ไทยมีแรงงานด้อยโอกาส เกิน 50%

ไทยมีแรงงานด้อยโอกาส เกิน 50%

กสศ.ถอดบทเรียน เอสโตเนีย ยกระดับแรงงานด้อยโอกาสของไทย เผยแรงงานนอกระบบถึง 55% ไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคม การศึกษาและผลิตภาพต่ำรายได้น้อย เล็งจัดโครงการพัฒนาอาชีพ นำร่อง 50 แห่งทั่วไทย เน้นทำงานศึกษาชุมชน แรงงาน

เมื่อวันที่ 28 พ.ค.62 นายนักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้กล่าวประชุมเสวนาวิชาการนานาชาติ ด้านการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ว่าประเทศไทยนอกจากมีกลุ่มเด็กด้อยโอกาสแล้ว ยังมีแล้วกลุ่มแรงงานด้อยโอกาสจำนวนมาก และมีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น แรงงานไทยมีการศึกษา ทักษะค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยผลิตภาพต่ำกว่าของสิงคโปร์และไม่มีแนวโน้มดีขึ้น เป็นแรงงานนอกระบบ หรือแรงงานด้อยโอกาส ซึ่งมีประมาณ55% นั้นไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคม การศึกษาและผลิตภาพต่ำรายได้น้อย คาดว่าอีก 10-20 ปี 56% ของแรงงานเป็นอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากหุ่นยนต์ และระดับอ้ตโนมัติ อีกทั้งถ้าจะพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง การพัฒนาแรงงานจึงมีความสำคัญสูงมาก ดังนั้น กสศ.หน่วยงานที่พยายามลดช่องว่างทางการศึกษาของประเทศไทย เพื่อไม่ให้ตกขบวนทางการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการสนับสนุนเด็กนักเรียนยากจน มอบทุนเด็กอาชีวะแล้ว ยังมีหน้าที่ในการพัฒนายกระดับทักษะให้แก่กลุ่มวันแรงงานด้อยโอกาสด้วย การที่ กสศ.จัดอบรมแรงงานด้อยโอกาส ถือเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษาให้คนด้อยโอกาส และได้แรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้น นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

"สำหรับแรงานในระบบมีอยู่ประมาณ 17 ล้านคน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 4 ล้านคน อาชีวศึกษา 2.2 ล้านคน นอกนั้นเป็นแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับชั้น ม.6 ซึ่งโจทย์ปัญหาแรงงานในประเทศไทยที่ต้องเตรียมรับมือในอนาคตก็คืออีก 5-10 ปี ข้างหน้า แรงงานกลุ่มนี้จะถูกแทนด้วยระบบอัตโนมัติ ขณะเดียวกันสิ่งที่ประเทศไทยต้องวางแผนรับมือปัญหานี้ก็คือ ต้องผลิตแรงงานให้ตรงกับความต้องการโดยมีทักษะความรู้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตได้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหานี้

“ยกตัวอย่างเช่น แต่ละปีประเทศไทยสามารถผลิต ผู้จบการศึกษาในสาขาวิศวะคอมพิวเตอร์ได้ปีละ 20,000 คน แต่พบว่าในจำนวนดังกล่าวาสามารถไปปฏิบัติทำงานได้จริงเพียง 1,000 คนเท่านั้น และส่วนใหญ่เลือกไปทำงานในต่างประเทศ” ศ.ดร.นักสิทธิ์ กล่าว

9942669280755

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกสศ.กล่าวว่า การประชุมวิชาการนานาชาติฯ ได้เน้นการพัฒนาแรงงานด้อยโอกาสอย่างไรให้มีทักษะ และศักยภาพ แข่งขันได้ ซึ่งประเทศเอสโตเนียที่มาประชุมกับ กสศ.ถือเป็นประเทศที่ได้รับสมยานามว่า ‘Silicon Valley’ ของยุโรปที่พัฒนาไปเร็วมาก ใช้เวลาเพียง20 ปี เปลี่ยนประเทศยากจนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจุบันมีรายได้ต่อหัวมากกว่าประเทศไทยถึง 7 เท่า โดยประเทศเอสโตเนียมีขนาดเท่ากับจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทย มีประชากรราว 1.3 ล้านคน และมีการพัฒนาประเทศควบคู่ไปพร้อมกันทั้งผู้ใหญ่และเด็กนักเรียน เพราะฉะนั้นสตาร์ทอัพ (star up) ของประเทศเอสโตเนียถือว่าสูงมาก สูงกว่ายุโรปหลายเท่า และทำให้ระบบโรงเรียนสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงไม่ขาดสาย

"ขณะนี้ ทางกสศ.กำลังเริ่มโครงการพัฒนาฝีมือหรือพัฒนาอาชีพ สำหรับกลุ่มแรงงาน 1.0 หรือ 2.0 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม และอยู่ตามชนบทถือว่ามีอยู่จำนวนมาก โดยหลักการไม่ใช่การนำแรงงานเหล่านี้เข้ามาในห้องฝึกอบรมเท่านั้น แต่หลักใหญ่อยู่ที่การทำงานกับชุมชน คาดว่าจะเริ่มต้นทำงานศึกษาชุมชนในแต่ละแห่งตามชนบทประมาณ 50 แห่งทั่วประเทศ โดยดูว่าในพื้นที่ตรงนั้นมีกีดความสามารถที่จะประกอบการใด หรือมีศักยภาพใดที่จะประกอบกิจการประเภทใดให้เกิดผลสำเร็จ จากนั้นจะนำมาสู่การกำหนดว่าแต่ละชุมชนจะมีการฝึกอาชีพให้กับแรงงานที่ตกค้างในชนบทอย่างไร คาดว่าจะเริ่มต้นทำได้ประมาณ 5,000-10,000 คน โครงการนี้ทาง กสศ. คาดว่าจะเริ่มต้นในช่วง 1-2 เดือนนี้"นพ.สุภกร กล่าว

น.ส.ไครี โซลมานน์ ผู้บริหารโครงการสำนักการศึกษาและพัฒนาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัย ประเทศเอสโตเนียกล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของประเทศเอสโตเนียในนโยบายการศึกษาส่าหรับประชากรวัยทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยรากฐานของนโยบายที่มีประสิทธิภาพมาจากยุทธศาสตร์และนโยบายด้านการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ การประสานงานนโยบายการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่เข้ากับนโยบายระดับชาติอื่นๆ รวมถึงกลไกการปรับนโยบายให้เหมาะสมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของเอสโตเนีย 2020 ได้พุ่งเป้าไปที่การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันและการมีส่วนร่วมในการศึกษาตลอดชีวิตจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านการให้ความสำคัญกับทักษะดิจิตอลในการศึกษาตลอดชีวิต โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมในการศึกษาตลอดชีวิตถึง20% ภายในปี2020 ซึ่งเป้าหมายนี้ยังเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ของโครงการปฏิรูประดับชาติ “Estonia 2020” อีกด้วย และลดจำนวนของประชากรวัยแรงงงานที่ไม่มีการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ

น.ส.ไครี กล่าวต่อว่า การประสานนโยบายการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ได้กำหนดให้ สภาการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่แห่งชาติ (National Council for Adult Education)เป็นผู้ประสานนโยบายการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ระหว่างผู้กำหนดนโยบาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ให้บริการการศึกษาทางสภาฯจะมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและผลของนโยบาย และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผน การระดมทุน และการจัดระเบียบการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ในเอสโตเนีย