'ทียู'เล็งลดหนี้หวัง5 ปี ดีอีเหลือ 1.2 เท่า

'ทียู'เล็งลดหนี้หวัง5 ปี ดีอีเหลือ 1.2 เท่า

'ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป' ตั้งเป้าใน 5 ปี ลดอัตราหนี้สินต่อทุนเหลือ 1-1.2 เท่า จากปัจจุบันที่ 1.35 เท่า เตรียมนำกระแสเงินสด ลดหนี้ ปีละ 5 % จากปัจจุบันที่มี 6.29 หมื่นล้านบาท พร้อมตั้งเป้ารายได้ปีนี้ โต 5 % จากปีก่อน ที่ 1.33 แสนล้านบาท

นายบัลลังก์ ไวยานนท์ ผู้จัดการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เผยว่า บริษัทตั้งเป้า ภายใน 5 ปี ลดอัตราหนี้สินต่อทุน ( D/E ) เหลือ 1-1.2 เท่า จากปัจจุบัน ที่มี D/E ที่ 1.35 เท่า โดยนำกระแสเงินสดที่ได้แต่ละปีไปชำระคืนหนี้ ปีละ 5 % จากปัจจุบันที่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย จำนวน 6.29 หมื่นล้านบาท และการซื้อกิจการของบริษัทอนาคตของบริษัทจะมีขนาดไม่ใหญ่เหมือนในอดีตที่ใช้เงิน ระดับ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อควบคุมภาระหนี้ของบริษัท ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาซื้อกิจการเพิ่มในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของบริษัท ที่ให้ผตอบแทนที่ดีกับบริษัท


สำหรับปี 2562 บริษัทตั้งเป้ารายได้โต 5 % จากปี 2561 ที่มีรายได้ 1.33 แสนล้านบาท เนื่องจาก การเติบโตของการบริโภคอาหารทะเลทั่วโลกมีการเติบโต ทำให้ปริมาณการขายอาหารทะเลยทั่วโลกมีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นปีละ 3-4 % และบริษัทมแผนขยายตลาดใหม่ และสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และบริษัทมีแผนที่จะเจรจากับลูกค้าขายสินค้าให้สะท้อนกับราคาต้นทุนวัตถุดิบ เพื่อทำให้บริษัทรักษาการอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทอยู่ที่ระดับ 15 % และควบค่าใช้จ่ายไม่เกิน 10 % ของรายได้


นอกจากนี้ตั้งแต่ไตรมาส 1/2562 บริษัทจะมีการใช้มาตรการบัญชีใหม่ ( IFRS9) จากที่จะขอทางสมาคมวิชาชีพบัญชี ในการใช้ล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถนำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งมาบันทึกเป็นรายได้ ซึ่งจะทำให้รายได้ของบริษัทสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น จากปัจจุบันที่บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากสกุลเงินต่างประเทศถึง 96-97 % ของรายได้รวม ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทไม่สามารถทำได้


'จากที่บริษัทมีรายได้จากสกุลเงินต่างประเทศถึง 96-97 % ของรายได้รวม ซึ่งตลอด40 ปี ที่ผ่านมา บริษัทมีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินมาตลอด และแต่ละปีมีกำไรอัตราแลกเปลี่ยนปีละกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่ง ทำให้รายได้และกำไรของบริษัทปรับตัวลดลงในรูปของสกุลเงินบาท หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่จากที่บริษัทจะมีการใช้มาตรการบัญชีใหม่ ในไตรมาส 1/2561 ทำให้บริษัทสามารถนำกำไรอัตราแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งมาบันทึกเป็นรายได้ ทำให้ รายได้ของบริษัทจากนี้จะสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น 'นายบัลลังก์ กล่าว


บริษัทตั้งงบลงทุนปีนี้ที่ 4.8 พันล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจเดิมของบริษัทและในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยแห่งเงินมจากกระแสเงินสดของบริษัท ซึ่งในปี 2561 บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 8.4 พันล้านบาท