เปิดโผผลงานเข้าชิง 'รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน' ปี 2561

เปิดโผผลงานเข้าชิง 'รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน' ปี 2561

แอมเนสตี้ เปิดโผผลงานเข้าชิง "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ปี 2561

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดโผผลงานข่าวและสารคดีเชิงข่าวที่เข้าชิง "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2561 (Media Awards 2018) ทั้งหมด 14 ผลงานใน 4ประเภท โดยจะมีงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัลในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562 ณ โรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ (AVANI Riverside Bangkok)

จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ทางคณะกรรมการตัดสินขอแจ้งรายชื่อผลงานที่ผ่านเข้าชิงรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2561 ดังต่อไปนี้ 

ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

  • ผลงานชุด "ผู้ต้องกักและผู้ลี้ภัยในเขตเมือง 101" หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
  • ผลงานชุด "น้องนนท์...จากคนกีฬาชายขอบไร้สัญชาติ สู่วันที่คราบน้ำตาแห้งพร้อมสู้เพื่อชาวไทย" หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

  • ผลงานเรื่อง "เปิดตาตีหม้อ-สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด" เว็บไซต์ the101.world
  • ผลงานเรื่อง "บทเรียนจากแดนประหารจากช่างภาพญี่ปุ่น-โทชิ คาซามะ" เว็บไซต์สนุกดอทคอม
  • ผลงานเรื่อง "ชีวิตยามเกษียณ: 'ชีวิตดี' เกิดจนตาย รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ในชาตินี้" เว็บไซต์ประชาไท
  • ผลงานเรื่อง "4 ปีรัฐประหาร: ความตายของชัยภูมิ ป่าแส สิทธิมนุษยชนยุคทหารที่ไร้คำตอบ" เว็บไซต์บีบีซีไทย
  • ผลงานเรื่อง "In The Name Of The Mother เปลวเพลิงในดวงตาพะเยาว์ อัคฮาด" เว็บไซต์the101.world

 ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

  • ผลงานเรื่อง "วิสามัญ 'ชัยภูมิ ป่าแส' ควันปืนที่บดบังข้อเท็จจริง" สถานีโทรทัศน์นิวทีวี 
  • ผลงานเรื่อง "โรฮิงญากลางฤดูอพยพ" สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • ผลงานเรื่อง "ค้ามนุษย์ข้ามชาติ" สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี
  • ผลงานเรื่อง "ซ่อมVSซ้อม ธำรงวินัยทหารอดทน" สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์

สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยขอขอบคุณและชื่นชมผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด และขอเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนผลิตผลงานที่มีคุณค่า โดยนำเสนอข้อมูลข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ผู้รับสารได้ตระหนักและเข้าใจสิทธิมนุษยชนทั้งของตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เพื่อพัฒนาสังคมที่โปร่งใส เป็นธรรม และยั่งยืนต่อไปในอนาคต เพราะเราเชื่อว่าคุณภาพของสื่อสะท้อนถึงคุณภาพของสังคม