‘Bangkok ventures’ ปลดล็อคอินโนเวชั่นธุรกิจไทย

‘Bangkok ventures’  ปลดล็อคอินโนเวชั่นธุรกิจไทย

ทุกวันนี้ องค์กรใหญ่ในไทยต้องการทรานฟอร์มให้ใหญ่ขึ้นด้วยเทคโนโลยี

“Unlocking innovation that will shape the future”

เป้าหมายที่สองพี่น้อง ชรภัทธ์ สันติมากร(อ๋อง) Chief Marketing Officer และ พันธบัตร สันติมากร(เต๋า)Business Development Director สองพี่น้อง “สันติมากร” ที่ร่วมกันก่อตั้งBangkok Ventures ขึ้นในไทยเมื่อ 3-4 ปีก่อนต้องการที่จะเห็นและผลักดันให้เกิดขึ้นในไทย

ชรภัทธ์ สันติมากร คนพี่จบและทำงานด้านดีไซน์และอาคิเทค ส่วน น้องชาย พันธบัตร สันติมากร เรียนมาทางด้านวิศวกรการบิน การเรียน ใช้ชีวิต ประสบการณ์การทำงานและทำธุรกิจที่ เมลเบิร์น ออสเตรเลีย

การได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสตาร์ทอัพ อีโคซิสเต็มที่ชื่อ สตาร์ทอัพ วิคตอเรีย จากการร่วมตัวของคนที่อาศัยและทำธุรกิจอยู่ในเมลเบิร์น ทำให้ทั้ง ชรภัทธ์ และ พันธบัตร ได้รับประสบการณ์และมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ถึงปัจจุบัน

“ ผมอยู่ในโมเม้นท์ที่เค้ากำลังฟอร์มสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ชื่อ สตาร์ทอัพ วิคตอเรีย ที่เกิดจากชาวต่างชาติที่อยู่ในเมลเบิร์น จะมีบอร์ดที่คุมคอมมูนิตี้นี้เป็นนักธุรกิจออสเตรเลีย ขณะที่คนสร้างกิจกรรมเป็นชาวต่างชาติ

พอเราเข้าไปก็มีคนชิลี โคลัมเบีย อัมสเตอร์ดัม เข้าไปสร้างกิจกรรม จาก 400 คนในตอนแรกกลายเป็น 4,000 คน”

ชรภัทธ์ กล่าวว่า ที่เมลเบิร์น ทำให้โอกาสเห็นสตาร์ทอัพทำงาน ได้เห็นวัยรุ่นชาวเนเธอร์แลนด์ อายุเพียง 22 ปี สามารถระดมทุนได้เป็นร้อยล้าน ทำให้เริ่มสนใจแล้วศึกษาว่า สตาร์ทอัพคืออะไร 

ซึ่งตอนนั้น ทำงานด้านออกแบบดีไซน์เว็บไซต์ UX UI ให้กับธุรกิจ

จากศึกษาก็เริ่ม “ลงมือ” จนได้มาซึ่งธุรกิจ

“ตอนนั้นมีการพัฒนาสตาร์ทอัพของตัวเอง เป็นโลเคชั่น เบส มาร์เก็ตติ้ง บอกว่าจุดไหน มีส่วนลดร้านค้าอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นผมไม่ชอบเบอร์เกอร์ แต่ชอบซูชิ ระบบจะเรียนรู้ว่าชอบอะไร พอเดินไปโซนนั้นๆ แล้วมีรายการที่เราชอบแสดงขึ้นมาให้เห็น

ทำไปได้สักระยะก็ตัดสินใจขายไปทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีแนวๆนี้ out เร็ว ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็ทำให้เห็นว่าเราตัดสินใจถูก”

จากประสบการณ์ในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทำให้ทั้ง ชรภัทธ์ และพันธบัตร เห็นว่า โอกาสในลักษณะเดียวกันนี้น่าจะเกิดขึ้นได้ในไทย

“เราเห็นโอกาสที่เกิดจากคอมมูนิตี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สามารถดึงแหล่งเงินทุน นักลงทุนเข้าไปได้เยอะมาก

สตาร์ทอัพ คอมมูนิตี้ จึงเป็นเหมือนบ่อที่ดึงทุกอย่างเข้ามา”

ทั้งสองตัดสินใจเข้ามาเริ่มต้นสร้างคอมมูนิตี้ในไทย เมื่อ 3-4 ปีก่อนในชื่อ Bangkok Ventures

“ย้อนกลับไปตอนที่กลับมาไทยใหม่ๆ ประมาณ 2014 เริ่มต้นจากการสร้างคอมมูตี้จากออนไลน์ก่อน เพราะมองว่าเป็นช่องทางที่ดึงคนได้ง่าย

เพราะในตอนนั้นเรายังต้องบินไปกลับกรุงเทพฯ เมลเบิร์นกันอยู่ จึงเริ่มด้วยการดึงเอาความรู้ใหม่ๆ ที่นั่นมาแปลเป็นไทยแล้วใส่ในเพจ คนก็ follow จาก 700 เป็น 10,000 คนภายในปีเดียว”

การทำงานของ Bangkok Ventures ในช่วงแรกเป็นการดึงเอาประสบการณ์ จากสตาร์ทอัพ วิคตอเรีย มาใช้

เริ่มที่ การพัฒนาฐานข้อมูล ด้วยการทำ สตาร์ทอัพ แมป เปิดให้สตาร์ทอัพเข้ามาลิสติ้งแล้วปักหมุด สุดท้ายกลายเป็นไดเร็คทอรี่ของสตาร์ทอัพ ซึ่งต่อมาก็ได้มีหน่วยงานรัฐและเอกชนใหญ่ๆ ต้องการนำฐานข้อมูลนี้ไปใช้

จากนั้นไม่นานก็เข้าสู่ก้าวสำคัญของ BV

“เราสองคนได้เจอกับผู้บริหารอีกท่านที่มีประสบการณ์และเครือข่ายนักธุรกิจในอิสราเอล ซึ่งจากการพูดคุยทำให้ได้ร่วมงานกันมา โดยท่านเป็นที่ปรึกษาและเป็นอีกหนึ่ง Co-Founder ที่สำคัญ”

Bangkok Ventures (BV) เริ่มวางโครงสร้างการทำงานไว้ชัดเจนมากขึ้นโดยโฟกัสใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่

Startup Community การสร้างชุมชนคนทำสตาร์ทอัพภายในประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 10,000 ราย

Startup Education ทำโปรแกรมในชื่อ Startup Ready เป็นเวลา 8 สัปดาห์ของการให้ความรู้ในรูปแบบ pre-accelerator Program ,การเทรนนิ่ง และเวิร์คชอป รวมถึงการสร้างเน็ตเวิร์คที่แข็งแรง

ภารกิจสุดท้ายก็คือ Strategic Partnership การทำงานร่วมกันเพื่อเชื่อมต่อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ธุรกิจและหน่วยงานรัฐ

และการให้คำปรึกษา Innovation Consulting ให้กับ ผู้ประกอบการ และ หน่วยงานภาครัฐ

โดยเทคโนโลยี โซลูชั่นที่นำเสนอ ตัวอย่างเช่น Smart city , Smart Agriculture, Smart Energy , RTLS Solution, Cybersecurity, Perimeter Security, Interactive Multimedia, Robotics , Blockchain Application

“จริงๆ เราเป็นคอนเซ้าท์ด้านอินโนเวชั่นให้คอร์ปอเรทและบุคคล โดยเราเชื่อใน อินโนเวชั่นของไทย และการดีไซน์ในไทยว่าดีกว่าต่างประเทศ

โฟกัส เข้าไปคอนเซาท์เรื่อง เทคโนโลยี ทรานเฟอร์ และอิมพลิเม้นท์ ให้กับคอร์ปอเรทใหญ่ๆ โดยชูจุดเด่นของการที่ได้อยู่ในหอการค้าไทย-อิสราเอล และสมาคมศิษย์เก่า ไทย-ออสเตรเลีย ทำให้ได้เห็นมุมมองและเทคโนโลยีที่เหมาะกับความต้องการของแต่ละองค์กร”

การทำงานให้คำปรึกษาเป็นบริการในหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการและปัญหาของแต่ละองค์กรธุรกิจ

จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการ provide โซลูชั่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และไดเร็คชั่นของธุรกิจว่า การจะ “เปลี่ยน” ตัวเองโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรนั้นจะทำโดยวิธีใด

ซึ่งมีทั้ง “สร้างเอง” หรือ “จัดหา” เทคโนโลยีในไทย และต่างประเทศ อาจรวมไปถึงการดึงสตาร์ทอัพเข้าไปเสริมทัพการทำงาน

“ทุกวันนี้ องค์กรใหญ่ในไทยต้องการทรานฟอร์มให้ใหญ่ขึ้นด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการเข้าไปคอนเซ้าท์ภายในองค์กรต่างๆ พบว่าส่วนหนึ่งไม่เข้าใจ สิ่งที่เราเข้าไปคุยถึงแนวทางที่ต้องการจะเปลี่ยน”

ถัดจากในส่วนของการให้คำปรึกษาและการจัดหาโซลูชั่นที่สอดรับกับความต้องการขององค์กรต่างๆแล้ว ในส่วนของการสร้าง “คน” และ “คอมมูนิตี้” ก็สำคัญไม่แพ้กัน

“ทำในลักษณะของการ pool talent จากเอ็ดดูเคชั่นโปรแกรมที่เราทำกับภาครัฐชื่อ startup ready ทำมาแล้วสองปี โดยร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ผ่านมามีการปรับหลักสูตรใหม่ เน้น young gen ปรับเอสเอ็มอีให้เข้าหาเทคโนโลยีมากขึ้น”

สรุปในภาพใหญ่ของกิจกรรมเกิดขึ้นในสองขา นั่นคือ Education(พัฒนาบุคลากร) & Products (ที่ปรึกษาองค์กร)

“จากประสบการณ์ของเราสองคน และดร. เจริญ ทีมต่างประเทศ ทำให้โปรดักท์หมุนเร็วขึ้น

ด้วยมุมมองและการทำงานมืออาชีพทำให้การไปให้คำปรึกษากับแต่ละองค์กรเกิดประสิทธิภาพในแบบที่วัดผลได้ ภายใต้กรอบเวลาการทำงานที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับการที่แต่ละองค์กรจะดำเนินการเอง

ซึ่งการแบบนี้จะช่วยให้คอร์ปอเรทกลายเป็นสตาร์ทอัพได้” ชรภัทธ์ และ พันธบัตร กล่าวทิ้งท้าย