Coach ME ธุรกิจจับคู่ 'ผู้สอน-ผู้เรียน’

Coach ME  ธุรกิจจับคู่ 'ผู้สอน-ผู้เรียน’

สร้างชุมชน เป็นช่องทางการตลาด และสร้างแบรนด์ให้กับทาง “ครู/ผู้สอน” เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้ตรงจุด

ธุรกิจ “จับคู่” ระหว่างคนกลุ่มหนึี่งกับอีกกลุ่มโดยมีเทคโนโลยีเป็น “ตัวกลาง” คอยทำหน้าที่เชื่อมทั้งสองฝั่งเข้ามาหากัน สร้างเป็นมูลค่า และตอบปัญหาได้

 “Coach ME” เป็นอีกหนึ่งโมเดลธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อการ “จับคู่” ระหว่าง “ผู้สอน” กับ “ผู้เรียน” ทางด้านดนตรี โดยทีมงานที่ประกอบด้วย นิศรีน ศรีสุพลี ,สุกฤษฏ โหวธีระกุล ,ณิชชา คงสีดี และสาวิตรี แผนสมบูรณ์

นิศรีน ศรีสุพลี ผู้บริหาร Coach ME บอกถึงจุดเร่ิ่มต้นมาจากตัวเองที่เมื่อเรียนจบด้านดนตรี จากนั้นไปเป็นครูสอนดนตรีในสถาบันต่างๆ แล้วพบปัญหาที่อยากจะหาโซลูชั่นเข้ามาช่วยให้ทั้งผู้สอนได้มีรายได้ที่่ดีขึ้น ทางด้านผู้เรียนก็สะดวกและมีทางเลือกในการได้ครูเก่งๆ มาสอน 

"จากที่มีโอกาสไปเป็นครูสอนดนตรีตามสถาบัน แล้วรู้สึกว่าโดนกดราคาเยอะ ก็เลยคิดว่างั้นเป็นตัวกลางดีกว่า ข้อดีที่เราก็มีเพื่อนเยอะที่จบมาทางด้านดนตรี แต่ไม่รู้จะหานักเรียนได้อย่างไร ก็เลยเริ่มคิดถึงการเป็นตัวกลางแมชชิ่ง นักเรียนกับครู 

ในตอนแรกยังเป็นออฟไลน์ แต่ก็พบว่ามีคนซื้อคอร์สเรียนแรกเป็น 25,000 ให้ไปสอนที่บ้าน ทำให้มองถึงโอกาสที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจได้ จากนั้นก็ต่อยอดพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่น"

รูปแบบของแพลตฟอร์มนี้จะแตกต่างจากคอร์สเรียนออนไลน์อื่นๆ ที่สร้างคอร์สเรียน แล้วคลิกซื้อเรียนออนไลน์ แต่สำหรับ Coach ME ทำหน้าที่ในการสร้างชุมชน เป็นช่องทางการตลาด และสร้างแบรนด์ให้กับทาง “ครู/ผู้สอน” ได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย “ผู้เรียน” ได้ตรงจุด

ทุกครั้่งที่คลิกซื้อคอร์ส ผู้เรียน จะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึั้น ขณะที่ในฝั่งของ ผู้สอน จะมีค่าใช้จ่ายการใช้ระบบ

"ครูจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อระบบเป็นรายปี หรือ ประมาณเดือนละ 299 บาท เพื่อซื้อระบบบริหารงานสอน ช่องทางการจัดจำหน่าย และการทำตลาด ซึ่งรายได้จะเกิดขึ้นจากตรงนี้ 

โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการแมชชิ่ง

วิธีนี้เป็นการสร้างแพลตฟอร์มให้ครูกับผู้เรียนได้มาเจอกัน เป็นอีกทางเลือกสำหรับนักศึกษา รวมถึงคนวัยทำงานที่ต้องการเพิ่มทักษะของตัวเอง

ในอีกทางเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มครูผู้สอน"

หลังจากคลิกเลือกเรียนกับครูท่านใดแล้วจากนั้นก็เข้าสู่การเรียนซึ่่งส่วนใหญ่เป็นการเดินทางไปสอนที่บ้านของผู้เรียน 

ด้วยรูปแบบการเรียนที่เป็นออฟไลน์ นิศรีน บอกยัง เชื่อว่าเรียนออฟไลน์ ทำให้ได้บรรยากาศของการเรียนรู้ แตกต่างจากเจ้าอื่นๆ ที่เน้นเรียนออนไลน์ 100%

จากสิ่่งที่คิดว่าจะแก้ปัญหาและมองว่าการเรียนแบบตัวต่อตัวจะทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพได้มากนั้น นิศรีน บอกมาถูกทางแล้วจากที่ทำมา 2 ปีพบจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้น

“ปีที่แล้วทำ MVP เพื่อดูว่าคนจะจ่ายเงินมั้ย และมีการซื้อซ้ำแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อซ้ำ”

สำหรับแผนงานในปีนี้ โฟกัสที่การขยายเน็ตเวิร์ค และโปรดักท์ให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาทีม

หนึ่งในการทำงานร่วมกับเน็ตเวิร์คที่เป็นกลุ่มครูผู้สอน ซึ่งตอนนี้มีผู้สอนในระบบแล้วกว่า 200 คน โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาและสร้างมาตรฐานการสอนโดยจะมีการอบรมครูทุก 3 เดือน เนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐานการสอน และจิตวิทยาการสอน เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการทำงานที่ ต้องการสร้างมาตรฐานให้ครูในประเทศไทย

"เพื่อให้ Coach ME เป็นสร้างศูนย์กลางให้คนทุกเพศทุกวัยมาเรียน โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำและได้เรียนกับครูที่ดี รวมถึงการสร้างทางเลือกวิชาอื่นๆ มากกว่าด้านดนตรี อย่างเช่น คนต้องการเรียนทางด้านเทคโนโลยี AI กันเยอะแล้วอยากให้ไปสอนตัวต่อตัวหลังเลิกงาน

ในอีกด้านที่ให้ความสำคัญก็คือ การพัฒนาทีมงาน

“Mindset ของคนในทีมในเรื่องความเป็นผู้ประกอบการมองว่าสำคัญที่สุด ไม่ต้องการคนเก่ง แต่ต้องการคนที่มีศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง เชื่อว่าถ้าคนพร้อมเรียนรู้เดี๋ยวงานก็ดีได้เอง” 

ที่กล่าวมาเป็นการเดินไปข้างหน้าอีกสเต็ปของ Coach ME โดย นิศรีน บอก ก่อนหน้านี้ไม่เคยทำสตาร์ทอัพมาก่อน ความยากมันอยู่ตรงที่ โลกไปเร็วมาก ดังนั้นการทำงานจึงไม่ได้แข่งกับตัวเอง แต่แข่งกับเทรนด์โลก 

เพราะวันนี้สิ่งที่เจอคือคู่แข่งเกิดขึ้นทุกวัน ที่ต้องทำคือ เชื่อในสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ และหมั่นตรวจสอบธุรกิจอยู่ตลอดเวลา

พัฒนาทักษะผ่านตัวโน๊ต 

Coach ME เริ่มทดสอบตัวเองด้วยการเข้าร่วม Pitching ในเวทีต่างๆที่เปิดโอกาส ล่าสุด เข้าร่วมโครงการ GSB สุดยอด SMEs Startup ปีล่าสุด โดยที่สามารถเข้าสู่รอบ 100 ทีมสุดท้ายได้เป็นผลสำเร็จ 

จากจุดเริ่มต้นที่เห็นว่าคนวัยทำงานอยากที่จะเรียนแต่ขาดความกล้าและมีข้อจำกัดด้านเวลา หรือในกรณีน้องๆ วัยเรียนที่ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลา รับ-ส่ง ให้ไปเรียนตามสถาบันต่างๆ ที่เปิดสอน การไปสอนตามบ้านของนักเรียน หรือนอกสถานที่อื่นๆ จึงเป็นทางออกที่ได้รับการตอบรับตลอด 2 ปีที่ผ่านมา 

วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ เปียโน classic, pop, jazz  ในส่วนของเครื่องสายก็เช่น ไวโอลิน, วิโอล่า , เครื่องเป่า ได้แก่ แซกโซโฟน รวมถึง กลองชุด นอกจากนี้ยังมีเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีดนตรีสำหรับผู้ที่ต้องการเน้นทักษะทฤษฎี การวิเคราะห์ดนตรี

โดยทีมครูที่มาจากวิทยาลัยดนตรี จาก ม.มหิดลดุริยางคศิลป์, ม.ศิลปากร, เกษตร, สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และครูจากต่างประเทศ

ซึ่งข้อดีของการเรียนในรูปแบบนี้ คือการเลือกครูผู้สอน สามารถจัดเวลาได้ตามต้องการ และเลือกคอร์สเรียนได้ตามกำลังที่สามารถจ่ายได้ อาทิ การชำระเป็นรายเดือน