ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

จัดมาถึงสนามสุดท้ายแล้ว ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด @ราชบุรี ถือเป็นการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อมและสัมผัสวิถีชุมชน อันเป็นเอกลักษณ์แต่ละท้องถิ่น สนามนี้มีนักปั่นร่วมลงทะเบียนกว่า 800 คน ท่ามกลางฝนที่ตกลงมาโปรยๆ

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานเปิดงานปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด @ราชบุรี พร้อมด้วยนายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายกฤษฎา รัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายยาซุชิ โมริยามะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด นายสมชาย มีเสน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเนชั่น เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

โดยงานนี้ได้สร้างสีสันให้ดูคึกคักขึ้นมา เมื่อนายธนวรรธน์ วรรธนะภูติ หรือ โป๊ป ดารานักแสดงชื่อดัง ที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด มาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

การจัดกิจกรรมนี้ได้ชวนคนไทยส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ร่วมปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม ปั่นSlow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด @ราชบุรี เพราะนอกจากจะปั่นเพื่อสุขภาพกันแล้ว นักปั่นยังจะได้มาสัมผัสความงามทางธรรมชาติของจังหวัดราชบุรี ที่อำเภอสวนผึ้งแห่งนี้ โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนักปั่นเข้าร่วมลงทะเบียนกว่า 800 คน ซึ่งได้ทยอยเดินทางมาลงทะเบียนกันตั้งแต่ตี5ที่ผ่านมา

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

ขณะที่บรรยากาศภายในงาน มีกิจกรรมการเล่นเกมส์ ลุ้นของที่ระลึกจากบริษัทมิตซูบิชิ อิเล็คทริค เป็นเสื้อพร้อมลายเซ็นพี่โป๊ป ถ่ายรูปแมคเน็ต

ทั้งนี้ตลอดระยะทางของการปั่นจักรยานจะปั่นไปตามเส้นทางชมธรรมชาติที่สวยงามของอำเภอสวนผึ้งและสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนของอำเภอสวนผึ้ง ซึ่งนักปั่นจะได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชนกระเหรี่ยงจากศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านห้วยแห้ง ผ่านกิจกรรม

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

อาทิ การละเล่น การบายศรีสู่ขวัญ และชิมขนมท้องถิ่น เป็นต้น พร้อมทั้งทำกิจกรรมกรีน CSR เพื่อชุมชน ในโครงการอนุรักษ์ต้นผึ้ง โดยบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด รวมถึงซีโร่ เวส ต่อยอดกิจกรรมแยกขยะ ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรีไซเคิลจุดแยกขวดพลาสติก ต่อยอดกิจกรรมแยกขยะ

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

การท่องเที่ยวโดยจักรยาน ถือเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นและรณรงค์
ให้เข้าไปสัมผัสกับชุมชนสีเขียว(Green City) ซึ่งนอกจากจะได้ซึมซับกับความเป็นอยู่แบบวิถี
ชาวบ้านอันเป็นเอกลักษณ์แต่ละท้องถิ่น สัมผัสความสวยงามของธรรมชาติ ทุกคนยังสามารถมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ที่จะท่องเที่ยวโดยไม่ทําลายและปลูกฝังจิตสํานึกในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในแบบEco change

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

ทั้งนี้การปั่นจักรยานปลุกกระแสท่องเที่ยวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสัมผัสและท่องเที่ยวไปกับชุมชนน่าอยู่ (Green City) ลดการใช้พลังงาน รณรงค์การเก็บขยะและทิ้งในจุดที่จัดเตรียมไว้ เรียนรู้และช่วยกันลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนท่องเที่ยวแบบEco Tourism และสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท


ขณะที่เส้นทางปั่น จ.ราชบุรี โดยเริ่มต้นจุดStartลานหน้าที่ว่าการอําเภอสวนผึ้ง – ออกจากที่ว่าการอําเภอข้ามสี่แยกไฟแดง เข้าสู่ ซ.ถนนบ้านบ่อ 1 – ปั่นไปตามเส้นทางผ่านวัดบ้านบ่อและวัดสวนผึ้ง– ถึงวัดสวนผึ้งเลี้ยวขวาปั่นไปตามเส้นทาง – ถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายผ่านศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านห้วยแห้ง – ปั่นไปตามเส้นทางผ่านวัดท่ามะขามและโรงเรียนบ้านท่ามะขาม ถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าสู่ฝายนํ้าล้นลําภาชีบ้านท่ามะขาม เพื่อทํากิจกรรมชุมชน,CSR และพักดื่มนํ้าออกจากฝายนํ้าล้นลําภาชีบ้านท่ามะขามถึงสี่แยกตรงไป – ปั่นไปตามเส้นทาง – ถึงสามแยกThe Scenery Vintage Farmเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนน4068 – ปั่นไปตามเส้นทาง – ถึงสามแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนราชบุรี-ผาปก – ปั่นไปตามเส้นทางถึงสี่แยกไฟแดงเลี้ยวซ้าย - ถึงจุดเส้นชัยลานหน้าที่ว่าการอําเภอสวนผึ้ง รวมระยะทางทั้งหมด 20 กิโลเมตร

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

การปั่นSlow lifeใส่ใจสิ่งแวดล้อมเมืองต้องห้ามพลาด ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนสิงหาคม 2561ทั้งหมด 6 สนาม
สนามแรก หรือเปิดสนามเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ จัดขึ้นที่จังหวัด เลย
สนามที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม จัดขึ้นที่จังหวัดน่าน
สนามที่ 3 เมื่อวันที่ 29 เมษายน จัดขึ้นที่จังหวัดตรัง
สนามที่ 4 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม จัดขึ้นที่จังหวัดตราด
สนามที่ 5 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน จัดขึ้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
และสนามที่6สุดท้ายวันนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสนามปิดของการปั่นสโลว์ไลฟ์ที่จังหวัดราชบุรี

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

กิจกรรมดีๆในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด, จ.ราชบุรี, เนชั่นทีวี ช่อง 22 และจักรยานออฟติม่า

เมื่อนักปั่นกลับมาถึงเส้นชัย ก็ได้มาร่วมรับประทานอาหาร และร่วมลุ้นรางวัลพิเศษจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด

"รมต.วีระศักดิ์" ชี้เที่ยวแบบสโลว์ไลฟ์ ปั่นจักรยานท่องวิถีชุมชน

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การท่องเที่ยวแบบสโลว์ไลฟ์ ไม่ได้ต้องรีบไปให้ถึงที่หมาย แต่การไประหว่างทางนั้นจะช่วยทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าวิถีชุมชน และธรรมชาติที่อยู่ 2 ข้างทาง แท้ที่จริงแล้วเป็นอย่างไร ซึ่งความรู้สึกจะแตกต่างจากเวลาที่เรานั่งรถไปก็จะไม่ได้สัมผัสกับกลิ่นของธรรมชาติ เพราะว่าเราอยู่ในรถ แต่ถ้าเราปั่นจักรยานเราจะได้ซึมซับอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งกลิ่นจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าคนแถวนี้ปลูกอะไร ขายอะไร และการไปเป็นหมู่คณะจะช่วยสร้างความรู้สึกร่วมกันได้เป็นอย่างดี เราจะรู้สึกได้ว่าเราไม่ได้ไปคนเดียว ยกตัวอย่าง ถ้าเราเก็บขยะข้างทาง ก็จะมีคนช่วยกันเก็บ หรือการที่เราปั่นจักรยานออกมาด้วยกันระหว่างทางก็สามารถช่วยกันได้ถ้าเกิดเรื่องอะไรขึ้น

ปั่น Slow life ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เมืองต้องห้ามพลาด@ราชบุรี ชุมชนคนอาร์ท

การท่องเที่ยวไม่ใช่แค่การดื่มด่ำ แต่ต้องเข้าใจ เพราะถ้าเปรียบเทียบเมื่อก่อนการดื่มด่ำคือความสวยงาม ถ้าไม่สวยจะไม่ดู แต่พอมีกิจกรรม ที่หลายคนเข้าใจว่าการปั่นจักรยานคือการออกกำลังกาย แต่แท้ที่จริงคือการท่องเที่ยว และเข้าใจสิ่งแวดล้อมของชุมชนและธรรมชาติมากขึ้น การปั่นจักรยานระหว่างทางเราอาจปั่นเส้นทางเล็กๆ มีทางแยก ทางร่วม จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าวิถีชีวิตคนแถบนี้เขาอยู่กับอะไร พอเราเข้าใจแล้ว สิ่งที่ตามมาจะเกิดความรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งรับผิดชอบในอดีตคือจะไม่ทิ้งขยะ แต่ว่าต่อไปนี้เราจะซื้ออะไรจากใครระหว่างที่ท่องเที่ยวรายได้จะตกอยู่กับชุมชนโดยแท้ ที่เป็นของดีของเด่นในแต่ละพื้นที่ๆ แตกต่างกันออกไป และหาซื้อตามเมนูไม่ได้ การท่องเที่ยวจึงเป็นเครื่องมือของการพัฒนา ทำให้เรื่องท่องเที่ยวกลายเป็นปลายทาง