พม.เตรียมจัดงานวันเด็กปี62 'เด็กไทยรู้คิด มีจิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ'

พม.เตรียมจัดงานวันเด็กปี62 'เด็กไทยรู้คิด มีจิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ'

12 ม.ค.นี้ "พม." เชิญชวนร่วมงานวันเด็กแห่งชาติ ปี62 ณ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กทม. และ5 สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

เมื่อวันที่ 11 ม.ค.62 นางสุภัชชา สุทธิพล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการแถลงข่าวการดำเนินงานตามภารกิจสำคัญของกระทรวง พม. ดังนี้ 1) รายงานสถานการณ์ทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2561 ไตรมาส 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2561) โดยนางสุวรีย์ ใจหาญ ที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม 2) การลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยนางไพรวรรณ พลวัน อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ 3) การขอรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึก โดยนางพัชรี อาระยะกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. 4) ผลสำรวจการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการช่วยเหลือแม่วัยรุ่น มาตรฐานเด็กปฐมวัย และมหกรรมวันเด็กแห่งชาติ โดยนายสมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน และ 5) การจัดงานวันเด็ก "พก.รวมใจให้น้อง” โดยนางสุภัชชา สุทธิพล รองปลัดกระทรวง พม. ณ บริเวณโถง ชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ

นางสุภัชชา กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคม พร้อมเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาสังคมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตามภารกิจด้านเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สำหรับรายงานสถานการณ์ทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ปี 2561 ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2561) มีประเด็นน่าสนใจ ได้แก่ 1) การพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้วยเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นสวัสดิการทางสังคมที่รัฐช่วยเหลือเด็กแรกเกิดในครอบครัวยากจน ที่มีเด็กแรกเกิด 0 – 3 ปี โดยได้รับเงินอุดหนุนต่อเดือนคนละ 600 บาท จำนวน 525,728 คน 2) การขับเคลื่อน การพัฒนาสังคมด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบของ "จิตอาสา” อาทิ การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จิตอาสาธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ การเป็นหุ้นส่วนทางสังคม โดยเฉพาะภาคธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม กับการพัฒนาสังคม และกองทุนสวัสดิการชุมชนสำหรับการดูแลคนในทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นต้น 3) ความมั่นคงด้าน ที่อยู่อาศัย โดยการเตรียมดำเนินโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงระยะที่ 2 การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ สินเชื่อผู้ประกอบการสร้างที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย และที่ดินของรัฐรองรับผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น

นางสุภัชชา กล่าวต่อไปว่า สำหรับประเด็นที่ห่วงใย ได้แก่ 1) ครอบครัวมีความเปราะบางทางสังคมและเศรษฐกิจสูง ส่งผลให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ซึ่งปัจจุบันอัตราการคลอดของแม่วัยรุ่นไทยอยู่ในระดับที่สูง ส่งผลกระทบเชิงลบ ต่อปัญหาสุขภาพแม่และเด็ก โอกาสทางการศึกษา กำลังแรงงาน การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย และการทิ้งทารก โดยการป้องกันและแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสนับสนุนครอบครัวที่มีความเปราะบางมากที่สุดเป็นอันดับต้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยการเสริมพลังครอบครัวและชุมชน การพัฒนาระบบการช่วยเหลือ การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ และการพัฒนาฐานข้อมูลด้านเด็ก และเยาวชน เพื่อจัดบริการที่เหมาะสม 2) ความรุนแรงในสังคม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 7-10 ราย/วัน ผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 เป็นเด็กและสตรี ผู้ถูกกระทำรุนแรงทางเพศอายุน้อยลง ร้อยละ 60 เป็นเด็กและเยาวชน อายุ 5-20 ปี ทั้งนี้ รัฐบาล ได้ประกาศเจตนารมณ์ให้ปี 2562 เป็นปีแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว และความรุนแรง ในสังคมทุกรูปแบบ จำเป็นต้องอาศัยพลังของสังคมในการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากครอบครัว ด้วยการรณรงค์สังคมไทยไร้ความรุนแรง เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคม และการบูรณาการ ความร่วมมือในการทำงานเชิงพื้นที่ ซึ่งกระทรวง พม. พร้อมบูรณาการความร่วมมือในการทำงานเชิงรุกร่วมกับภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนในทุกระดับอย่างเต็มที่

นางสุภัชชา กล่าวต่อไปว่า โรงเรียนผู้สูงอายุระดับภูมิภาคในพื้นที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เป็นการเสริมสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีการพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมกับสังคมและชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมใน การแสดงศักยภาพ ภูมิความรู้และประสบการณ์ ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข รวมถึงสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นการลดภาวการณ์พึ่งพิงและเป็นพลังให้กับสังคม ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ได้ขับเคลื่อนโรงเรียนผู้สูงอายุระดับภูมิภาคฯ ผ่านกลไกของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย รวมทั้งสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ 50 เขต ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน มีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 1,424 แห่ง นอกจากนี้ มีความร่วมมือกับ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สถานีวิทยุ ม.ก.) ด้วยการจัดทำบันทึกความร่วมมือ "MOU ความร่วมมือทางวิชาการด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ” โดยการนำองค์ความรู้และหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีอยู่ของ ผส. มาผลิตรายการ เพื่อออกอากาศตามผังรายการหลักของสถานีวิทยุ ม.ก. ด้วยระบบ เอ.เอ็ม. สเตอริโอ จำนวน 4 สถานี (4 ภูมิภาค) และการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนผู้สูงอายุทางสถานีวิทยุ ม.ก. AM 612 kHz. ณ เทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และคาดว่าจะมีผู้สูงอายุรุ่นแรก จำนวน 100 คน ถือว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและเป็นกรณีศึกษานำร่องสู่การพัฒนาและขยายผลในพื้นอื่นต่อไป ทั้งนี้ ขอเชิญชวนรับฟังการถ่ายทอดสดทั้งภาพ และเสียงผ่านทางเครือข่ายสถานีวิทยุ ม.ก. ผ่านทาง Mobile Application ในระบบ Android ระบบ iOS และผ่านทาง Facebook Live โดยพิมพ์ค้นหาคำว่า "สถานีวิทยุ ม.ก.” ทาง Youtube Live โดยพิมพ์ค้นหาคำว่า "KU Radio Thailand” ซึ่งสามารถรับชมและรับฟังย้อนหลังได้เช่นกัน นอกจากนี้ มีการถ่ายทอดสัญญาณทั่วประเทศในระบบ เอ.เอ็ม. สเตอริโอ จำนวน 4 สถานี (4 ภูมิภาค) ดังนี้ 1) ภาคกลาง สถานีวิทยุ ม.ก. บางเขน AM 1107 kHz 2)ภาคเหนือ สถานีวิทยุ ม.ก. เชียงใหม่ AM 612 kHz 3) ภาคใต้ สถานีวิทยุ ม.ก. สงขลา AM 1269 kHz และ 4) ภาคอิสาน สถานีวิทยุ ม.ก. ขอนแก่น AM 1314 kHz”

นางสุภัชชา กล่าวต่ออีกว่า จากกรณีเหตุการณ์พายุโซนร้อนปาบึกในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกที่ติดชายฝั่งทะเล จำนวน 23 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าวได้คลี่คลายแล้ว 20 จังหวัด แต่ยังมี 3 จังหวัด ที่ประชาชนยังได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้มีแผนการฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประสบภัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านชีวิต 2) ด้านที่อยู่อาศัย 3) ด้านอาชีพ และ 4) ด้านสาธารณประโยชน์ สำหรับด้านที่อยู่อาศัยมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบและต้องการสร้าง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,216 ครัวเรือน แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายทั้งหลัง จำนวน 33 หลัง และได้รับความเสียหายบางส่วนที่ต้องซ่อมแซม จำนวน 3,183 หลัง ขณะนี้ กระทรวง พม. ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือสร้างบ้านใหม่ จำนวน 1 หลัง และซ่อมแซมบ้าน จำนวน 399 หลัง สำหรับบ้านส่วนที่เหลือจะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป นอกจากนี้ ได้เปิดรับบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อนำไปช่วยเหลือ สร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยสามารถมาบริจาคด้วยตัวเองหรือบริจาคผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ 1) โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขา สะพานขาว บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 021–0–21170-9 ชื่อบัญชี "ศูนย์รับบริจาคกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” 2) โทรศัพท์ประสานแจ้งความประสงค์บริจาคได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมงหรือ 0 2306 8874 3) บริจาคผ่านแอบพลิเคชั่น "เป๋าตุง กรุงไทย” ได้ทั้งระบบ iOS และ Android และ 4) บริจาคผ่านแอพพลิเคชั่น "ทรูมันนี่ วอลเล็ท” โดยเลือกโครงการ "การให้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่างบริษัท ทรู มันนี่ จำกัด กับกระทรวง พม. โดยเงินบริจาคดังกล่าวสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ต่อไป

นางสุภัชชา กล่าวต่อไปว่า พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 เป็นการวางแผนใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการจัดการองค์ความรู้แก่แม่วัยรุ่นและครอบครัวและเป็นฐานข้อมูลใน การวางแผนในระดับนโยบาย โดยมีการจัดเก็บข้อมูลแนวทางการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการช่วยเหลือแม่วัยรุ่น โดยบ้านพักเด็กและครอบครัว จำนวน 76 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลสำคัญของบ้านพักเด็กและครอบครัว จำนวน 58 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ76.31 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่วัยรุ่นอายุ 10 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ จำนวน 11,012 คน ประกอบด้วย 1) การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก พบว่า ร้อยละ 53.38 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 16 -18 ปี รองลงมาคือ ร้อยละ 32.08 อายุ 13 –15 ปี 2) สาเหตุการตั้งครรภ์ พบว่า ตั้งใจร้อยละ 50.44 และไม่ตั้งใจ ร้อยละ 49.56 และ 3) การนาไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ พบว่า อันดับ 1 การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ76.96 รองลงคือ การอยู่กับเพื่อนต่างเพศสองต่อสองในที่ลับตาคน ร้อยละ 63.56 สำหรับแนวทางการช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมให้มีอาชีพและรายได้ 2) การส่งเสริมให้แม่วัยรุ่น มีทักษะการเลี้ยงดูบุตรอย่างเหมาะสม 3) การส่งเสริมให้ความรู้และทักษะในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 4) การสนับสนุนให้การศึกษาต่อที่สูงขึ้น 5) การรณรงค์ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ยาเสพติด 6) การส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมไทย ตามเพศวิถีที่ดี 7) การส่งเสริมให้มีพื้นที่สร้างสรรค์สาหรับวัยรุ่น และ 8) การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

นางสุภัชชา กล่าวต่อไปว่า ด้วยมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 มกราคม 2562 ได้กำหนดการใช้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ เป็นมาตรฐานกลางของประเทศ โดยให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณานำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่อยู่ภายใต้การกากับ ดูแล และรับผิดชอบ ได้มีการบริหารจัดการ และประเมินผล เพื่อยกระดับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานฯ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) มาตรฐานด้านที่ 1 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) มาตรฐานด้านที่ 2 ครู/ผู้ดูแลเด็ก และ 3) มาตรฐานด้านที่ 3 คุณภาพของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ กระทรวง พม. ในฐานะของหน่วยขับเคลื่อนมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่การปฏิบัติ ได้จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ หรือ การประเมินออนไลน์ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนมาตรฐานสู่การปฏิบัติ โดยให้ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ประมาณ 53,000 แห่ง ได้นำเข้าข้อมูลการดาเนินงานและประเมินตนเองเข้าระบบ ซึ่งมีการประมวลผลโดยอัตโนมัติ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และนำไปจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายในการยกระดับคุณภาพของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแต่ละแห่งให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน สู่เป้าหมายเพื่อให้เด็กที่เข้ารับบริการได้มีพัฒนาการสมวัย และ พร้อมที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับประถมศึกษา โดยมีการรายงานให้คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) และคณะรัฐมนตรีพิจารณาทุกปี

นางสุภัชชา กล่าวต่อไปว่า ด้วยรัฐบาลได้กำหนดให้วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ เพื่อให้ ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กและเยาวชน เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพอันเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) มีภารกิจสำคัญในการคุ้มครอง และพัฒนาศักยภาพคนพิการ เด็กที่อยู่ในความอุปการะของสถานคุ้มครอง ซึ่งเป็นเด็กพิเศษ มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป จำเป็น ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ ฝึกฝนทักษะต่างๆ ให้เกิดความชำนาญและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงได้ร่วมจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562 ภายใต้ชื่องาน "วันเด็ก พก. ปากเกร็ด รวมใจให้น้อง” ณ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ปากเกร็ด นนทบุรี 5 แห่ง ได้แก่ 1) สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า 2) สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ 3) สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านราชาวดีหญิง 4) สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านราชาวดีชาย และ 5) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวน เข้าร่วมงาน งาน "วันเด็ก พก. ปากเกร็ด รวมใจให้น้อง” ณ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ปากเกร็ด นนทบุรี จำนวน 5 แห่งดังกล่าว ระหว่างเวลา 07.30 – 12.00 น.

"นอกจากนี้ หน่วยงานสังกัด กระทรวง พม. ประกอบด้วย กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส. ) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชน มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน (คาเฟ่อเมซอน) ซีพีแรม ธนชาติโบรกเกอร์ มูลนิธิลมหายใจไร้มลทิน บริษัทซูซูกิมอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด บริษัทไทยน้ำทิพย์จำกัด และบริษัท แลคตาซอย จำกัด กำหนดจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น ภายใน บริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ภายใต้หัวข้อ "เด็กไทยรู้คิด มีจิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ” ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญ วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562 ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ว่า "เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ" ทั้งนี้ มีการจัดโซนกิจกรรม 6 โซน ประกอบด้วยกิจกรรมสำหรับเด็กและครอบครัวที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ รัชการที่ 10 เรื่อง 2) จิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ 3) การแสดงบนเวทีของเด็กในอุปการะของสถานสงเคราะห์ และ 4) กิจกรรม ของภาคเอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย และกลุ่มเยาวชน อาทิ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกผ่านนิทรรศการ (KID DO) เช่น การคัดแยกขยะ การอ่านออกเสียง และการปลูกต้นไม้ กิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ การแสดงดนตรี เกม และการจับสลากของขวัญพิเศษ ทั้งนี้ กระทรวง พม. ขอเชิญชวนเข้าร่วมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562 ณ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีและ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ปากเกร็ด นนทบุรี จำนวน 5 แห่งข้างต้น ระหว่างเวลา 07.30 – 12.00 น.” นางสุภัชชา กล่าวในตอนท้าย