'ซีพี ออลล์' บริษัทไทยหนึ่งเดียวใน 100 อันดับ บริษัทสุดยอดนวัตกรรมโลก

'ซีพี ออลล์' บริษัทไทยหนึ่งเดียวใน 100 อันดับ บริษัทสุดยอดนวัตกรรมโลก

มุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย นับเป็นบริษัทคนไทยรายเดียวที่ติด 1 ใน 100 บริษัทสุดยอดนวัตกรรมโลก โดยอยู่อันดับที่ 23

จัดโดยนิตยสาร Forbes ร่วมกับ Jeff Dyer จาก Brigham University และ Hal Gregersen จาก MIT โดยพิจารณาจากบริษัทมหาชนทั่วโลก (The World’s Most Innovative Companies )

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย เปิดเผยว่า การร่วมกันทำงานด้วยความทุ่มเทของพนักงานกว่า 150,000 คน ในการคิดค้นนวัตกรรมให้กับภาคเศรษฐกิจและสังคมไทยอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปี 2561 ซีพี ออลล์ เป็นบริษัทไทยเพียงหนึ่งเดียว ที่ติดในรายชื่อ 100 สุดยอดบริษัทแห่งนวัตกรรมของโลก จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes ในลำดับที่ 23 ด้วยค่าคะแนนนวัตกรรมที่ 57.32 โดยผู้ให้ข้อมูลในการสำรวจมองว่า ซีพี ออลล์ ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนารูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ รวมทั้งขยายกิจการไปธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ การพัฒนาอาหารพร้อมรับประทาน, อาหารแช่แข็ง, เบเกอรี่, ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ค้าปลีก ,การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ รวมไปถึงการพัฒนาระบบการศึกษา เป็นต้น

2_34

นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจของซีพี ออลล์ ที่มุ่ง “สร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้กับทุกคน” ในสังคม ทั้งการจ้างงานจำนวนมาก การช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก มีการขับเคลื่อนการช่วยให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายในการเข้าถึงอาหารสะอาดปลอดภัยในราคาย่อมเยาว์ การช่วยให้ผู้รับเหมาหลากหลายอาชีพทั้งในเมืองและในภูมิภาคมีงานทำอย่างต่อเนื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างโอกาสให้สินค้าของ SME และเกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่นและทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง

การจัดอันดับด้านนวัตกรรมระดับโลกดังกล่าวทำโดยนิตยสาร Forbes นิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก ร่วมกับ Jeff Dyer จาก Brigham University และ Hal Gregersen จาก MIT โดยคัดเลือกจากบริษัทมหาชนทั่วโลก (The World’s Most Innovative Companies ) ที่มีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ของบริษัท โดยใช้ “ค่าคะแนนนวัตกรรม” ซึ่งประเมินจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องขององค์กรเป็นเกณฑ์ชี้วัด

2_35