เปิดเมืองการบินเจิ้งโจว ขนาดใหญ่กว่าอีอีซี อัตราขยายตัวช่วง 4 ปี300%

เปิดเมืองการบินเจิ้งโจว ขนาดใหญ่กว่าอีอีซี อัตราขยายตัวช่วง 4 ปี300%

สกพอ. เดินหน้าดันสนามบินคู่ขนานกับเจิ้งโจว หลังลงนามเอ็มโอยู หวังแบ่ง สร้างอู่ตะเภาเมืองการบิน พัฒนาเมืองใหม่กำหนดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีขั้นสูงที่พร้อมระบบขนส่งไทยกับยุทธศาสตร์บีอาร์ไอ เชื่อมไทยกับเอเชียและยุโรป

“เมืองการบิน” นับเป็นโครงการที่ดูมีความทะเยอทะยานเพื่อทำให้อนาคตประเทศไทยเป็นไปตามที่วางไว้ว่าด้วยการยกระดับภาคการผลิตประเทศไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตซึ่งจะเป็นการผลิตที่สร้างความมั่งคั่งผนวกกับความยั่งยืน ซึ่งโครงการเมืองการบินนี้เคยดำเนินการจนประสบความสำเร็จมาแล้วคือที่ “เจิ้งโจว”

เอ็มโอยูร่วมดันสำเร็จใน3ปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู)ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับรัฐบาลมณฑลเหอหนานเกี่ยวกับการพัฒนาการบินร่วมกัน เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยหลังการลงนามในช่วง 3 ปีนี้ สกพอ.จะเร่งผลักดันความร่วมมือในการพัฒนาศูนย์การบินคู่ขนานและส่งเสริมการค้าและการลงทุนร่วมกันให้เดินหน้าเร็วที่สุด

“เอ็มโอยูนี้จะทำศูนย์การบินแบบเมืองคู่แฝด ระหว่างเจิ้งโจวและอู่ตะเภา เดินหน้าเร็วขึ้น จากที่ผ่านมาไทยได้เชื่อมอีอีซีกับฮ่องกงไปก่อนหน้านี้”

เปิดเมืองการบินเจิ้งโจว ขนาดใหญ่กว่าอีอีซี อัตราขยายตัวช่วง 4 ปี300%

หลังการศึกษาดูงานในเมืองเจิ้งโจว พบว่า รัฐบาลจีนได้เริ่มพัฒนาเมืองศูนย์กลางธุรกิจและการบินเจิ้งโจว (ZAEZ) ตั้งแต่ ปี 2553 โดยเมืองเจิ้งโจวอยู่ในมณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างแต่ละมณฑลในจีน และระหว่างประเทศ จึงประสบความสำเร็จกลายเป็นศูนย์กลางขนส่งขนาดใหญ่ของจีนในปัจจุบัน

สะท้อนได้จากปริมาณผู้โดยสารที่ใช้สนามบินเจิ้งโจวซินเจิ้งเพิ่มขึ้นมาจาก 8.7 ล้านคนเป็น 15.8 ล้านคน หรือเติบโตราว 80% ในระหว่างปี2553-2557 ในขณะที่ปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น มากจาก 85,800 ตันถึง 370,000 ตัน หรือเติบโตประมาณ 300%
ทั้งนี้ ZAEZ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก โดยส่วนแรกราว 40% ของพื้นที่ทั้งหมดถูกวางเป็นเขตการบิน ได้แก่ สนามบิน การขนส่งผู้โดยสาร และสินค้า การผลิตชิ้นส่วนและซ่อมอากาศยาน และธุรกิจคลังสินค้าสำหรับธุรกิจห้องแช่เย็นและ อีคอมเมิร์ซ ส่วนที่ 2 ราว 40% ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขตการผลิตสินค้ามูลค่าสูงเพื่อรองรับธุรกิจวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องบิน และผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูง เช่น Foxconn ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกอบโทรศัพท์ iPhone ส่วนที่ 3 กำหนดให้เป็นเขตเมืองบริการ เพื่อรองรับสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โครงการมิกซ์ยูส (mixed-used)

ZAEZ เชื่อมต่อกับการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ ทั้งทางถนนโดยรถบรรทุก ทางรางโดยรถไฟและรถไฟความเร็วสูง อีกทั้งยังเป็นเมืองหลักที่จะเชื่อมระหว่างจีนกับยุโรปผ่านเส้นทางรถไฟตามแผนยุทธศาสตร์ Belt and Road initiative ของจีนอีกด้วย ซึ่งเส้นทางรถไฟนี้ จะเชื่อมกับไทยที่ จ.หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างผลักดันดำเนินการก่อสร้างให้ก่อสร้าง โดยมีสถานีใกล้สุดคือ ฮานอยเวียดนาม
เปิด4โซนใช้พื้นที่โครงการ

พื้นที่ ZAEZ แบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ ตัวสนามบิน พื้นที่ด้านเหนือ พื้นที่ด้านตะวันออก และพื้นที่ด้านใต้ของสนามบิน โดยเขตสนามบิน เป็นพื้นที่ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ และ MICE ประกอบด้วย สนามบิน และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ศูนย์ขนส่งผู้โดยสารทางบก มีรถไฟใต้ดิน รถไฟความเร็วสูง และรถโดยสาร การขนส่งและกระจายสินค้าทางอากาศ คลังสินค้า อีคอมเมิร์ซ การซ่อมบำรุงอากาศยาน ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า และโรงแรม

ทิศใต้ของเขตสนามบิน เป็นพื้นที่สำหรับธุรกิจการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบด้วย การผลิตชีวการแพทย์ (Biomedicine) และวัคซีน การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การผลิตชิ้นส่วน อากาศยาน เป็นต้น เขตทิศเหนือของเขตสนามบิน เป็นพื้นที่อาศัย การศึกษา และบริการ

เขตทิศตะวันออก เป็นพื้นที่ของสถานีรถไฟความเร็วสูง Zhengzhou South Station ซึ่งจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 100,000 คนต่อวัน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยทั้ง 4 โซนเชื่อมต่อถึงกัน ด้วยโครงข่ายถนนขนาดใหญ่ ทุกโซนจะแทรกพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่สีเขียว แหล่งน้ำ และสวนสาธารณะลงไปซึ่งคิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 40% ของพื้นที่ทั้งหมด

อุตฯไฮเทคแห่ลงทุน

ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่สำคัญที่อยู่ภายในเขต ZAEZ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มีผู้ผลิต Smartphone กว่า 60 ราย 1 ในรายที่สำคัญคือ Foxconn ซึ่งมีมูลค่าในการลงทุนราว 360 ล้านดอลลาร์ มีกำลังผลิต Smartphone รวม 299 ล้านเครื่องต่อปี คิดสัดส่วน 14% ของการผลิต Smartphone ทั่วโลก โดยในอนาคตจะเพิ่มเป็น 400 ล้านเครื่องต่อปี

อุตสาหกรรมชีวการแพทย์ (Biomedicine) และวัคซีน มีผู้พัฒนาผลิตทางการแพทย์ ยารักษาโรคกว่า 70 ราย พร้อมศูนย์ทดสอบ พร้อมโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง ซึ่งมีรายได้ต่อปี 1.5 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งยังมีอุตสาหกรรมสมัยใหม่อีก 6 กลุ่มที่สำคัญคือ Aviation Logistics มีบริษัทมาลงทุน 36 บริษัท มูลค่า 4.2 พันล้านดอลลาร์ มีรายได้ประมาณ 7.5 พันล้านดอลลาร์

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มีบริษัทมาลงทุน 431 บริษัท Precision Machinery มีบริษัทมาลงทุน 14 บริษัท มูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์ มีรายได้ประมาณ 11.6 พันล้านดอลลาร์ Information Technology/Cloud Computing มีบริษัทมาลงทุน 221 บริษัท มูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์ มีรายได้ประมาณ 19.3 พันล้านดอลลาร์ Aircraft Manufacturing & Maintenance มีบริษัทมาลงทุน 5 บริษัท มูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ มีรายได้ประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ Modern Trade & Exhibition มีบริษัทมาลงทุน 30 บริษัท มูลค่า 8.7 พันล้านดอลลาร์ มีรายได้ประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์

เมื่อเปรียบเทียบ ZAEZ กับมหานครการบินภาคตะวันออก (EEC Aerotropolis) พบว่าZAEZ มีขนาดพื้นที่ 415 ตร.กม. หรือ 259,375 ไร่ ซึ่งใหญ่เป็น 1.9 เท่าของ EEC Aerotropolis (139,375 ไร่ นับจากศูนย์กลางสนามบินรัศมี 10 กม.) ZAEZ แบ่งเป็นพื้นที่สนามบิน 30,000 ไร่ เมืองการบินภาคตะวันออก สนามบินอู่ตะเภา พื้นที่ 6,500 ไร่ พื้นที่อาศัย การศึกษา และบริการ ที่ ZAEZ ใช้พื้นที่ใน Urban Comprehensive Services Area ของไทยจะใช้เทศบาลเมืองบ้านฉาง เทศบาลตำบลบ้านฉาง ต.พลา
พื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ของ ZAEZ จะใช้พื้นที่ High-End Manufactured Concentrated Area ของไทยจะใช้ทางตอนเหนือสนามบิน ต.สำนักท้อน ต.พลูตาหลวงและ พื้นที่ศูนย์กลางคมนาคม ศูนย์ประชุม ธุรกิจ ZAEZ จะใช้พื้นที่ Port Business Exhibition Area ขณะที่ไทยจะใช้พื้นที่ อ.สัตหีบ เมืองพัทยา