เรียนรู้ประวัติศาสตร์ 'รับขวัญข้าว' ประเพณีดั้งเดิมแบบไทยๆ

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ 'รับขวัญข้าว' ประเพณีดั้งเดิมแบบไทยๆ

แต่ดั้งแต่เดิม ประเพณีที่น่าสนใจมีอยู่อย่างหลากหลายแขนง หนึ่งในนั้นที่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่ อาจยังไม่เคยรู้นั่นคือประเพณี "การรับขวัญข้าว" ที่หลายคนอาจสงสัย ว่าทำไม "ข้าว" ที่เรากินกันอยู่ทุกวัน

ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติที่ขาดเสียไม่ได้ในทุกมื้อ ถึงจะต้องมารับขวัญข้าว วันนี้มีเกร็ดความรู้สั้นๆ แต่เข้าใจง่ายมาให้ดูกัน ไปทำความรู้จักกับประเพณีนี้กัน…

7_2

ประเพณีรับขวัญข้าว เรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่ทำกันในเกือบทุกพื้นที่ทำนาของประเทศไทย แต่อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ประเพณีรับขวัญแม่โพสพ ประเพณีทำขวัญข้าว ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ ฯลฯ แต่การประกอบพิธี จะมีความคล้ายๆ กัน อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง

2_17

ในส่วนของรายละเอียดของบททำขวัญ เครื่องเซ่นไหว้ และรูปแบบพิธีการ โดยเป็นประเพณีที่ชาวนาส่วนใหญ่เชื่อว่า แม่โพสพเป็นเทพธิดาประจำต้นข้าว และเป็นผู้คุ้มครองดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ได้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ชาวนาจึงได้ให้ความเคารพนับถือกราบไหว้แม่โพสพมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล

6_4

และด้วยความเชื่อที่ว่า “แม่โพสพเป็นผู้หญิง ตกใจและเสียขวัญง่าย จึงมักจะมีการทำพิธีรับขวัญแม่โพสพในทุกๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับต้นข้าว” ทั้งในช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง หรือในช่วงที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวและนำข้าวขึ้นไปเก็บในยุ้ง เป็นต้น โดยชาวนามีความเชื่อว่า เมื่อทำให้แม่โพสพพึงพอใจแล้วจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำนาให้กับชาวนาได้เป็นอย่างดี

5_5

ประเพณีรับขวัญแม่โพสพในระยะข้าวตั้งท้อง มักจะทำในช่วงออกพรรษาหรือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ของทุกปี และนิยมทำพิธีกันในวันศุกร์ สำหรับของประกอบในพิธี ด้วยตามความเชื่อแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงเชื่อว่าท่านอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง เช่นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ชาวนาในชุมชน จึงทำพิธีทำขวัญแม่โพสพที่แปลงนาพร้อมกันในช่วงเวลาที่ข้าวตั้งท้อง โดยจัดนำอาหารคาวหวาน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว สำหรับคนแพ้ท้อง เช่น มะยม มะเฟือง มาเป็นเครื่องเซ่นสังเวย รวมทั้งมีความรักสวยรักงามเจ้าของนาจึงได้นำ เครื่องแต่งกาย เช่น สไบ สร้อยทอง รวมถึงเครื่องเสริมความงามต่าง ๆ เช่น หวี กระจก แป้งจันทร์ น้ำมันหอม มาเป็นเครื่องแต่งตัวให้กับแม่โพสพ ซึ่งชาวนาเชื่อว่าเมื่อทำให้แม่โพสพพึงพอใจแล้วท่านจะทำให้ข้าวในนา มีผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีแมลงและศัตรูข้าวมารบกวน อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาอีกด้วย

9_1

สำหรับพิธีรับขวัญข้าว สามารถหาชมได้ทั่วไป ตามช่วงเวลาหลังออกพรรษา แต่ทั้งหมดได้จำลองพิธีการรับขวัญข้าวไว้ที่งาน “นาล้ง” นิทรรศการข้าวไทย นากลางกรุง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะได้เห็นความสวยงามของผลิตผล “ข้าว” ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างครบครันและสมบูรณ์ที่สุด เห็นถึงรากเหง้าดั้งเดิมของคนไทย ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักในการส่งออก รวมถึงการได้เห็นการจะมาเป็นข้าว ที่พร้อมเสิร์ฟทุกคนบนโต๊ะอาหารทุกมื้อของคนไทย กันในระหว่างวันที่ 8-19 สิงหาคม 2561 ณ โครงการล้ง 1919 ท่าประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย-จีน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถ.เชียงใหม่ เขตคลองสาน เปิดให้เข้าชมฟรี! รายละเอียดเพิ่มเติมทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ LHONG1919

8_1