มลพิษในอากาศเพิ่มเด็กป่วยโรคหืดหอบ

มลพิษในอากาศเพิ่มเด็กป่วยโรคหืดหอบ

     มลพิษในอากาศมีหลายรูปแบบ ทั้ง ฝุ่นละออง สารตะกั่ว มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท และมีผลต่อกระบวนการรับรู้ ตลอดจนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซโอโซน และสารอินทรีย์ระเหยง่าย ที่มีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง

     วารสารการแพทย์แลนเซต ระบุว่า ในแต่ละปีจะมีเด็กถึง 4 ล้านคนเป็นโรคหืดหอบจากมลภาวะทางอากาศของการจราจรบนท้องถนน  เท่ากับพบเด็กเป็นโรคนี้รายใหม่วันละ 11,000 คน ส่วนใหญ่เกิดในประเทศที่ระดับมลภาวะทางอากาศต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก(ดับเบิลยูเอชโอ)กำหนด ตอกย้ำว่าไอเสียจากรถยนต์เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่เราคิด

มลพิษในอากาศเพิ่มเด็กป่วยโรคหืดหอบ

      แลนเซต ระบุว่า คูเวตเป็นประเทศที่พบเด็กเป็นโรคหืดหอบจากมลภาวะทางอากาศเพิ่มในอัตราที่มากที่สุด โดยพบเคสเด็กเป็นโรคหืดหอบรายใหม่ 550 คน รองลงมาคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 460 คน และแคนาดา 450 คน