'ม.44' ไฟเขียวยืดหนี้มือถือ 10 ปี-ช่วยทีวีดิจิทัล

'ม.44' ไฟเขียวยืดหนี้มือถือ 10 ปี-ช่วยทีวีดิจิทัล

ประกาศราชกิจจาฯ "ม.44" ไฟเขียวยืดหนี้มือถือ 10 ปี-ช่วยทีวีดิจิทัล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 เม.ย.) เวลา 12.30 น. ราชกิจจานุเบกษาได้ออกประกาศ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบการกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อยืดการชำระใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตซ์ และเพื่อช่วยทีวีดิจิทัล

โดยที่ในปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าสภาพปัญหาจากการแข่งขันทางธุรกิจสำหรับกิจการ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ปัญหาด้านความพร้อมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผลกระทบ จากรายได้ของผู้ประกอบการที่สุจริต อันส่งผลถึงความสามารถในการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้

คลื่นความถี่ได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้นยังคงอยู่ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียม เพื่อให้การประกอบกิจการดังกล่าวสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่น

ให้แก่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่ำน 700 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ซึ่งจะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5จี อันทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มีความมั่นคงและเกิดประสิทธิภำพสูงสุด

โดยประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญสตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่า 895-915 เมกะเฮิรตซ์ และ 960 เมกะเฮิรตซ์ หรือประกาศคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 890-895/935 และ 940 เมกะเฮิรตซ์

ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช. พิจารณาแบ่งชำระเงินจากเงินประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมดที่ผู้รับใบอนุญาต ต้องชำระออกเป็น "สิบงวด" ปีละงวด งวดละเท่า ๆ กัน โดยให้ปีที่ผู้รับใบอนุญาตประมูลคลื่นความถี่ได้ ตามคำสั่งหรือประกาศเริ่มนับเป็นงวดแรก และเมื่อสำนักงานกสทช. พิจารณาแบ่งเงินประมคลื่นความถี่ที่ต้องชำระในแต่ละงวดได้แล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ตามงวดดังกล่าวตั้งแต่ปีพ.ศ. 2563 เป็นต้นไป สำหรับงวดที่ต้องชำระในปี พ.ศ. 2563 ให้ชำระรวมกับเงินชดเชยของงวดที่ผ่านมาด้วย
โดยการขยายงวดจาก 10 งวดนั้น เดิมงวดการชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ 900 แบ่งออกเป็น 4 งวด โดยในปี 2561 ดีแทค ชนะการประมูลจำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ที่ราคา 38,064 ล้านบาท ได้ชำระงวดแรกไปแล้ว 4,020 ล้านบาท เมื่อปี 2561 ส่วนงวดที่ 2 ชำระ 2,010 ล้านบาท ในปี 2563 งวดที่ 3 ชำระ 2,010 ล้านบาท ในปี 2564 และงวดที่ 4 ชำระ 30,024 ล้านบาท ในปี 2565 ขณะที่ เอไอเอส ชนะประมูลราคา 75,754 ล้านบาท จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ ทรู ชนะประมูลราคา 76,298 ล้านบาท จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์
งวดการชำระแบ่ง 4 งวด งวด 1และ2 จำนวน 8,040 ล้านบาทเอไอเอสและทรูฯ จ่ายแล้ว ส่วนงวดที่ 3 จำนวน 4,020 ล้านบาทกำหนดจ่ายกลางปีนี้และ งวดที่ 4 เอไอเอส จะต้องชำระอีก 59,574 ล้านบาทปี 2564 เช่นเดียวกับทรูจะต้องชำระอีก 60,218 ล้านบาทปี 2564

1_16

2_9

3_4

4_3

5_2

6_1