะต้องทำทุกวัน วันละ 30 เซ็ต และสื่อความหมายได้ครบ

ผลงานชิ้นนี้เป็นการนำดอกไม้ไทยมานำเสนอในรูปแบบปัจจุบัน ที่มองแล้วรู้ว่าเป็นงานไทยแต่เป็นไทยในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน” สกุล กล่าว

สำหรับสุขุมวิท แกลลอรี จัดแสดงภาพถ่ายจำนวน 45 ภาพ จากการคัดสรรของ สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พีรศรี โพวาทอง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ นักสะสมหนังสือเก่า นักวิชาการอิสระ

คอลเลคชั่นภาพเก่านี้เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างเวลา 11.00 – 22.30 ที่ชั้น 4 โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท และมี QR coade สำหรับดาวน์โหลด โบรชัวร์ สุขุมวิทแกลลอรี ได้อีกด้วย

ส่วนสุขุมวิท แกลลอรี อาฟเตอร์นูน ที เปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น. ราคา 950++ บาท/เซ็ต สำหรับรับประทานได้ 2 คน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสำรองนั่ง โทร. 0-2098 1234

เรื่อง : ปิ่นอนงค์ ปานชื่น

ภาพ : ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ

 สุขุมวิทวันวาน

ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองกรุงเทพฯ เริ่มขยายตัวไปทาง ทิศตะวันออก เมื่อมีการสร้างโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยทีริมคลองบางกะปิในพ.ศ. 2464 จึงเกิดถนนใหม่ซึ่งตัดจากถนนเพลินจิตมายังโรงเรียนดังกล่าว โดยการเรี่ยไรที่ดินและค่าก่อสร้างจากเจ้าของที่ดินรายใหญ่ๆ เป็นถนนยาว 1.5 กิโลเมตร ทุ่งบางกะปิจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นย่านพักอาศัย

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลมีดำริขยายโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมเมืองกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการในพ.ศ. 2470 กระทรวงมหาดไทยจึงวางแผนตัดถนนต่อออกไป รวมเป็นระยะทาง 18.8 กิโลเมตร โดยมีพระพิศาลสุขุมวิท (ประสบ สุขุม) อธิบดีกรมทางหลวง เป็นผู้กำกับดูแล การก่อสร้างถนนสายนี้แล้วเสร็จในพ.ศ. 2479 โดยมีชื่อถนนว่าถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ

ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้มีฐานะในพระนครอพยพหนีภัยการโจมตีทางอากาศ ในพื้นทีเมืองกรุงเทพฯ ชั้นใน ออกมาที่ย่านบางกะปิ ซึ่งกลายเป็นย่านพักอาศัยชานเมืองที่ทันสมัยในยุคหลังสงคราม เกิดการจัดสรรทีดิน โดยเฉพาะของเจ้าของที่ดินชาวมุสลิมดั้งเดิมตัดซอยแยกจากแนวถนนหลัก ไปจรดแนวคลองบางกะปิ (คลองแสนแสบ) ทางทิศเหนือ และแนวถนนพระรามที 4 ทางทิศใต้ต่อมาในพ.ศ. 2490 รัฐบาลมีนโยบายสร้างทางหลวงแผนดิน ซึ่งกำหนดให้

ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการเป็นเส้นทางหลักจากกรุงเทพฯ ไปสู่ภาคตะวันออก มีการสร้างทางหลวงต่อจากเมืองสมุทรปราการ ผ่านอู่ตะเภา ชลบุรี ระยอง ไปจนถึงชายแดนทีจังหวัดตราด แล้วเสร็จในพ.ศ. 2493 นับเป็นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3 โดยได้ รับชื่อว่าถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท ผู้กำกับดูแลการกอสร้างเส้นทางสายนี้

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร การพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด ส่งผลตอพัฒนาการของย่านถนนสุขุมวิท มีการสร้างอาคารพาณิชยสองฟากถนน การสร้างโรงแรม อาคารสำ นักงาน โรงภาพยนตร์ และห้างสรรพสินค้า เพื่อรองรับกิจกรรมของชีวิตเมืองสมัยใหม่

สำหรับทั้งผู้มีฐานะชาวไทย ชาวต่างประเทศ และนักทองเที่ยว ถนนสุขุมวิทตอนต้นกลายเป็นย่านธุรกิจ ทีดินทวีราคาสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการสร้างอาคารสูงในรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่การจราจรที่คับคั่ง

ยังให้เกิดการสร้างระบบขนส่งมวลชนที่สำ คัญบนถนนสุขุมวิทคือรถไฟฟ้าบีทีเอส (แล้วเสร็จพ.ศ. 2542) ซึ่งตัดกับเสนทางรถไฟฟฟ้ามหานคร (MRT แล้วเสร็จพ.ศ. 2547)ที่ถนนอโศกมนตรี (ซอยสุขุมวิท 21)

(ที่มา : สุขุมวิท แกลลอรี)