ยังผันผวน

ยังผันผวน

SET Index วานนี้สามารถปิดบวกได้ หลังปรับตัวลงมา 5 วันติดต่อกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่ปิดบวกและสหรัฐยกเลิกคำสั่งแบนหัวเว่ยชั่วคราว

โดยหุ้นกลุ่ม Big Cap ที่หนุนตลาดได้แก่ ADVANC SCB และ BDMS ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,610.49 จุด (+2.38 จุด) Volume 5.0 หมื่นลบ. จาก Foreign +834.38 ลบ. TFEX Net +22,356 สัญญา ตลาดตราสารหนี้ +2,300 ลบ.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

+ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวก 197.43 จุด +0.77% นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจฃรัฐบาลสหรัฐเลิกแบนบริษัทหัวเว่ยฯเป็นการชั่วคราว และการดีดตัวของหุ้นโบอิ้ง และหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิป

+ญี่ปุ่นรายงาน GDP ไตรมาสแรกสดใส และสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงแข็งแกร่ง

-ราคาน้ำมัน WTI -11 เซนต์ ปิด $62.99 ต่อบาร์เรล กังวลสงครามการค้าอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน

-จีนส่งสัญญาณพร้อมทำสงครามการค้ายืดเยื้อกับสหรัฐ ชี้ว่าข้อตกลงการค้าต้องเท่าเทียมกันและให้ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

-ประธานเฟดบอสตันเตือนสงครามการค้ากดดันเศรษฐกิจ

-สหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองในเดือนเม.ย. -0.4% สู่ระดับ 5.19 ล้านยูนิต สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่ายอดขายจะพุ่งขึ้น

-องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ GDP โลกในปีนี้สู่ 3.2% และปีหน้า 3.4% สู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปีที่จากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

- สภาพัฒน์ประกาศปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 62 เหลือ 3.6% ในกรอบ 3.3 – 3.8% จากเดิม 3.5-4.5% หลัง GDP ในช่วง 1Q62 ที่ระดับ 2.8% ต่ำกว่าระดับ 3.7% ใน 4Q61

 -Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD -2.48 หมื่นลบ. ค่าเงินบาท 31.94 บาท/US

*จับตา กสทช.จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ คลื่นความถี่ 700 MHz / สหรัฐเปิดเผยสต๊อกน้ำมันรายสัปดาห์ และ FOMC เปิดเผยรายงานการประชุม

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสดีดตัวตามตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่ยังมีปัจจัยกังวลจากความกังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัว รวมทั้งปัจจัยการเมืองในประเทศที่ยังไม่แน่นอนเรื่องจัดตั้งรัฐบาลใหม่ คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,590-1,617 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ดัชนี MSCI Thailand หุ้นเข้า : RATCH INTUCH DTAC หุ้นออก : DELTA
  • ดัชนี MSCI Global Small Cap หุ้นเข้า : INTUCH AAV BLA EASTW  PSH TASCO หุ้นออก : MC  PRINC  THCOM  TFG  VGI  VIBHA
    มีผล 28 พ.ค.
  • หุ้นได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ : SE-ED COL LPN PSH SPALI  ROBINS BJC ERW

หุ้นรายงานพิเศษ

CK Analyst Meeting ราคาปิด 26.75 บาท Bloomberg Consensus 32.17 บาท มุมมอง Neutral

รายงานกำไร 1Q62 เท่ากับ 355.5 ลบ. +15%YoY โดยมีรายได้รวมเท่ากับ 7,475 ลบ. +1.2%YoY จากรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ %GPM ทำได้ดีขึ้นมาที่ระดับ 8.6% จาก 1Q61 อยู่ที่ระดับ 8% ส่วน %SG&A  อยู่ที่ระดับ 6.7% เพิ่มขึ้นจาก 1Q61 อยู่ที่ระดับ 5.4% จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน และค่าเสื่อมราคา ส่งผลให้ %NP อยู่ที่ระดับ 4.6% ปรับดีขึ้นจาก 1Q61 อยู่ที่ระดับ 3.9%

แนวโน้มปี 62 บริษัทตั้งเป้ารายได้ในช่วง 2.5 - 3 หมื่นลบ. ทรงตัวจากปีที่ผ่านมา พร้อมกับจะรักษา %GPM ให้อยู่ที่ระดับราว 8% ขณะที่รายได้จะถูกสนับสนุนจาก Backlog ปลาย 1Q62 เท่ากับ 4.2 หมื่นลบ. รวมทั้งยังมีงานที่ยังอยู่ในช่วงรอเซ็นสัญญาอีก 2 โครงการ คือ 1) โครงการ รพ.จุฬาฯ มูลค่า 2 พันลบ. และ 2) โครงการทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง สัญญาที่ 4 มูลค่า 6.6 พันลบ.

ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมอง Neutral จากภาพรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่ backlog ไม่มากพอในการสร้างการเติบโตต่อเนื่องของผลการดำเนินงานในปีนี้  อย่างไรก็ดี การทยอนเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ในช่วงต้นปีนี้จะเป็น potential ช่วยเสริม backlog ที่แข็งแกร่งในอนาคต Bloomberg consensus คาดกำไรสุทธิปี 62 ราว 1,914.5 ลบ. -23.25%YoY

หุ้นมีข่าว   

JKN Analyst Meeting (ราคาปิด 7.75 ซื้อ ราคาเหมาะสม 10) มุมมองบวก

·      ผู้บริหารยังคงเป้าการเติบโตของรายได้ปีนี้ที่ระดับ 20%YoY ซึ่งอยู่ที่ราว 1,700 ล้านบาท 1Q62 มีรายได้ 424 ล้านบาทคิดเป็น 24.5% ปลายมี.ค.2562 มี backlog ที่ไม่รวมส่วนที่เป็นของทีวีดิจิตัลที่คืนช่องราว 709 ล้านบาทที่จะทยอยบันทึกเป็นรายได้ วันที่ 1 ก.ค. 2562 ช่องคอนเทนต์ข่าว JKN CNBC จะเริ่มดำเนินงานช่วยหนุนรายได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ปีนี้บริษัทมีแผนโรดโชว์ขาย content ในต่างประเทศมุ่งสร้างรายได้ต่างประเทศให้มีสัดส่วนมากกว่า 30% ของรายได้รวมจากปัจจุบันที่ 29%  กรณีช่องทีวีดิจิตัลที่ลดลงไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทมากนักเนื่องจากซื้อน้อยเพราะมีกำลังซื้อไม่มาก มีเพียง Bright TV ที่มีสัดส่วนรายได้ราว 12% ในปี 61

·      ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกกับแนวคิด “Content is King.” จากจุดเด่นในการเป็นผู้นำด้านคอนเท้นท์ซีรียส์อินเดีย-ฟิลิปปินส์ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการผลิตรายการเองซึ่งจะสนับสนุนยอดขายคอนเท้นท์และการเติบโตของรายได้ในประเทศในอนาคต ทั้งนี้ กำไร 1Q62 ที่ 80.5 ล้านบาท คิดเป็น 27% ของประมาณการทั้งปีที่ราว 300 ล้านบาท ซึ่งเติบโต 32%YoY คงคำแนะนำ “ซื้อ”

·      ILINK ส่งซิกไตรมาส 2/2562 ดีกว่าไตรมาสแรก ได้งานเทเลคอม-Distribution หนุน มั่นใจรายได้ปีนี้ตามเป้า 5.48 พันล้านบาท พร้อมตุนงานในมือ 7.3 พันล้านบาท คาดอัตรากำไรขั้นต้นปีนี้แตะ 30% มั่นใจคว้างาน เกาะสมุย-เกาะปันหยี มูลค่าเกือบ 2 พันล้านบาท คาดรู้ผลไตรมาส 3/2562 เตรียมเจรจา ITEL ทำดาต้าเซ็นเตอร์ แย้มผลงานปีหน้าโตก้าวกระโดด (ที่มา : ทันหุ้น)

·      KTIS ยิ้มรับธุรกิจไฟฟ้า-เอทานอล โตแกร่ง ดันรายได้ปีนี้ทะลุ 2.2 หมื่นล้านบาท จ่อรับเงินชดเชยส่วนต่างราคาขายน้ำตาลในประเทศและต่างประเทศ ราว 170 ล้านบาท ภายในเดือนก.ย.นี้ ด้านการลงทุนร่วมกับพันธมิตรจีน สร้างโรงงานผลิตภาชนะจากเยื่อชานย้อย คาดเริ่มก่อสร้างปลายปี 2563 (ที่มา : ทันหุ้น)

·      CK-NWR คว้างานทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก จากการเสนอราคาต่ำสุด โดย NWR คว้าสัญญาที่ 1 มูลค่า 5,897.21 ล้านบาท จากราคากลาง 6,979.55 ล้านบาท ด้าน CK คว้าสัญญาที่ 4 มูลค่างาน 6,636.19 ล้านบาท จากราคากลาง 7,943.36 ล้านบาท (ที่มา : ทันหุ้น)

·      SYNEX-COM7 ประสานเสียงไม่ได้รับผลกระทบกรณีสมาร์ทโฟน "หัวเหว่ย" เสี่ยงใช้ระบบ Google ไม่ได้ จากพิษสงครามการค้า ระบุธุรกิจมีพอร์ตสินค้าหลากหลาย สามารถดึงยี่ห้ออื่นเสริมความต้องการลูกค้า มั่นใจยอดขายไตรมาส 2 ดีดต่อเนื่อง ชี้ SYNEX มีสัดส่วนรายได้หัวเหว่ย 18% ขณะที่ COM7 มีสัดส่วนรายได้ 3% (ที่มา : ทันหุ้น)

·      PTTEP เตรียมเจาะหลุมแหล่งสินภูฮ่อมในปีนี้เพิ่มอีก 1-2 หลุม ทุ่มเงินลงทุน 20-30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรักษาระดับการผลิตไว้ที่ 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ป้อนโรงไฟฟ้าน้ำพอง (ที่มา : ข่าวหุ้น)

·      HMPRO ทุ่มงบกว่า 800 ล้านบาท เปิดสาขา “โฮมโปร จรัญสนิทวงศ์” ปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 18 เป็นสาขาที่ 83 พร้อมจัดงานฉลองเปิดตั้งแต่ 17 พ.ค. - 23 มิ.ย. 2562 ตั้งเป้าโกยยอดขายกว่า 100 ล้านบาท (ที่มา : ข่าวหุ้น)

·      NER (ราคาปิด 2.08 บาท “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 3.32 บาท) ชี้มาตรการจำกัดโควตาส่งออกส่งผลกระทบบริษัทเล็กน้อยแค่ 3 พันตัน จากยอดขายกว่า 2 แสนตัน ระบุชัด ได้รับผลดีมากกว่าเสีย หลังราคายางเขยิบ ลูกค้าเร่งซื้อดันมาร์จิ้นพุ่งตาม ขณะเดียวกันการกำหนดโควตามีอายุ 4 เดือนยังสามารถโยกยางพาราไปขายปลายปีได้ ชี้ภาครัฐไม่บังคับแต่พร้อมตามกฎ มั่นใจ Q2 ผลงานดีกว่า Q1 ทั้งปีมาร์จิ้น 3-5% (ที่มา ทันหุ้น)

ความเห็น มีผลกระทบเพียงเล็กน้อย โดยปริมาณขายราว 3 พันตัน คิดเป็น 1.2% ของคาดการณ์ปริมาณขายรวมทั้งปี 62 และคงประมาณการกำไรปี 62 ที่ราว 569 ลบ. +17%YoY