DTAC - ซื้อ

DTAC - ซื้อ

รายได้พลิกฟื้นครึ่งหลังของปี 2562;ปรับลดสมมติฐานงบลงทุน

เราเริ่มเห็นจำนวนผู้ใช้บริการที่ออกจากระบบ (churns) ที่ลดลงและคำร้องเรียนและเสียงบ่นจากลูกค้าที่ลดลงเช่นกันหลังจากที่การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายและการปรับ อุปกรณ์โครงข่ายปัจจุบันให้เข้ากับโครงข่ายคลื่น 2.3 กิกะเฮิร์ซได้เสร็จสิ้นลงในไตรมาส 1/62 ซึ่งถือว่าได้เริ่มสร้างความเชื่อมั่น และเรียกความน่าเชื่อถือจากลูกค้กลับมา ดังนั้น เราจึง คาดว่าจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิและรายได้บริการมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัว ในช่วงครึ่งหลังของปี2562 เราทำการปรับเพิ่มราคาเป้าหมายของเราเพื่อ สะท้อนงบลงทุนที่มีแนวโน้มลดลงจากเดิมสำหรับ ปี 2562-63 เรายังคงคำแนะนำ“ซื้อ” เนื่องจากกำไรหลักปี 2562 ที่มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด

สรุปผลประกอบการไตรมาส 1/62—กำไรหลักสูงกว่าคาด

DTAC รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/62 ที่ 1.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ่น 7%YoY และพลิกกลับจากขาดทุนสุทธิ 4.94 พันล้านบาทในไตรมาส 4/61หากไม่รวมรายการพิเศษในไตรมาส 1/62 ซึ่งได้แก่ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 20 ล้านบาทและขาดทุนจากการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ 69 ล้านบาท กำไรหลักในไตรมาสนี้อยู่ที่ 1.49 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% YoY แต่ลดลง 26% QoQ กำไรสุทธิออกมาตามที่คาดก่อนหน้า และกำไรหลักสูงกว่าคาด 11% เนื่องจากภาระดอกเบี้ยจ่ายและภาษีจ่ายที่ต่ำกว่าคาด ทั้งนี้หลังจากนำเอามาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS15 มาใชตั้้งแต่ไตรมาส 1/62 เป็นต้นไป ส่งผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนไตรมาส 1/62 ได้แก่ 1) รายได้บริการลดลง 229 ล้านบาท 2) รายได้จากการขายอุปกรณ์และโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 249 ล้านบาท 3) ค่าใช้จ่ายในการขายและการทำตลาดเพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท และ 4) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท รายได้บริการ (ที่ไม่รวมไอซี) หลังปรับมาตรฐานบัญชี TFRS15 ลดลง 7.1% YoYและ 2.5% QoQ แต่รายได้บริการ (ที่ไม่รวมไอซี) ก่อนปรับมาตรฐานบัญชีTFRS15 ลดลง 5.7% YoY และ 1% QoQ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าที่ 4

ยอดจำนวนผู้ใช้บริการที่ออกจากระบบ (churns) ลดลงหลังปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายเสร็จสิ้น

บริษัทตั้งเป้างบลงทุน 1.3-1.5 หมื่นล้านบาท (รวมคลื่น 900 เมกะเฮิร์ซเข้าไปแล้ว) สำหรับในปี 2562 ลดลงจาก 1.95 หมื่นล้านบาทในปี 2561บริษัทจะทำการเปิดเผยรายละเอียดด้านกลยุทธ์และทิศทางที่จะทำให้ผลประกอบการของบริษัทกลับมาฟื้นตัวในปี 2562 ในวัน “Capital Market Day” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 4 มิ.ย. 2562 และด้วยเป้าหมายที่จะกลับมาเติบโตทั้งจำนวนผู้ใช้บริการและรายได้ในปี 2562 บริษัทจะมุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพโครงข่ายเพิ่มประสบการณ์ด้านการให้บริการลูกค้าและการสร้างแบรนด์ดิ้งให้แข็งแกร่งมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นหลังจากการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่ายและการปรับอุปกรณ์โครงข่ายให้เข้ากับโครงข่ายของคลื่น 2.3 กิกะเฮิร์ซเสร็จสิ้นไปแล้วในไตรมาส 1/62 เราเริ่มเห็นจำนวนผู้ใช้บริการที่ออกจากระบบและเสียงบ่นหรือคำร้องเรียนจากลูกค้ ที่ลดลง และความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีมากขึ้นต่อคุณภาพโครงข่ายที่ดีขึ้น ซึ่งเราคาดว่าจะเห็นผลกระทบเชิงบวกต่อรายได้บริการให้กลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2562

ผู้บริหารยังคงไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการเข้าประมูลใบอนุญาตคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตเนื่องจากยังคงต้องรอการประเมินมูลค่าของใบอนุญาตคลื่น 700 เมกะเฮิร์ซให้เสร็จสิ้นก่อน เรายังคงให้โอกาสที่ DTAC จะเข้าประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตอยู่ที่ 60%

งบลงทุนปี 2562-63 ที่ลดลงจากสมมติฐานเดิม; ปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย DCF

เนื่องจาก DTAC ได้ทำการลงทุนในโครงข่ายคลื่น 2.3 กิกะเฮิร์ซในเชิงรุกโดยติดตั้งจำนวนสถานีฐานเพิ่มขึ้นอีก 6.8 พันแห่งในไตรมาส 4/61 (หรืออยู่ที่ 1.27 หมื่นแห่ง ณ สิ้นไตรมาส 4/61) และเพิ่มขึ้นอีก 2.7 พันแห่งในไตรมาส 1/62 (หรืออยู่ที่ 1.54 หมื่นแห่ง ณ สิ้นไตรมาส 1/62) เราจึงไม่คาดว่าจะเห็นงบลงทุนในคลื่น 2.3 กิกะเฮิร์ซจำนวนมากในปี 2562 (ไม่ใช่ขยายการติดตั้งในจำนวนที่เท่ากับในไตรมาส 4/61) หลังจากที่ผ่านการติดตั้งโครงข่าย 2.3 กิกะเฮิร์ซไปแล้ว 1.5 หมื่นแห่ง (เทียบกับเป้า 2 หมื่นแห่งก่อนสิ้นปี 2563) เราเชื่อว่า DTAC จะทำการเลือกมากขึ้นสำหรับพื้นที่ที่จะติดตั้งโครงข่าย 2.3 กิกะเฮิร์ซนับจากนี้ไป ทั้งนี้เราทำการปรับสมมติฐานงบลงทุน (ที่ไม่รวมค่าประมูลคลื่นความถี่) ลดลงอีก 24% ในปี 2562 (จาก 2.2 หมื่นล้านบาทเหลือ 1.7 หมื่นล้านบาท) และลดลงอีก 27% ในปี 2563 (จาก 2 หมื่นล้านบาทเหลือ 1.5 หมื่นล้านบาท) ส่งผลให้ราคาเป้าหมายของเราซึ่งประเมินด้วยวิธี DCF ปรับเพิ่มขึ้นอีก 9% (มาอยู่ที่ 61 บาท)