คนดูและคนทำ..สะท้อนหนังไทยกับภาวะDigital Disruption?

คนดูและคนทำ..สะท้อนหนังไทยกับภาวะDigital Disruption?

เปิดมุมมอง คนดูและคนทำ..สะท้อนหนังไทยกับภาวะDigital Disruption?

งานเสวนา "หนังไทยกับภาวะ Digital Disruption" ที่สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย จัดขึ้นที่อาคาร G Village (19.ม.ค.) มีประเด็นน่าสนใจอยู่เหมือนกัน

"ภาณุ อารี" ผอ.ฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศ สหมงคลฟิล์ม สะท้อนให้ฟังเพื่อนำเสวนาว่า ทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มานาน ไปซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศบ่อยครั้ง มีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันบริษัทคุ้นหน้าคุ้นตาหายไป เขาบอกว่าอยู่ไม่ได้ ตอนนี้กระแสสตรีมมิ่งมาแรง ตกอยู่ในภาวะดิจิทัลดิสรัปชัน ทำหนังฉายโรงอยู่ไม่ได้ ทำให้เกิดคำถามมีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น มีคนเคยบอกว่าเวลาเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรในวงการภาพยนตร์ สุดท้ายคนก็จะกลับมาวงจรเดิมอีกคือกลับมาดูหนัง เหมือนยุค 1950 ทีวีมาแต่สุดท้ายคนก็กลับมาดูหนังโรงอีก หรือยุค 1980 มีวีดีโอเข้ามาแต่สุดท้ายคนก็ก็จะมีหนังกระแสใหม่ๆ ดึงคนกลับมาอีกใช่หรือไม่

"นรณฏฐ ไชยคำ" ผู้ดำเนินรายการ World Trend Voice TV มองว่า ดิจิทัลไม่ได้กระทบแต่วงการภาพยนตร์ แต่กระทบคนในหลายวงการ ไม่ใช่แค่เรื่องสตรีมมิ่งเท่านั้น มันมีเรื่องอื่นๆที่ทำให้คนทำหนังหลักๆยังไม่ได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่เชื่อว่าไม่ตายไปจากดิสรัปชั่นแน่นอน เพียงแต่ต้องปรับรูปแบบ

"เอกชัย เอื้อครองธรรม" ผู้กำกับภาพยนตร์ มองว่าในฐานะเป็นคนเล่าเรื่อง อะไรที่เปลี่ยนไปก็คือเป็นของเล่นใหม่ เพียงแต่เรารู้จักวิธีเล่น และใช้ประโยนชน์หรือเปล่า เรื่องดิจิทัล หรือ สตรีมมิ่ง เหมือนของเล่นเยอะขึ้น เหมือนต้องคิดว่าจะทำอะไรบางอย่าง มันไม่เหมาะกับโรงภาพยนตร์ แต่มันเหมาะที่จะไปทำอะไรใหญ่กว่าเป็นซีรีย์ส์ หรือเป็นสตรีมมิ่งเป็นอีกมิติหนึ่งกับความสัมพันธ์กับผู้ชมได้ ยิ่งเปลี่ยนยิ่งสนุก สามารถทำคอนเทนต์ที่สามารถเผยแพร่ในช่องทางหลากหลาย

คนดูและคนทำ..สะท้อนหนังไทยกับภาวะDigital Disruption?

"ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์" ผู้กำกับภาพยนตร์ สะท้อนว่าชอบดูหนังในโรงภาพยนตร์แต่บางเรื่องก็ดูในจอทีวีที่บ้านก็ใหญ่เหมือนกัน ถามว่าถ้าจะไม่ได้ดูหนังในโรงภาพยนตร์แล้วก็เชื่อว่ามันคงไม่ได้หายไปเร็ว เพราะหนังฟอร์มใหญ่ๆ ยังมีอยู่ แต่หนังเล็กๆ อาจจะต้องหายจากโรงภาพยนตร์ไปอยู่ในเฮาส์เล็กๆ หรือเป็นสตรีมมิ่ง ส่วนตัวทำหนังอิสระและทำหนังตลาดด้วย ซึ่งคิดเหมือน "พี่เอกชัย" การมาของสตรีมมิ่งมันเอื้อประโชยน์ให้เรา เพราะหนังบางเรื่องของเราอาจสู้หนังใหญ่ของฮอลล้วูดไม่ได้ อีกอย่างในไทย ค่าวีทีเอฟก็ยังทำร้ายคนทำหนังรายย่อยอย่างสาหัส เอาหนังเข้าโรงต้องหาเงินใช้หนี้ เพราะฉะนั้น อะไรที่ทำหนังแล้ว ไปสู่วงกว้างให้มากที่สุด ดังนั้นเราจะปรับตัวไปกับของเล่นใหม่หรือช่องทางใหม่ของผู้บริโภคด้วย

นี่เป็นมุมมองคร่าวๆ เกี่ยวกับหนังไทยกับภาวะดิจิทัลดิรัปชั่น ที่จะต้อง "ปรับตัว" สู่รูปแบบหรือช่องทางใหม่ เพื่อเข้าถึงผู้ชม ในชณะที่ "โรงหนัง" ก็ต้องปรับกลยุทธ์ในการดึงผู้ชมเช่นกัน

(ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย)