ปชช.50% ไม่ประทับใจ 'สตม.' เหตุบริการล่าช้ารอนาน

ปชช.50% ไม่ประทับใจ 'สตม.' เหตุบริการล่าช้ารอนาน

ผลสำรวจเผย ปชช.50% ไม่ประทับใจ "สตม." เหตุบริการล่าช้ารอนาน แนะทำงานเร็วขึ้น อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อ

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีหน้าที่ให้บริการบุคคลในการเดินทางข้ามแดนเข้า-ออกประเทศ และการรักษาความมั่นคงของประเทศ ในการสกัดกั้นบุคคลต้องห้ามหรือไม่พึงประสงค์ รวมทั้งป้องกันภัยคุกคามต่อความมั่นคงในรูปแบบต่างๆเพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เคยติดต่อหรือใช้บริการ ของ สตม.ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 462 คน ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน -2 ธันวาคม 2561 สรุปได้ ดังนี้


1.ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ “สตม.” (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)” 
ความคิดเห็นเชิงบวก

อันดับ 1 การให้บริการดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เดินทางเข้า-ออก ประเทศ 50.00%

อันดับ 2 มีการพัฒนาที่ดีกว่าเดิม ปรับปรุงการให้บริการ การทำงานเป็นระบบมากขึ้น 35.53%

อันดับ 3 เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญดูแลรักษาความปลอดภัย ความมั่นคงของประเทศ 14.47%


ความคิดเห็นเชิงลบ

อันดับ 1 การให้บริการล่าช้า รอนาน 47.15%

อันดับ 2 การทุจริต เรียกเงิน รับผลประโยชน์จากไกด์ และนักท่องเที่ยว 27.14%

อันดับ 3 ปล่อยให้มีการแอบลักลอบเข้าประเทศ 25.71%


2. สิ่งที่ “ประทับใจ” เกี่ยวกับ “สตม.” (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)” คือ

อันดับ 1 เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความสุภาพ เต็มใจในบริการ 38.77%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแล อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว 31.52%

อันดับ 3 การปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท ตั้งใจ 29.71%


3. สิ่งที่ “ไม่ประทับใจ” เกี่ยวกับ “สตม.” (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)” คือ

อันดับ 1 บริการล่าช้า รอนาน เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 50.86%

อันดับ 2 เจ้าหน้าที่แสดงอารมณ์หงุดหงิด หน้าบึ้ง เสียงดัง 34.48%

อันดับ 3 การเรียกเก็บเงินเรียกรับผลประโยชน์จากผู้มาติดต่อใช้บริการ 14.66%


4. สิ่งที่ประชาชนอยากให้ “สตม.” (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)” ดำเนินการเร่งด่วน คือ

อันดับ 1 ทำงานเร็วขึ้น อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อ 41.88%

อันดับ 2 แก้ไขภาพลักษณ์การเรียกรับผลประโยชน์จากผู้เดินทางและปัญหาคอรัปชั่น 20.58%

อันดับ 3 ปรับปรุงมารยาทของเจ้าหน้าที่ การให้บริการควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน 19.13%

อันดับ 4 นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานพัฒนางานบริการออนไลน์ 13.00%

อันดับ 5 เพิ่มหน่วยบริการย่อยตามสถานที่สำคัญๆ มีจุดบริการมากขึ้น 5.41%