ปชป.ประชุมครั้งแรกหลังแพ้ จับตาไพรมารีโหวตเลือกหัวหน้าใหม่

ปชป.ประชุมครั้งแรกหลังแพ้ จับตาไพรมารีโหวตเลือกหัวหน้าใหม่

พรรคประชาธิปัตย์ ประชุม "กก.บห." ครั้งแรกหลังพ่ายเลือกตั้ง จับตาประเด็นไพรมารีโหวต เลือกหัวหน้าพรรค จะเลิกหรือไม่เลิก



วันนี้( 29 มี.ค) พรรคประชาธิปัตย์ นัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ครั้งแรก หลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรค รักษาการหัวหน้าพรรค เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค นาวาตรีสุธรรม ระหงษ์ ผู้อำนวยการพรรค และนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ที่มาร่วมนั่งหัวโต๊ะการประชุมด้วย

ปชป.ประชุมครั้งแรกหลังแพ้ จับตาไพรมารีโหวตเลือกหัวหน้าใหม่

ทั้งนี้ ฉากหลังห้องประชุมได้มีการเปลี่ยนใหม่เป็นคำว่า “ร่วมกันต่อสู้ เพื่อก้าวต่อไป” สำหรับการประชุม วันนี้ มีวาระพิจารณารับรองการประชุมประจำปี 2561 งบดุลประจำปีของพรรค การประชุมใหญ่พรรค ข้อบังคับพรรค รวมถึงการจัดเตรียมครบรอบ 73 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ ในวันที่ 6 เมษายน และต้องจับตาการเลือกหัวหน้าพรรคที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน หลังลาออก

สำหรับในช่วงบ่ายพรรคได้นัดพูดคุยและรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันกับอดีต ส.ส. และ ว่าที่ส.ส. โดยต้องจับตาท่าทีข้อเสนอของนายถาวร เสนเนียม ว่าที่ ส.ส.สงขลา ที่จะแก้ไขข้อบังคับให้ยกเลิกการหยั่งเสียงหัวหน้าพรรค และให้อดีต ส.ส. ร่วมกำหนดทิศทางการร่วมรัฐบาลได้

ปชป.ประชุมครั้งแรกหลังแพ้ จับตาไพรมารีโหวตเลือกหัวหน้าใหม่


แต่ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และกรรมการบริหารพรรค ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า เตรียมเสนอให้ที่ประชุมไม่ยกเลิกการหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรค แต่สามารถปรับปรุงวิธีการได้เพราะพรรคเป็นของทุกคน จึงควรรับฟังความเห็นจากสมาชิกพรรค ไม่ใช่การเลือกหัวหน้าพรรคจากกลุ่มหรือก๊กภายในพรรคซึ่งจะเป็นการย้อนอดีต

“แต่จะทำรูปแบบไหนต้องหารือกันก่อน ซึ่งมองว่าคุณสมบัติของหัวหน้าพรรคคนต่อไป ต้องเป็นนักปฏิรูป มีประสบการณ์ด้านบริหาร มีอุดมการณ์ที่มั่นคง เปิดกว้าง ไม่อยู่ในสังกัดของใคร และเชื่อว่าการสมัครหัวหน้าพรรค อาจจะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งส่วนตัวพร้อมสนับสนุน แต่หากจะเข้ามาเพื่อตำแหน่ง และอำนาจ ควรให้เกียรติพรรคด้วย”

ปชป.ประชุมครั้งแรกหลังแพ้ จับตาไพรมารีโหวตเลือกหัวหน้าใหม่

นายอลงกรณ์ ยังกล่าวถึง แนวทางการร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐว่า มี 3 แนวทางที่ควรหารือกัน คือ1.พรรคประชาธิปัตย์พร้อมร่วมรัฐบาลทุกเงื่อนไข 2.พร้อมร่วมรัฐบาลแบบมีเงื่อนไข และ 3.พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นฝ่ายค้านอิสระ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่า จะเป็นแนวทางใด แต่เชื่อว่าการตัดสินใจร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล ควรเป็นหน้าที่ของกรรมการบริหารชุดใหม่ ที่จะกำหนดทิศทาง

ปชป.ประชุมครั้งแรกหลังแพ้ จับตาไพรมารีโหวตเลือกหัวหน้าใหม่