'รมช.อุตสาหกรรม' ลงพื้นที่ จ.ลำพูนเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน CIV

'รมช.อุตสาหกรรม' ลงพื้นที่ จ.ลำพูนเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน CIV

"รมช.สมชาย" ลงพื้นที่ จ.ลำพูน พบปะผู้นำชุมชน พร้อมเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน CIV บ้านหนองเงือก บ้านดอนหลวง

วันนี้ (12 มกราคม 2562) นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบปะผู้นำชุมชน บ้านหนองเงือก และบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีนางเบญจมาพร เอกฉัตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสิริรัตน์ ไกรวนิช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายจารุพันธ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายอุดม สอนจิตต์ อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ร่วมลงพื้นที่

“บ้านหนองเงือก” ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการสืบทอดงานหัตถกรรมทอผ้าฝ้ายจากรุ่นสู่รุ่น โดยหัตถกรรมในช่วงแรกจะเป็นการทอฝ้ายเพื่อใช้เอง ภายในครอบครัว เนื่องจากในสมัยก่อนเครื่องใช้และเครื่องนุ่งห่มหาซื้อได้ยาก โดยผู้ชายจะใช้เวลาว่างจากการ ทำนาและปลูกพืช มาปลูกและดูแลต้นฝ้าย ส่วนผู้หญิงจะนำฝ้ายมาทอมือด้วยกี่ทอ จะมีตั้งแต่ เสื้อผ้า ผ้าห่ม ไปจนถึง ผ้าเช็ดตัว ส่วนเครื่องใช้กี่ทอ ก็คือ ตุง หรือ ธง โดยตุงสามารถสะท้อนถึงภูมิปัญญา วัฒนธรรม คติ ความเชื่อทางล้านนา และพุทธศาสนา ได้อย่างชัดเจนและตุงยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวยองในการเข้า มาแสดงถิ่นฐานอย่างชัดเจน ปี พ.ศ. 2546 หมู่บ้านดอนหลวงได้เริ่มจัดงาน “สืบสานตานานฝ้ายงามหนองเงือก” ขึ้นเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นได้จัดงานเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยกำหนดจัดงานวันที่ 9-12 เมษายนของทุกปี ปัจจุบันททท.ได้บรรจุงานเทศกาลนี้ลงในปฏิทินการท่องเที่ยว

บ้านหนองเงือกได้รับคัดเลือกให้เป็นเครือข่ายกลุ่มผ้าทอของจังหวัดลำพูนร่วมกับบ้าน ดอนหลวง ฝ้ายทอมือของหมู่บ้านหนองเหงือกยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิม และมีการนำลวดลายดั้งเดิมมาประยุกต์ให้ทันยุคทันสมัยโดยการเพิ่มความสลับซับซ้อนและเล่นสีสันในลวดลาย เช่น ลายเกล็ดเต่าลูกอม ลายเกล็ด เต่าหมู่ ลายเกล็ดเต่าจิ๋ว ลายเกล็ดเต่าตา ลายดอกช้าง ลายดอกนก ลายดอกบัวเครือ ลายดอกขอ ลายไทย เป็นต้น ลวดลายของฝ้ายทอมือบ้านหนองเงือกจึงหลากหลายและทันสมัยอยู่เสมอ

นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่บ้านดอนหลวง หมู่บ้านชาวยองที่มีการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นการทอเพื่อใช้ภายในครัวเรือน แต่เมื่อมีการทอมากขึ้นจึงมีการแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้านจนพัฒนาเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับแม่บ้านและมี การถ่ายทอดภูมิปัญญาสืบต่อกันจนกลายเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องของผ้าฝ้ายทอมือแห่งหนึ่งของ จ.ลำพนู โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่มหัตถกรรมทอผ้าฝ้ายขึ้นในปี 2535 และในปี พ.ศ. 2546 หมู่บ้านดอนหลวงได้ ริเริ่มจัดงาน “แต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง” ขึ้นเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นได้จัดงานเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยกำหนดจัดงานในวันศุกร์แรกของเดือน เม.ย. ของทุกปี 

บ้านดอนหลวงเป็นหนึ่งในความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และคงอยู่ของการทอผ้าฝ้าย โดยมีศูนย์จำหน่ายสินค้าจากผ้าฝ้ายทอมือที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้า หัตถกรรมพื้นบ้าน ทำให้บ้านดอนหลวง มีผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าฝ้าย ทอมือ ผ้าบาติก ไม้แกะสลัก และเสื้อผ้าสาเร็จรูป โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สนับสนุนให้บ้านหนองเงือก และบ้านดอนหลวงเป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (หมู่บ้าน CIV) ซึ่งทั้ง 2 หมู่บ้านได้จัดตั้งถนนสายหัตถกรรมจำหน่ายสินค้าผ้าทอ ชุมชนมีโฮมสเตย์รับรองนักท่องเที่ยวอีกด้วย