เมื่อนักออกแบบลงพื้นที่เพื่อพัฒนาของที่ระลึกแฝงอัตลักษณ์ชุมชน

เมื่อนักออกแบบลงพื้นที่เพื่อพัฒนาของที่ระลึกแฝงอัตลักษณ์ชุมชน

ในฐานะนักท่องเที่ยวจึงต้องขอซื้อกลับบ้านเป็นของฝากเตือนใจ..การท่องเที่ยวระบุว่า หากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งใช้จ่ายซื้อของที่ระลึก คนละ 1,000 บาท จะทำให้เกิดรายได้จากธุรกิจสินค้าของที่ระลึก ของฝาก ของกิน ทีมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ต่อปี

       แม้รู้กันอยู่ว่ารายได้หลักของประเทศมาจากการท่องเที่ยว แต่จะทำอย่างไรให้นักเที่ยวอยากซื้อของที่ระลึก อยากแบ่งปันให้วิถีชุมชน เกิดการจับจ่ายที่มีคุณภาพ เกิดประโยชน์ใช้สอยได้จริง ไม่ซื้อของที่จะกลายเป็นขยะส่วนเกินเข้าบ้าน ดังนั้นเพื่อการซื้อและใช้อย่างยั่งยืน กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ริเริ่ม โครงการพัฒนาสินค้าต้นแบบของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสน่ห์ความเป็นไทยรวมถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาปรับใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก และเพื่อตอบสนองต่อนโยบาย Thailand 4.0 ที่เน้นนำความคิดและเทคโนโลยีมาต่อยอดและพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ทันสมัยขึ้น เข้าถึงได้ง่าย และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

          โจทย์ใหญ่เช่นนี้นำเสนอออกมาในรูปแบบสินค้าต้นแบบ จัดแสดงในงาน เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่สองที่เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยพัฒนาเป็นสินค้าต้นแบบของที่ระลึกจำนวน 240 ชิ้น จาก 2 ชุมชน ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา ตาก พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์

สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ ลงพื้นที่กับทีมงานre

ลงพื้นที่ 2re          และโจทย์ใหญ่ข้อนี้ตกเป็นของนักออกแบบ สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ เป็นหัวหน้าทีมนำนักออกแบบรุ่นน้องอีก 4 คน ได้แก่  ณัฐนรี กิตติวงศ์กร (ดูแลจังหวัดลำปาง ตาก) พิมพ์อัปสร ไชยศิริ (ดูแลน่าน แม่ฮ่องสอน) ธนภัทร ธิตะจารี (ดูแลพิษณุโลก พะเยา) เขมพงศ์ รุ่งสว่าง (ดูแลอุตรดิตถ์ สุโขทัย)

ลงพื้นที่ 3rere

          ห้าชีวิตลงพื้นที่จังหวัดละ 3 ชุมชน มีเวลาเพียงน้อยนิด หัวหน้าทีม สุวิทย์ เล่าให้ฟังว่า

          “โครงการนี้มีหน้าที่ผลักดันรูปแบบการท่องเที่ยวและการบริการต่าง ๆ  เนื่องจากว่าบางชุมชนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และบางที่ก็ยังไม่รู้ว่าอัตลักษณ์ของเขาเป็นอย่างไร ด้วยเพราะคุ้นชินมากอาจทำให้เขามองข้าม เรามีหน้าที่เข้าไปศึกษาอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน”

          ในฐานะนักออกแบบเล่าว่า โครงการ “เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย” เมื่อปีแรกนั้นตีโจทย์ว่าเป็นสินค้าที่ระลึก เกิดเป็นเสื้อยืด หมวก ร่ม แก้วมัก ซึ่งแทบจะเหมือนกันในทุกชุมชน แต่ไม่ตอบโจทย์ในแง่การผลิต เช่น แม่ฮ่องสอน ไม่มีโรงงานทำเซรามิก หรือบางพื้นที่ไม่มีแหล่งผลิตเสื้อยืด สินค้าจึงไม่บ่งบอกความเป็นวิถีชุมชนนั้น ๆ พอปีที่สอง แนวทางเริ่มชัดขึ้น

          “ผมแบ่งงานเป็น 3 ส่วนหลักคือ 1.ค้นคว้าวิจัย เรายอมเสียเวลาลงพื้นที่ 2 เดือน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2560 เข้าไปคุยกับชาวบ้าน เอาดีไซเนอร์ลงพื้นที่ทั้งหมดเพื่อสัมผัสถึงอัตลักษณ์ที่แท้จริงในแต่ละชุมชน

          ขั้นตอนที่ 2.กระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ ถามชุมชนว่าต้องการอะไรที่เขาผลิตได้เอง แล้วเราเอามาผสมผสานกับนักออกแบบและไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยว เช่น กระเป๋ามูเซอดำ มีกระเป๋าใส่ดินสอ ย่าม ระหว่างที่เราพรีเซนต์งานจะมีเด็กมูเซอมา พอแม่เห็นลูกเล่นจนเสื้อเลอะแม่ก็ถอดเสื้อลูกออกแล้วกลับด้าน จากเสื้อเลอะ ๆ กลายเป็นเสื้อมีสีสัน เราก็ได้เรียนรู้ว่าชาวมูเซอดำเขามีเสื้อที่ใส่กลับด้านได้ ส่วนใหญ่เย็บด้วยมือ เขามีทักษะการเย็บผ้าเก่งมาก กลับด้านใส่ได้เลย เราก็พัฒนาเป็นกระเป๋าที่ใช้ได้สองด้าน และมีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น จากเดิมเขาเย็บเป็นย่ามกับกระเป๋าใส่ดินสอ เราก็ให้เขาเย็บเป็นกระเป๋าโท้ต และต้องเป็นขนาดที่ใส่กระดาษเอสี่ได้ด้วยนะ เพราะถ้าทำขนาดไม่ฟังก์ชั่นให้นักท่องเที่ยวเขาซื้อไปใช้ได้จริง ๆ

กระเป๋าใส่ดินสอre

  กระเป๋าจ่าโบ่ใบใหญ่1re   กระเป๋าจ่าโบ่ใบใหญ่re         ขั้นตอนที่ 3. หลังจากออกแบบแล้วเราทำงานต้นแบบ นำมาจัดแสดงที่เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งมีเวลาแค่ 2 เดือน ทำ 240 ชิ้น ทุกคนอเมซิ่งมาก ลงพื้นที่ 24 ชุมชน เข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ออกแบบและผลิตงานต้นแบบ ครบ 8 จังหวัด 24 ชุมชน นักออกแบบ 4 คน ๆ หนึ่งดูแล2 จังหวัด ต้องวางแผนอย่างดีมาก เช่น พื้นที่บ้านดอกบัว เมื่อลงไปเจออัตลักษณ์อะไร กลุ่มเป้าหมาย แนวทางพัฒนา สรุปงานกันทุกวันคุยกันกับทีมงาน นักออกแบบเราตีโจทย์ได้ดี”

กระเป๋าน่าน 2re

  กระดุม น่านre          หัวหน้าทีมเล่าอย่างภูมิใจ นักออกแบบรุ่นใหม่ทั้งสี่คน อายุ 24-25  ปี ลุยไปทุกพื้นที่ ตั้งแต่ แม่ฮ่องสอน ที่บ้านจ่าโบ่, บ้านผ่าบ่อง, เมืองปอน จังหวัดลำปาง ที่บ้านป่าเหมี้ยง, บ้านจำปุย, ศาลาบัวบก จังหวัดตาก ที่บ้านแม่กาษา, บ้านห้วยปลาหลด, บ้านแม่ระวาน สุโขทัย ที่บ้านนาต้นจั่น, กลุ่มโฮมสเตย์เมืองเก่าสุโขทัย, บ้านทุ่งหลวง อุตรดิตถ์ ที่บ้านลับแล, น้ำพี้, บ้านหาดสองแถว พิษณุโลก ที่บ้านวังส้มซ่า, บ้านผารังหมี, บ้านร่องกล้า พะเยา ที่บ้านดอกบัว, กว๊านพะเยา, บ้านหนองหล่ม น่าน ที่บ้านหนองบัว, ป่ากลาง, ดอนไชย

          นอกจากงานชิ้นเด่นกระเป๋าของชาวมูเซอดำที่ใช้ได้สองด้านแล้ว ยังมีไฮไลท์อีกหลายชิ้น อาทิ

โมบาย1 กว๊านพะเยาre_1

      โมบาย2  กว๊านพะเยาre_1    

         “ที่ กว๊านพะเยา ชาวประมงเขาเย็บแหขาย ผมถามว่าแล้วนักท่องเที่ยวจะซื้อแหกลับบ้านไปทำอะไร เขาบอกว่าเขาทำเป็นแต่แห ผมก็เปลี่ยนภาพลักษณ์ของแหแต่ก็ยังใช้ทักษะเดิมของชุมชน เขาถักแหเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนดีไซน์ใหม่ให้เป็นโมบายจากแห ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วติดพู่ และห้อยสัญลักษณ์รูปปลาของกว๊านพะเยา และยังมีเครื่องหมายที่เป็นมงคลของชาวบ้าน หมายถึงค้าขายดี อีกอย่างเป็นน้ำพริกปลาส้ม ที่ออกแบบแพคเกจจิ้งใหม่เป็นลายกราฟิกจากแหกับสายน้ำ เพื่อสื่อถึงกว๊านพะเยา สุดท้ายงานของน้อง ๆ ทีมงาน วาดตัวการ์ตูนเป็นแคแรคเตอร์ชาวประมงแล้วทำเป็นลายบนเสื้อยืด กับลายบนถุง พร้อมเรื่องเล่าว่าที่กว๊านพะเยา ในวันพระใหญ่จะมีพิธีเวียนเทียนรอบวัดโดยการนั่งเรือวนรอบโบสถ์ที่อยู่กลางน้ำ ทุกอย่างที่ออกแบบ เราออกแบบโดยดึงเอาเรื่องราวของเขามาสร้างงานดีไซน์ และตอกย้ำว่าชาวบ้านทำได้จริง อย่างวันเปิดงานนำลวดลายมาพิมพ์เสื้อยืดขายเลย แล้ววันสุดท้ายของหมด เขาผลิตไม่ทัน

ชุดเครื่องประดับ บ้านแม่กาษาre

         บ้านแม่กาษา ที่นี่มีศูนย์การเรียนรู้เยอะ มีแหล่งของผู้สูงอายุเยอะ ผู้สูงอายุเวลาว่างมาทอผ้า เขาปลูกฝ้ายเอง ทอผ้าทำมาเป็นผ้าห่มขายผืนละ 800 บาท พอเราไปลงพื้นที่เห็นเศษด้ายเยอะมากจากการทอผ้า น้องในทีมงานคิดว่าอยากเอาเศษผ้ามาทำจิวเวลรี่ ทำให้เป็นเครื่องประดับร่วมสมัยซึ่งใช้วิธีผูกเงื่อนแบบลูกเสือแบบง่าย ๆ  เป็นสร้อยคอ กำไล ต่างหู มีเครื่องเงินเป็นอุปกรณ์ติดเชื่อมซึ่งชุมชนก็หาซื้อเองได้ งานนี้นำไปโชว์แล้วมีชาวมาเลย์เดินมาบอกว่า ถ้าสามารถผลิตให้เขาได้เดือนละ 1,000 ชิ้น เขารับซื้อหมดจะเอาไปขายที่มาเลย์ ขนาดคุณป้าที่เป็นคนถักสร้อยมาเห็นยังจำผ้าของตัวเองไม่ได้”

          แล้วถ้าเสริมด้วยลูกปัด เครื่องเงิน สร้อยคอ กำไล จากเศษด้ายจะมีมูลค่าเพิ่มอีกมาก นักออกแบบเล่าพร้อมเสริมว่า

          “เป็นข้อพิสูจน์ว่า ถ้ามีนักออกแบบเขาไปในพื้นที่ ร่วมกันทำงานกับชุมชน ทุกคนสามารถออกแบบสินค้าสร้างรายได้แก่ชุมชนได้

ลูกประคบre

          อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ลูกประคบ ที่บ้านศาลาบัวบก ลำปาง ที่นี่แทบไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวแต่เขามีสปาเซรามิกแห่งแรกของเมืองไทย มีโรงงานเซรามิก ชาวบ้านรู้จักวิธีย้อมผ้าฝ้าย เขาก็เอาเศษดินมาปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ผสมกับธัญพืชแล้วใส่ในลูกประคบ ข้อดีคือเมื่อเข้าไมโครเวฟ 5 นาที เซรามิกที่อยู่ข้างในจะค่อย ๆ กระจายความร้อนทำให้ใช้ได้นาน 30 นาที จากลูกประคบทั่วไปใช้ได้ 10 นาที แต่ปัญหาคือลูกประคบเขาทำเป็นแบบธรรมดา มองไม่ออกว่าข้างในมีเซรามิก เราก็เข้าไปดีไซน์ลูกประคบจากสิ่งที่เขามีในชุมชน คือเขาย้อมคราม ผ้าฝ้ายสีน้ำตาลได้จากขมิ้นกับเปลือกไม้ เราก็นำทักษะการย้อมผ้ามาใช้ เอาเซรามิกใส่ข้างในกับธัญพืชเหมือนเดิม แต่เอาเศษดินมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ร้อยตกแต่งด้านนอก เมื่อวางขายจะเห็นความแตกต่าง บอกเล่าเรื่องราวข้างในของลูกประคบ ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูดีขึ้น

          อีกหนึ่งชุมชนคือโฮมสเตย์ ที่สุโขทัย เราไปเพิ่มการสื่อสาร คือมีของดีอยู่แล้วแต่ขาดการสื่อสาร เราออกแบบโปสการ์ดและให้ข้อมูลด้านหลัง บอกเล่าว่าสุโขทัยมีอะไรน่าสนใจ

ผ้าปิดตาน้ำเงิน3re

          ที่ บ้านป่าเหมี้ยง ปลูกใบชา เราดีไซน์หมอนอิงกับหมอนรองคอ ใส่ใบชาตากแห้ง มีคุณสมบัติดูดซับกลิ่นได้ดี หรือเย็บเป็นคู่เป็นรูปใบชาทำที่ห้อยแขวนในตู้เสื้อผ้า และดับกลิ่นในรองเท้า ส่วนที่ บ้านป่ากลาง จ.น่าน มีงานเขียนเทียนย้อมคราม คล้าย ๆ ผ้าบาติก ชาวบ้านมาตัดเป็นผ้าปูโต๊ะกับเสื้อ เราก็สร้างแพทเทิร์นใหม่โดยวางจังหวะของลายผ้า และเย็บพู่เล็ก ๆ สีแดงมาติดที่หมอน ทำเป็นหมอนอิง หมอนรองคอ กลายเป็นสินค้าใหม่

หมอน4re

         มีอีกที่หนึ่งที่งานทอผ้าสวยมาก ของคุณแม่จันทร์สม จ.น่าน แต่คุณแม่ทอผ้าเพื่อทำเป็นซิ่นอย่างเดียว เราขอต่อยอดให้ท่านทอใหม่เป็นลายชนลายแล้วมาตัดเป็นกระเป๋าคลัทช์ กระเป๋าทรงต่าง ๆ เราวางแพทเทิร์นกับจังหวะการวางลายผ้าเกิดเป็นกระเป๋าแบบใหม่ ๆ ทำกระดุมผ้าก็ได้”

น้ำมันนวด น้ำมันถั่วลิสงre ในบางชุมชนนักออกแบบบอกว่า ของดีมีอยู่แล้วหากปรับดีไซน์แพ็คเกจใหม่เพื่อเล่าเรื่องอัตลักษณ์ชุมชน เช่น ผลผลิตกาแฟ ข้าวแต๋น น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันนวด สบู่ โลชั่น จนถึงให้แนวคิดการทำเศษวัสดุจากการผลิตสินค้ามา “อัพไซเคิล” คือที่ชุมชนบ้านนาต้นจั่น ที่นำเศษผ้ามาทำเครื่องประดับร่วมสมัย วางจำหน่ายในมุมที่บอกว่าเป็นสินค้าดีไซน์จากเศษของเหลือใช้เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน

          เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย บอกเล่าวิถีชุมชนและอัตลักษณ์ ไปเที่ยวแล้วแวะกระจายรายได้ จากสินค้าที่ระลึกผลิตด้วยมือ ทำด้วยใจ และใช้งานได้จริง ไปใช้ที่ไหนคนก็ถามหา…

หมายเหตุ: FB:/ เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย