วิจัย 'ไบโอเทค' ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

วิจัย 'ไบโอเทค' ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมไทยยังมีผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ภายใต้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี กำหนดให้ นำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆ มาใช้ เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนา

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยที่เป็นเป้าหมาย ได้แก่ ธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเครื่องรับรู้ (Sensors)การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง (Advance Datalytics)และระบบอัตโนมัติการลงทุนและการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เช่น การปรับปรุง พันธุ์พืชและสัตว์อุตสาหกรรมการคัดคุณภาพ บรรจุ เก็บรักษาพืชผัก ผลไม้ หรือดอกไม้ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบเนื้อในผลไม้ และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ

ในส่วนของไบโอเทค โดยรายงานประจำปี 2560 ของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ได้สรุป 41 โครงการพบว่าก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลงานวิจัย มูลค่า 5,637 ล้านบาท

นับเป็นสัญญาณที่ดีว่า การผลักดันการวิจัยเกี่ยวกับไบโอเทคสู่การนำไปใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาด้านการเกษตรของประเทศเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม