'เครือข่ายผู้บริโภค' เตรียมร้องสอดขอเป็นผู้ถูกฟ้องร่วมกับ 4 บิ๊กพาณิชย์

'เครือข่ายผู้บริโภค' เตรียมร้องสอดขอเป็นผู้ถูกฟ้องร่วมกับ 4 บิ๊กพาณิชย์

“เครือข่ายผู้บริโภค” เตรียมร้องสอดขอเป็นผู้ถูกฟ้องร่วมกับ 4 บิ๊กพาณิชย์ หลังสมาคมรพ.เอกชนบวกรพ.41 แห่งฟ้องศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนประกาศกำหนดยา-เวชภัณฑ์เป็นสินค้าและบริการควบคุม หวั่นกระทบผู้บริโภคโดยตรง

จากกรณีที่สมาคมโรงพยาบาลเอกชนฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้คุ้มครองชั่วคราวคำสั่งคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่ได้นำสินค้ายาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ เป็นสินค้าและบริการควบคุมประจำปี 2562 โดยระบุว่าสมาคมฯไม่ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นใดๆ และคำสั่งดังกล่าวบังคับใช้เฉพาะกับโรงพยาบาลเอกชนเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรงพยาบาลของรัฐด้วย จึงส่งผลเสียหายต่อโรงพยาบาลเอกชน และขอให้ศาลคุ้มครองคำสั่งชั่วคราว เพื่อให้การออกประกาศของกกร.หยุดการบังคับใช้ และฟ้องเอาผิดกับกกร.ทุกคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์(รมว.พณ.) ปลัดพณ.และ อธิบดีกรมการค้าภายใน

วานนี้ (13 พ.ค.) เครือข่ายผู้บริโภค แถลงข่าว เรื่องการเตรียมร้องสอดการฟ้องคดีของสมาคมรพ.เอกชน โดยน.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน(คอบช.) กล่าวว่า จากการที่กกร.มีมติเห็นชอบประกาศให้ยา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์และค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นสินค้าและบริการควบคุม ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 และผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2562 กระทั่งปลายเดือนเม.ย.2562 สมาคมรพ.เอกชน และสมาชิกสมาคมฯที่เป็นรพ.เอกชนอีก 41 แห่ง ได้มีการฟ้องศาลปกครอง ขอให้มีการยกเลิกการประกาศ และให้ยา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์และค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้องไม่เป็นสินค้าและบริการภายใต้การกำกับตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฯ

“ถ้ามีการยกเลิกประกาศเรื่องนี้ของกกร. ผู้บริโภคจะกระทบโดยตรง เพราะฉะนั้น จากการพูดคุยกับเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศแล้ว จึงเห็นว่าเครือข่ายผู้บริโภคที่ร่วมผลักดันเรื่องนี้มาตลอดจะต้องร้องสอดเข้าใปในคดี และขอให้กระทรวงพาณิชย์และและกกร.เดินหน้าต่อไปตามประกาศที่จะมีการกำหนดมาตรการควบคุมราคายา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์และค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง ซึ่งเครือข่ายฯยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนทุกอย่าง ในการที่จะมีมาตรการทำให้ค่ารักษาพยาบาลที่แพง ลดลง เพราะการออกประกาศและให้ติดราคายังไม่แก้โจทย์เรื่องแพง ที่จะให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมกับผู้บริโภคและรพ.”น.ส.สุภัทรากล่าว

นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) กล่าวว่า คดีนี้สมาคมฯกับพวกเป็นรพ.เอกชน 41 แห่งเป็นผู้ฟ้องคดี โดยมีผู้ถูกฟ้องคดี 4 คน ได้แก่ 1.กกร. 2. รมว.พณ. 3.ปลัดพณ. และ4.อธิบดีกรมการค้าภายใน้ ซึ่งมพบ.และองค์กรผู้บริโภคถือเป็นบุคคลภายนอกคดี ที่ไม่ใช่คู่ความ แต่อาจจะเข้ามาร่วมได้ด้วยการร้องสอดแป็นคู่ความในคดี ซึ่งคดีนี้เครือข่ายผู้บริโภคร้องสอดเข้ามาด้วยความสมัครใจในการเป็นผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกับอีก 4 คน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคำพิพากษาในคดีนี้ ถ้าหากมีการยกเลิกเพิกถอนประกาศจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงร้องสอดเป็นฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีอยู่ฝั่งกระทรวงพาณิชย์ เพี่อเข้าไปร่วมต่อสู่กับสมาคมรพ.เอกชน

ด้านน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) กล่าวว่า ค่ายา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาลแพง กระทบกับผู้บริโภคโดยตรง และสิ่งที่พณ.ดำเนินการมา ในฝั่งผู้บริโภคเห็นว่ายังไม่มีมาตรการอะไรเพิ่มเติม ล้วนแต่เป็นมาตรการเดิมทั้งการให้แจ้งราคาและการให้ผู้บริโภคนำใบสั่งยาจากรพ.เอกชนไปซื้อจากร้านขายยาข้างนอกได้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ การที่สมาคมฯและ41รพ.เอกชนฟ้องศาลปกครองเช่นนี้ กระทบผู้บริโภคแน่นอน เนื่องจากการมีประกาศนี้อยู่ในขณะนี้ ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิร้องเรียนเมื่อไปเข้ารับการรักษาพยาบาลแล้วพบว่าค่ารักษาพยาบา โดยใช้ม.29 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าฯ ให้พณ.เข้าตรวจสอบได้

ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภค 1 ราย มีดบาด 1 เซนติเมตรถูกผ่าตัด ค่ารักษา 5 หมื่นบาทเป็นสิ่งสมเหตุสมผลหรือไม่ ก็สามารถร้องเรียน โดยพณ.มีสิทธิเรียกข้อมูลและให้รพ.เอกชนมาชี้แจง แต่ถ้ายกเลิกพณ.ไม่มีสิทธิเข้าไปตรวจสอบได้ตามกฎหมาย หรือกรณีคนไข้ออกจากการรักษาที่รพ.รัฐโดยขอย้ายไปรพ.เอกชนและพบว่าเส้นเลือกสมองแตก 2 เส้น พบว่าค่าผ่าตัดเกือบ 8 แสนบาท ทั้งที่ควรได้รับบริการตามสิทธิการเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่รพ.เอกชนบอกว่าไปรพ.รัฐมาก่อนแล้วถือว่ามารักษาเป็นรพ.เอกชนเป็นรพ.ที่ 2 แล้ว จึงเรียกเก็บเงินจากคนไข้เป็นเงิน 8 แสนบาท หากเป็นสิทธิฉุกเฉินรพ.เอกชนจะเรียได้เพียง 2 แสนบาท กรณีเช่นนี้ก็สามารถร้องให้พณ.ตรวจสอบได้หากประกาศยังคงมีอยู่ และหากพบผิดจริงจะถูปรับได้สูงสุดถึง 1.4 แสนบาทและมีโทษจำคุกด้วย

“การที่เครือข่ายผู้บริโภคเท่าที่ที่บยขณะนี้มี มพบ. สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค สมาคมองค์กรผู้บริโภคส่วนภูมิภาค เช่น สงขลา ขอนแก่น ที่เป็นนิติบุคคลมีความสนใจและจะร่วมร้องสอดเป็นฝ่ายพณ. เพื่อให้ประกาศนี้ยังอยู่และมีมาตรการอื่นๆในการคุ้มครองผู้บริโภค ออกมา ทำให้ค่ารักษาพยาบาลถูกลง แทนที่จะให้รพ.เอกชนเพียงฝ่ายเดียวที่ร้องให้ยกเลิกประกาศ” น.ส.สารีกล่าว

ภญ. ยุพดี ศิริสินสุข อนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ คอบช. กล่าวว่า การที่สมาคมฯและรพ.เอกชน 41 แห่ง ร้องว่าไม่ได้มีส่วนร่วมในการออกประกาศฉบับนี้นั้น ขอยืนยันว่าทั้งในขั้นตอนของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆในเรื่องนี้ ซึ่งส่วนตัวเข้าไปร่วมด้วยในฐานะฝ่ายวิชาการ จะมีการแต่งตั้งผู้แทนของรพ.เอกชนเข้าร่วมด้วยเสมอในการพิจารณาเรื่องราคายาและกำหนดมาตการต่างๆ ผู้แทนรพ.เอกชนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกับทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม เห็นว่ามาตรการต่างๆที่พณ.ดำเนินการผ่านมานั้น ไม่กระทบกับสถานภาพทางเศรษฐกิจของรพ.เอกชนเลย เพราะมาตรการค่อนข้างละมุนละม่อม เช่น ให้รพ.เอกชนจัดทำป้ายราคาให้คนไข้มีสิทธิตัดสินใจในการเข้ารับการรักษา หรือการให้นำใบสั่งยาไปซื้อยาร้านข้างนอก ไม่ได้มีผลให้ราคาถูกลดทอนลงไป

“ประเมินว่ามาตรการที่ออกมาตอนนี้ยังไม่ได้เกิดผลกระทบหรือผลเสียใดๆกับรพ.เอกชนเลย ตรงกันข้ามมองว่าพณ.ยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้จริงจัง เพราะเมือเทียบราคายา จากการที่พณ.ขอดูต้นทุนการจัดซื้อยาและราคาขายยามาเทียบกัน สิ่งที่พบคือราคาขายต่างจากราคาที่จัดซื้อ ตั้งแต่น้อย 100 % ไปถึงสูงสุด 1150 % เมื่อเห็นราคาแบบนี้แล้วมาตรการาคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องนี้นั้นน้อยไปด้วยซ้ำ” ภญ.ยุพดีกล่าว