การพัฒนาอาหารแห่งอนาคต

การพัฒนาอาหารแห่งอนาคต

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร (Food for the Future) เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรม S-curve ที่เป็นเป้าหมายของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

โดยรายงานวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการแปรูปอาหาร จัดทำโดยสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป (Processed Food Industry) ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารและเทคโนโลยีด้านอาหาร ได้แก่ การเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับ ด้านความปลอดภัยอาหาร การวิจัยและผลิตโภชนาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก

การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อาหาร จากความหลากหลายทางชีวภาพของวัตถุดิบและความหลายหลายของวัฒนธรรมโดยมุ่งเน้นการผลิตอาหารที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional Foods) เช่น สารทดแทนน้ำตาล (Sugar Substitute) อาหารทางการแพทย์ (Medical Food)

d32d7b1566911643aa176a14658adb35

เหล่านี้ต่างเป็นเป้าหมายเพื่อผลักดันการก้าวไปอีกขั้นของอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ แต่เป้าหมายจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีองค์ความรู้ ส่วนหนึ่งสามารถวัดได้จากจำนวนขอสิทธิบัตรตามเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อพัฒนาการผลิตอาหารแห่งอนาคต